Breaking News
Home / Uncategorized / เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้อง ENV110 และ Zoom Meeting คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ ประเด็น “การจัดการมลพิษทางน้ำเชิงนโยบายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากบทเรียนสู่ความท้าทาย” โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ให้ความเห็นและมุมมองทางวิชาการ กิจกรรมนี้ ดำเนินรายการและสรุปโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และมีนักวิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วม ได้แก่ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ  ดร.นันทนัฐ  ศรีประเสริฐ  และนักวิจัย จากหน่วยงานภายนอก  ทั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของน้ำ  ประกอบด้วย 1) ภาพรวมสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  2) การจัดการทรัพยากรน้ำปัจจุบันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ผศ.ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต หลักสูตรสาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และ 3) Impacts of the changes in regional climate and land use on water quantity and quality in the Mun River Basin โดย ผศ.ดร.เอริกา พฤฒิกิตติ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ  มหาวิทยาลัยมหิดล (วิทยาเขตกาญจนบุรี)  และสามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนวเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้

1. ส่งเสริมการนำระบบเกษตรอนุรักษ์ดินและน้ำมาใช้ในพื้นที่ โดยให้ความรู้และแนวทางการใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ รวมถึงสร้างแรงจูงใจด้านเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมากขึ้น
2. ทบทวนและประเมินความยั่งยืนของการใช้พื้นที่ขุดเป็นหนอง (โคก หนอง นา) แทนใช้ในการเพาะปลูก เปรียบเทียบกับการพัฒนาระบบชลประทานขนาดใหญ่ที่สามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากกว่า
3. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำน้ำเสียจากการเกษตรกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และนำสารแร่ธาตุอาหารอย่างไนโตรเจนและฟอสฟอรัสกลับมาใช้ โดยนวัตกรรมดังกล่าวต้องมีความคุ้มค่าและสามารถนำไปใช้ในระดับพื้นที่ได้
4. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการสกัดสารเคมีมูลค่าสูงจากน้ำเสียและของเสียจากภาคการเกษตร โดยต้องศึกษาสมบัติของน้ำเสีย ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี และความคุ้มค่าในการลงทุนเบื้องต้น 
5. จัดสรรงบประมาณและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำและการจัดการมลพิษทางน้ำอย่างครบวงจร ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ในการกำหนดนโยบายและมาตรการจัดการมลพิษทางน้ำในพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน

      โดยนโยบายเหล่านี้   มุ่งเน้นการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ลดและจัดการมลพิษจากภาคการเกษตรด้วยวิธีการที่เหมาะสมและคุ้มค่า พร้อมทั้งคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่

Potential Policy Recommendations for Water Pollution Management in Northeast Thailand are:
1. Promote the adoption of soil and water conservation agricultural systems in the area by providing knowledge and guidelines on appropriate use of fertilizers and pesticides based on local contexts. Create economic incentives to support the transition towards more environmentally-friendly and healthier agricultural practices. 
2. Review and assess the sustainability of using excavated wetland areas (Kok Nong Na) for agricultural cultivation, compared to developing larger-scale irrigation systems that can manage water resources more comprehensively and efficiently.
3. Encourage research and development of technologies to reuse agricultural wastewater and recover nutrients like nitrogen and phosphorus. Such innovations must be cost-effective and applicable at the local level.
4. Support R&D of innovations to extract high-value chemicals from agricultural wastewater and waste by studying wastewater properties, technological feasibility, and preliminary investment viability.
5. Allocate budgets and invest in integrated water management infrastructure and pollution control technologies covering upstream, midstream, and downstream areas in the Northeast region.
6. Promote participation of local communities, the public, and stakeholders in formulating policies and measures for local water pollution management to align with their actual needs and contexts.       
        These policies aim to conserve and sustainably utilize water resources, reduce and properly manage agricultural pollution through appropriate and cost-effective methods, while considering stakeholder participation in the local areas.

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 19 มีนาคม 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สังกัด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2568

ประกาศคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิสอบภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สังกัด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ 2568

>pdf ดาวน์โหลด<<<   ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 18 กันยายน …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *