Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / เสริมศักยภาพผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับที่ปรึกษาโดยแนวคิด BCG มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

เสริมศักยภาพผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับที่ปรึกษาโดยแนวคิด BCG มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

เสริมศักยภาพผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับที่ปรึกษาโดยแนวคิด BCG มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 17-22 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) นำโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ  และทีมเครือข่ายวิทยากร ประกอบด้วย  รศ.ดร.จิตติมา ประสาระเอ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และอาจารย์วจนะ ภูผานี อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (KKBS) มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้ให้บริการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร “BCG Driven Enterprise Training แนวทางยกระดับที่ปรึกษา มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน”กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider) ภายใต้โครงการ 10.1-2 การพัฒนาระบบส่งเสริม SME ปีงบประมาณ 2567 ซึ่งสนับสนุนโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานี ให้ผู้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 10 ท่าน ณ  โรงแรมแกลเลอรี่ ดีไซน์  จ.ศรีสะเกษ โดยเนื้อหาประกอบด้วย โอกาสทางธุรกิจด้านอุตสาหกรรมชีวภาพและแนวทางการลงทุนธุรกิจในอุตสาหกรรมชีวภาพ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) แนวคิดของการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product; CFP)แนวคิดของการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นขององค์กร (Carbon Footprint of Organization; CFO) องค์ความรู้ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานการผลิตที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมชีวภาพ ทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อตอบโจทย์นโยบาย BCG Economy ของประเทศไทย แนวโน้มการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ และทิศทางความต้องการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก แนวทางการต่อยอดงานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสู่อุตสาหกรรมชีวภาพเชิงพาณิชย์  การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการตามแนวทาง BCG Economy รวมถึงมาตรการทางการค้าต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและกรณีตัวอย่าง แนวทางการพัฒนาธุรกิจเชื่อมโยง BCG Economy การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) และคาร์บอนฟุตปริ้นของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint for Product) การดําเนินการเพื่อความพร้อมต่อนโยบาย Carbon Neutrality และ Net Zero Emission การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product; CFP) การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นขององค์กร (Carbon Footprint of Organization; CFO) ขั้นตอนการขออนุญาตใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ตามแนวทางขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสรุปบทเรียนและแนวทางการพัฒนาธุรกิจเชื่อมโยง BCG Economy ซึ่งในการอบรมครั้งนี้ ได้เยี่ยมชมการบริหารจัดการอุตสาหกรรมและให้คำแนะนำทางวิชาการ และผู้รับการอบรม ได้สะท้อนผลการวิเคราะห์ SWOT บทเรียนที่ได้เรียนรู้ตลอดการจัดอบรม เพื่อบูรณาการกับการดำเนินธุรกิจ  และแผนการยกระดับธุรกิจ  ตามแนวคิด BCG Economy Model เพื่อมุ่งสู่คาร์บอนต่ำเชิงกลยุทธ์ทางการตลาด โดยหน่วยงานสนใจ จะจัดอบรมในเนื้อหาดังกล่าว สามารถติดต่อได้หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) มาได้

ภาพและข่าว :คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 10 กรกฏาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ the 13th Anniversary Field Course in Conservation Biology & Global Health:At the Human-Environment Interface

พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ระหว่าง ศูนย์การศึกษาภาคสนามนานาชาติ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ the 13th Anniversary Field Course in Conservation Biology & Global Health:At the Human-Environment Interface

พิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ระหว่าง ศูนย์การศึกษาภาคสนามนานาชาติ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา และ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ the 13th Anniversary Field …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *