คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยฯ ร่วมกับนายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม โดยการสนับสนุนทางวิชาการจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมนำเสนอความสำเร็จการขับเคลื่อนเมืองเพื่อสร้างความรีซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030) ในรายการ “เปลี่ยนโฉมประเทศไทย” ตอน “แผนที่ทุนสังคม: นวัตกรรมรับมือภัยพิบัติจากฐานราก” ทาง NBT11 ทีวีอีสาน วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 เวลา 13:30-14:00 น. ความสำเร็จที่น่าจับตามองมีดังนี้
- การผสานพลังความร่วมมือ
บูรณาการองค์ความรู้วิจัย การบริการวิชาการ และศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
เสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านกลไกคณะกรรมการชุมชนและ อสม.
พัฒนาระบบสื่อสารข้อมูลและการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองมหาสารคาม
- นวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์
ละครเวทีสร้างความตระหนักรู้ โดย อ.ทรรณรต ทับแย้ม คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
“เพลงลำเพลินภัยพิบัติ” สื่อพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้ และ “5 พร้อม เพื่อชุมชนปลอดภัย” (Five Ready: Our Safe Community)
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชาติ งานประชุมวิชาการ “วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 16″ ภายใต้หัวธีม “รวมพลังวิทยาศาสตร์ ในยุคภูมิอากาศสุดขั้ว” 27-28 กุมภาพันธ์ 2568 จัดเวที City to City Learning แลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แผนที่ทุนสังคมนี้ไม่เพียงแต่เป็นทางเลือก แต่ยังเป็นทางรอด สำหรับชุมชนในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและท้องถิ่น #แผนที่ทุนสังคม #MCR2030 #มมส #เมืองมหาสารคาม #ภัยพิบัติ #CMARE #NBT11 #CityToCityLearning #SDGs
ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 16 ธันวาคม 2567