Breaking News
Home / ข้อมูลงานวิจัย (page 5)

ข้อมูลงานวิจัย

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 3  (ปีการศึกษา 2564)  ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ  ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ  และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา  โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ  ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์  ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์  เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต  การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค  และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก  ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์  นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ   ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …

Read More »

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ได้ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อสื่อสารข้อมูลบทเรียนการวิจัยและการบริการวิชาการ ผ่านโครงการวิจัยและงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556-2565)  รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบสหวิทยาการกับหลายคณะและหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้มหาสารคาม  เป็นจังหวัดนำร่อง  ในโครงการจัดอบรม American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) ซึ่งได้จัดขื้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยมีนิสิตจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  และคณะวิทยาการสารสนเทศ เข้าร่วมกว่า …

Read More »

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก   เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565  ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ลงพื้นที่ร่วมกับครูรัชนี เปาะศิริ พร้อมด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5)  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เพื่อร่วมต้อนรับสมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้ลงเยี่ยมพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนในการพัฒนาพื้นที่อำเภอนาเชือก ในฐานะเป็นผู้เชื่อมประสานความร่วมมือสหวิทยาการจากหลายหน่วยงาน ที่มุ่งเน้นการนำเอาอัตลักษณ์ของพื้นที่มาสื่อสารและสร้างการรับรู้สาธารณะ  สู่การสร้างเศรษฐกิจและสังคมรากหญ้าที่บูรณาการกับมิติด้านสิ่งแวดล้อม  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน  ตลอดจนได้ร่วม สังเกตการณ์ในหลายพื้นที่ ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) และบ้านเหล่าค้อ (กลุ่มปลูกมะม่วง)   ซึ่งกิจกรรมหลัก คือ การเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย  การศึกษากรรมวิธีการย้อมสีผ้าทอมือจากเปลือกของต้นเชือก ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก  “พื้นที่นา ที่มีต้นเชือกอยู่จำนวนมาก” จึงได้ริเริ่มให้นำเอาเปลือกของต้นเชือก มาสร้างอัตลักษณ์ของสีย้อมขึ้น โดยนักเรียน ได้ร่วมสัมภาษณ์แม่บุญเที่ยง คำยอดแก้ว (ประธานวิสาหกิจฯ) และการสาธิตการย้อมสีจากเปลือกของต้นเชือก โดยคุณกาญจณี คำยอดแก้ว …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย   ศูนย์วิจัยประชาสังคม (CSNM) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (https://csnm.kku.ac.th/) ดำเนินการตามนโยบายกระทรวง อว. โดยได้ระดมความเชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อทำงานวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน และได้เชิญศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม โดย ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ  และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ  ร่วมพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย ภายใต้โครงการแม่โขง-เกาหลี (https://www.mekonginstitute.org/what-we-do/development-fund/mekong-republic-of-korea-cooperation-fund/) ภายใต้งบประมาณ 15 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับอนุมัติทุนแล้ว  โดยล่าสุด ศูนย์ CSNM ได้แจ้งและเชิญศูนย์วิจัยฯ ร่วมจัดทำข้อเสนอขอทุนวิจัยขนาดใหญ่ จากองค์การอนุรักษ์สากล (https://www.iucn.org/news/asia/202111/cepf-and-iucn-announce-a-new-call-proposals-indo-burma-biodiversity-hotspot) เพื่อดำเนินการในประเทศไทย ในพื้นที่แม่น้ำโขงบริเวณอำเภอปากชม จังหวัดเลย  โดยหากได้รับอนุมัติ จะเป็นการสร้างบทบาทที่สำคัญในระดับภูมิภาคของทั้งสองมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมิติทาง International Outlook มากยิ่งขึ้น ที่มา: ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ร่วมประชุมเครือข่าย SUMERNET-SEI  ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รายงานผลการดำเนินการ และโอกาสความร่วมมือด้านวิจัย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเป็นการดำเนินงานในหลายมิติ เพื่อสนับสนุนสู่ความยั่งยืนของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย  Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in Southeast Asia (SHAPE-SEA), EXPLORE Forest Landscape Governance Network และ  Economy & Environment Partnership for Southeast Asia (EEPSEA). สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=YAVvZDyP5Rw (ภาษาอังกฤษ) ที่มา: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง  โดยมีผู้แทนชุมชนร่วมดำเนินการ  ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงจากเดิมจากการเร่งสูบน้ำและไม่มีน้ำมาสบทบ  แต่หลายครัวเรือน ยังเผชิญปัญหาเรื่องกลิ่น การท่วมขังในบางพื้นที่  ความจำเป็นต้องฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพ  เพื่อฟื้นคืนสภาพปกติให้เร็วที่สุด อีกทั้งบางครัวเรือน ยังไม่สามารถเข้าไปบริเวณบ้านของตนเองได้  จึงเป็นโจทย์ปัญหาท้องถิ่น ที่ทำให้นิสิตของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ต้องพัฒนาตนเอง โดยจากองค์ความรู้จากการจัดการเรียนและการสอน เพื่อร่วมเรียนรู้และ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์จริง และสะท้อนเป็นชุดข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ  โดยได้พัฒนาตนเองในการนำเอาเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งคือ หัวเชื้ออีเอ็ม ที่ได้ทำการขยายแล้ว ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยอีเอ็มเอง  สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการลดปัญหากลิ่น การบำบัดน้ำ การย่อยสลายสิ่งสกปรกในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์ในแง่การเกษตร และการเป็นหัวเชื้อสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน รวมถึงมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ชุมชนสามารถทำได้เอง เทคโนโลยีนี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการนำไปใช้อยู่แล้ว  แต่ส่วนที่ทำไว้ได้ถูกน้ำพัดพาไปและเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ด้วยเหตุนี้ การมอบหัวเชื้อน้ำอีเอ็มขยายให้กับชุมชน …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE   ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ในการส่งข้อเสนอโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม และผ่านเกณฑ์การคัดกรองและพิจารณา  เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในแพลตฟอร์มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise: BCE)  สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด 184 โครงการ จากสถาบันการศึกษาทั้งหมด 80 แห่งทั่วประเทศ  โดยข้อเสนอโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์กับหน่วยงานต่าง ๆ  ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองสมุนไพร  ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) …

Read More »

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่และเก็บตัวอย่างน้ำพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมขัง

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยคณาจารย์และนิสิต ในหลักสูตรฯ ได้ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในวันที่ 31 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา  พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำร่วมกับชุมชนในบริเวณต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ชุมชน  เพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพบางประการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นิสิต ได้นำเอาความรู้และทักษะจากการจัดการเรียนและการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรฯ  มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาท้องถิ่น  โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การประเมินความรุนแรงของปัญหา  และหาแนวทางการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ปัญหาเรื่องกลิ่น คุณภาพน้ำ และการลดความสกปรกของน้ำโดยเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งปฎิกูล  จากผลงานวิจัยและการทบทวนบทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต เพื่อสังเคราะห์เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับพื้นที่ประสบปัญหา   โดยในการลงพื้นที่ครั้งนี้  ได้มอบยารักษาผื่นคันจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากคณะเภสัชศาสตร์  ทั้งนี้ จะได้ขยายความร่วมมือไปยังหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านวิชาสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง         เพื่อฝึกทักษะของนิสิต ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganism; EM) ที่ปรับปรุงกลิ่นด้วยสมุนไพรท้องถิ่น สำหรับใช้ระงับกลิ่นจากการเน่าของน้ำ โดยจะพิจารณาเงื่อนไขการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งชุมชน สามารถขยายผลได้โดยอาศัยวัตถุดิบในบ้านของตนเอง …

Read More »

CMARE ร่วมสร้างฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาสหวิทยาการ ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อการพัฒนา BCG Economy Model สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานและสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอน  เป็นหัวข้อโครงการของนิสิตชั้นปีที่ 4 โดยนายกิตติศักดิ์ ขำจิตร  และนายวัชรพงษ์ ภูมิรัง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สนใจและพร้อมพัฒนาความรู้และทักษะ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ณัฐอาภา สัจจวาที  คณะการบัญชีและการจัดการ สู่การพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่อง ในรูปเว็บไซต์ “สารสนเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวแบบสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางสำหรับการรวบรวมและจัดการข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิจัยและการปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ  รวมถึงนำเสนอข้อมูลนวัตกรรมเพื่อการจัดการภัยพิบัติ โปรแกรมและสื่อมัลติมีเดีย  จดหมายข่าว  หลักสูตรอบรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน  เพื่อให้ผู้สนใจ ได้ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร รับทราบถึงสถานะด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี …

Read More »

CMARE ยกระดับสื่อการเรียนรู้ที่ดัดแปลงจากผลงานในอดีต เพื่อติดตามคุณภาพน้ำโดยใช้สัตว์หน้าดิน โดยโรงเรียนสามารถทำได้เอง

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ยกระดับสื่อการพัฒนาการเรียนรู้ “นาฬิกาสัตว์หน้าดิน” ที่เชื่อมระหว่างสิ่งมีชีวิตและคุณภาพน้ำ  โดยได้ดัดแปลงจากผลงานของ รศ.ดร.นฤมล แสงประดับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการ “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” ที่ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ในบริบทพื้นที่ตำบลโคกก่อและนาเชือก          จ.มหาสารคาม โดยการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้ออกแบบกราฟฟิกของสื่อการเรียนและการสอนขึ้นใหม่ โดยอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในรูปแบบ PDF ที่ครู/นักเรียน/ผู้สนใจ สามารถนำเอาไปประกอบเป็นนาฬิกาสัตว์หน้าดินได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนากิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน สู่การผลิตสื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนนอกชั้นเรียน  โดยเฉพาะสาระรายวิชานิเวศวิทยาและมลพิษทางน้ำ สำหรับผู้สนใจ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ …

Read More »