Breaking News
Home / Uncategorized / อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมเวทีระดับโลกด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี

อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมเวทีระดับโลกด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี

อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมเวทีระดับโลกด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี

อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมเวทีระดับโลกด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ณ สาธารณรัฐเกาหลี

ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) จากหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้รับเกียรติจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ให้เข้าร่วมกิจกรรมสำคัญระดับนานาชาติ

งาน “International Disaster Resilience Leaders Forum Incheon 2024” และ “Training Workshop on Tools for Disaster Risk Reduction and Urban Resilience” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2567 ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีเป้าหมายเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้างความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติในระดับเมือง

การประชุมครั้งนี้ ได้รวบรวมผู้นำระดับชาติและท้องถิ่นจากทั่วโลก ภายใต้แนวคิด “การพัฒนาศักยภาพและการศึกษาเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเมืองแบบองค์รวม” ซึ่งจะเป็นเวทีสำคัญในการแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและข้อเสนอแนะ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมระดับโลกด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในปี 2568 การเข้าร่วมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสอันดีในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระดับนานาชาติ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยในรูปแบบสหวิทยาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคามและเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR)

>>> เอกสารดาวน์โหลด <<<

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส /ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 26 สิงหาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วันนี้อังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 8:00-16:00 น.  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *