เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ออคิด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้ร่วมสื่อสารบทเรียนการดำเนินการ ในประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ในประเด็นข้อข้องใจที่ 4: จะบูรณาการการจัดการฝุ่นละออง PM2.5 กับการรับมือสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างไรดี? จัดโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยครอบคลุมเนื้อหา องค์ความรู้บางส่วนจากงานวิจัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศนำร่อง เพื่อสนับสนุนการเข้าใจบริบทพื้นที่ (www.dustinfo4all.com ) แนวทางเลือกเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบูรณาการการบ่งชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในชุมชน …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้แทนภาคท้องถิ่น ในการถอดบทเรียนการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ นำเสนอโดยนายสันติ ระวังภัย นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ใน Regional Workshop “Urban Resilience to Climate Extremes in Southeast Asia” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดัน “ผังการจัดการข้อมูลสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติระดับหมู่บ้าน” เพื่อเป็นฐานในการต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมอาคารอเนกประสงค์ บ้านท่าขอนยาง หมู่ 2 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรอบรมในหัวข้อ “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเชิงบูรณาการ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผังข้อมูลสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับชุมชน และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการกำหนดแนวทางการการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดรับกับบริบทของชุมชนตนเอง ทั้งนี้ได้บูรณาการการจัดการเรียนและสอนในรายวิชา 1705443 การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ เพื่อให้นิสิต (ประกอบด้วยนางสาวอินทิรา หลักงาม และนางสาวกาญจนา จารุกขมูล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) ได้ทำความเข้าใจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ร่วมกับชุมชน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคและการจัดการในปัจจุบันของชุมชน โดยการอบรมครั้งนี้ ดำเนินการโดยเทศบาลตำบลท่าขอนยาง ซึ่งมีนางศุจีนันนท์ บุตราช นายกเทศมนตรีตำบลท่าขอนยาง เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ …
Read More »ประชาสัมพันธ์ ขอเชิญนักวิจัย นิสิต และผู้สนใจ ร่วมฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) และเทคนิคสิ่งแวดล้อมอื่น
ประชาสัมพันธ์ขอเชิญนักวิจัย นิสิต และผู้สนใจ ร่วมฟังบรรยายพิเศษเรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) และเทคนิคสิ่งแวดล้อมอื่น โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ในวันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 10:00-12:00 น. ณ ห้อง ENV 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Zoom Meeting ลงทะเบียน สำหรับนักวิจัย https://shorturl.asia/PyWoqลงทะเบียน สำหรับนิสิต (เฉพาะออนไซต์เท่านั้น) https://shorturl.asia/3ntel (ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567) ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ จับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการป่าชุมชนสู่ความยั่งยืน
วันนี้ 18 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนางสรวงสุดา สิงขรอาสน์ หัวหน้าสำนักงาน ร่วมต้อนรับ พบปะ และหารือกับคณะทำงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย คุณประโพธิ อุปภัมภ์ ผู้จัดการหน่วยปลูกป่าและบำรุงรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และคุณอภิชาติ คงแป้น ผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ พร้อมด้วยคณะทำงาน ในประเด็นการบูรณาการความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาที่ต่อเนื่องจากโครงการการจัดจ้างทำชุดสื่อความ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารป่าชุมชน กรณีของป่าชุมชนบ้านหนองทิดสอน ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะหัวหน้าโครงการและผู้ประสานระหว่างหน่วยงาน ได้ดำเนินการร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม ปภ.1 อาคาร 3 ชั้น 5 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพฯ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการเข้าร่วมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย TNDR ทั้ง 17 มหาวิทยาลัย ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวทางการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยร่วมกัน ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้แทนจากศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ร่วมนำเสนอบทบาทและแนวทางการทำงานด้านการจัดการภัยพิบัติร่วมกับเครือข่าย TNDR ทั้ง 17 มหาวิทยาลัย นอกจาก ยังได้รับความสนใจจากเครือข่ายภาครัฐต่างๆ ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมครั้งนี้ด้วย อาทิ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) บูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรม “การเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและการขยายผล เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนตำบลตลาด โดยใช้กลยุทธ์อัตลักษณ์ชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยได้นำร่องการพัฒนากลไกพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโพธิ์ศรี 1 โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน หรือ DNA เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม โดยมี นายกมล ตราชู รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง …
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก
หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก ในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยิสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาดูงานสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 นิสิต ได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ โดยเก็บขยะที่ชายหาดนางรำ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากกิจกรรม พบว่า มีขยะจำนวนมาก โดยเฉพาะพลาสติก ซึ่งมีที่มาจากการทิ้งขยะบนบกและการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง โดยนักท่องเที่ยวไม่มีความตระหนักถึงผลกระทบต่อชีวิตทะเลและระบบนิเวศทางทะเล เช่น การเสียชีวิตของสัตว์ทะเลจากขยะพลาสติก และการเกิดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในระบบอาหารที่มีมนุษย์เป็นผู้ได้รับผลกระทบเอง หากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง โดยเทกองไว้ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 1.0388 kgCO2eq/กิโลกรัมของขยะ โดยการจัดการขยะที่ถูกต้องตามสุขาภิบาล สามารลดการปล่อยเหลือ 0.7933 kgCO2eq/กิโลกรัมของขยะ และหากมีการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล ก็จะสามารถลดการปล่อยได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าของขยะและลดผลกระทบได้ ทั้งนี้ หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ จำเป็นต้องกำหนดมาตรการจัดการขยะที่เน้นให้ผู้มีส่วนได้เสียร่วมดำเนินการและกำหนดเป้าหมาย เช่น การลดขยะต้นทาง การให้ความรู้ การคัดแยกขยะ และการแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวิงนิเวศอย่างยั่งยืน กิจกรรมนี้ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน
เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนบรบือ จ.มหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ผู้แทนหน่วยงาน ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นฐานและแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลุ่มเยาวชน ในห้วข้อ “ขยะ: โจทย์ที่ท้าทาย สำหรับคนรุ่นใหม่” ในโครงการ Garbage Hack with Isan Youth Leaders ซึ่งมีนางสาวศุภลักษณ์ โสวรรณี ครูโรงเรียนบรบือ (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ภายใต้การสนับสนุนของ The Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) University of Nebraska Omaha U.S. Embassy และ Mahasarakham University American …
Read More »โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ Center for Global Field Study; and WaNPRC, University of Washington, USA ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface) ขึ้นในระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมี ผศ.ดร.เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และรศ.ดร.ธวัดชัย ธานี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ในปีนี้ เป็นการจัด Annual Field Course …
Read More »