Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สื่อสารกลไกเพื่อสนับสนุนการจัดการฝุ่นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับพื้นที่แบบสหวิทยาการและชูการผนึกกำลังเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนด้านวิจัยและนวัตกรรมให้กับท้องถิ่น

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สื่อสารกลไกเพื่อสนับสนุนการจัดการฝุ่นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับพื้นที่แบบสหวิทยาการและชูการผนึกกำลังเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนด้านวิจัยและนวัตกรรมให้กับท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ออคิด  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้ร่วมสื่อสารบทเรียนการดำเนินการ ในประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”  ในประเด็นข้อข้องใจที่ 4: จะบูรณาการการจัดการฝุ่นละออง PM2.5 กับการรับมือสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างไรดี?  จัดโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air  Pollution and Climate, HTAPC) สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม  โดยครอบคลุมเนื้อหา องค์ความรู้บางส่วนจากงานวิจัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศนำร่อง เพื่อสนับสนุนการเข้าใจบริบทพื้นที่ (www.dustinfo4all.com )  แนวทางเลือกเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบูรณาการการบ่งชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในชุมชน  ตัวอย่างกลไกที่ผลักดันการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่  ได้แก่  แผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับจังหวัด เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน  การจัดการสิ่งแวดล้อมในวัด Eco School  LESS  Making City Resilience 2030 (MCR2030) และแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  แนวทางเลือกเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  กลไกทางกฎหมาย ธรรมนูญสุขภาพเพื่อการบริหารจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็กระดับชุมชน  ระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (https://talontalad.com) การบูรณาการสู่หลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการที่สอดรับกับการพัฒนาพื้นที่ (https://pubhtml5.com/bookcase/ofeu/) การผลักดันหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ 3 มิติ  (https://pubhtml5.com/bookcase/kwjbh/ ) แนวทางเพื่อการผลักดันการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่  เช่น  และการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืนโดยชุมชน ได้แก่ ชุมชนตำบลเชื้อเพลิง (ป่าชุมชนตาเกาว์) ต.เชื้อเพลิง อ.ปราสาท จ.สุรินทร์  กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชุมชนริมฝั่งลำชี  ต.หนองเต็ง อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ กลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชนดอนโจร ต.ลำไทรโยง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ชุมชนตำบลจอมศรี (ป่าชุมชนจอมศรี) ต.จอมศรี อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี ชุมชนตำบลนางิ้ว ต.นางิ้ว อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น  กลุ่มอาสาสมัครป้องกันรักษาป่าและไฟป่าภูพานน้อย-ถ้ำสิงห์ จ.อุดรธานี และการชูประเด็นการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาแป็นพี่เลี้ยง  โดยพิจารณาสถาบันการศึกษา ที่มีการจัดการเรียนและการสอนด้านสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ได้แก่  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยนครพนม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งกระจายอยู่พื้นที่ 17 จังหวัด ครอบคลุมหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ เกษตรศาสตร์ เทคโนโลยี และอุตสาหกรรม  โดยจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบข้อมูลและกลไกให้กับสถาบันการศึกษา เพื่อนำไปบูรณาการกับภารกิจของมหาวิทยาลัยและหลักสูตร เพื่อการปฏิบัติใช้ได้ในระดับชุมชน ซึ่งได้บูรณาการเป็นตัวชี้วัด ในการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA) และบรรจุเป็นประเด็นภัยพิบัติ ในแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ครอบคลุมการเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ ตามแนวทางของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR)

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 4 มีนาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุมจัดทำงบประมาณ เงินรายได้ ประจำปี 2567

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุม การจัดทำงบประมาณเงินรายได้และ แผนการใช้จ่ายงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุมจัดทำงบประมาณ เงินรายได้ ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 เวลา 13.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *