Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา
คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา “สุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา” ณ ห้องประชุมตักสิลาคอนเวนชั่นฮอลล์ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนักวิจัยเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) ได้รับเชิญให้นำเสนอแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและกลไกเมืองในการรับมือกับภัยพิบัติ โดยได้ชี้ให้เห็นว่า  การสร้างเมือง         รีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ หรือ MCR2030 ภายใต้กรอบของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) นั้น ต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะสิ่งแวดล้อมฯ ได้ทำงานร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคามในการพัฒนาระบบกลไกด้านข้อมูลความเสี่ยงจากการสะท้อนบทเรียนของชุมชน ร่วมการวิเคราะห์เชิงพื้นที่   การจัดทำแผนที่การบริหารจัดการภัยพิบัติระดับชุมชน   อาทิเช่น น้ำท่วม วาตภัย อัคคีภัย และฝุ่นละอองขนาดเล็ก  และการเสริมสร้างศักยภาพให้กับคณะกรรมการชุมชนและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงาน

การทำงานของคณะสิ่งแวดล้อมฯ ยังครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาทางวิชาการแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย 5 แห่งโดยรอบเทศบาลเมืองมหาสารคาม ตามการร้องขอ  เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวังและรับมือภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพในระดับพื้นที่ พร้อมทั้งพัฒนาโมเดลการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละชุมชน ซึ่งการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติที่แท้จริง ต้องเริ่มจากการเสริมพลังชุมชน สถาบันการศึกษา จำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือกับหลายศาสตร์  เพื่อให้พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองและรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมในเวทีเสวนาครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในการเป็นสถาบันการศึกษาที่ไม่เพียงผลิตบัณฑิตและงานวิจัย แต่ยังร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนและเมืองในระยะยาว ติดต่อข้อมูลได้ที่ https://www.facebook.com/cmarenetwork

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 22 พฤศจิกายน 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

คัดเลือกนิสิตเพื่อเข้ารับรางวัลนิสิตต้นแบบ MSU FOR ALL ประจำปีการศึกษา 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คัดเลือกนิสิตเพื่อเข้ารับรางวัลนิสิตต้นแบบ MSU FOR ALL ประจำปีการศึกษา 2567 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันนี้ 15 มกราคม 2568  เวลา 13.00 น. คณะผู้บริหาร และฝ่ายพัฒนานิสิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินการ คัดเลือกนิสิตเพื่อเข้ารับรางวัลนิสิตต้นแบบ MSU FOR …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *