Breaking News
Home / งานวิจัย (page 5)

งานวิจัย

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ประสานของเครือข่ายภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) และสนับสนุนองค์ความรู้และการบูรณาการสหวิทยาการ เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่  ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับนิสิตทุกทีม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   ที่ได้เข้าส่งผลงานประกวดโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment Symposium ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ (รอการยืนยัน) ประกอบด้วย 4 โครงการ  คือ 1. การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinal-5P ด้วย Machine …

Read More »

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเทศบาลตำบลขามเรียง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักวิจัย บุคลากร และนิสิต ในการผลักดันพื้นที่ตำบลขามเรียง  ให้สามารถนำเอาทรัพยากรชีวภาพ ภูมินิเวศ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างเป็นอัตลักษณ์ที่จะเป็นจุดแข็งสู่จุดขายที่เชื่อมกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด  ผ่านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model)  เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการเชิงรุกขึ้น โดยได้พิจารณา วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติขามเรียง (คุณสุชญา โคตรวงษ์ เป็นประธาน) …

Read More »

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ได้ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อสื่อสารข้อมูลบทเรียนการวิจัยและการบริการวิชาการ ผ่านโครงการวิจัยและงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556-2565)  รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบสหวิทยาการกับหลายคณะและหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้มหาสารคาม  เป็นจังหวัดนำร่อง  ในโครงการจัดอบรม American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) ซึ่งได้จัดขื้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยมีนิสิตจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  และคณะวิทยาการสารสนเทศ เข้าร่วมกว่า …

Read More »

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก

ลงพื้นที่ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน จากทุนฝีมือแรงงาน สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของอำเภอนาเชือก   เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565  ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ลงพื้นที่ร่วมกับครูรัชนี เปาะศิริ พร้อมด้วยนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5)  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เพื่อร่วมต้อนรับสมาคมส่งเสริมผ้าไทยจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้ลงเยี่ยมพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนในการพัฒนาพื้นที่อำเภอนาเชือก ในฐานะเป็นผู้เชื่อมประสานความร่วมมือสหวิทยาการจากหลายหน่วยงาน ที่มุ่งเน้นการนำเอาอัตลักษณ์ของพื้นที่มาสื่อสารและสร้างการรับรู้สาธารณะ  สู่การสร้างเศรษฐกิจและสังคมรากหญ้าที่บูรณาการกับมิติด้านสิ่งแวดล้อม  โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน  ตลอดจนได้ร่วม สังเกตการณ์ในหลายพื้นที่ ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) และบ้านเหล่าค้อ (กลุ่มปลูกมะม่วง)   ซึ่งกิจกรรมหลัก คือ การเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมาของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย  การศึกษากรรมวิธีการย้อมสีผ้าทอมือจากเปลือกของต้นเชือก ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่มีความเกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก  “พื้นที่นา ที่มีต้นเชือกอยู่จำนวนมาก” จึงได้ริเริ่มให้นำเอาเปลือกของต้นเชือก มาสร้างอัตลักษณ์ของสีย้อมขึ้น โดยนักเรียน ได้ร่วมสัมภาษณ์แม่บุญเที่ยง คำยอดแก้ว (ประธานวิสาหกิจฯ) และการสาธิตการย้อมสีจากเปลือกของต้นเชือก โดยคุณกาญจณี คำยอดแก้ว …

Read More »

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ นางสาวเกศริน ซ้ายหนองขาม และนางสาวอารียา วังราช นิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม   ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อเรื่อง “การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในจังหวัดมหาสารคาม” (เนื้อหาส่วนหนึ่งในปัญหาพิเศษ เรื่อง การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการลดการเผาในจังหวัดมหาสารคาม) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นในเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่จัดเป็นวาระแห่งชาติในปัจจุบัน ในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565  ผ่าน Zoom Meeting  จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศประเทศไทย (TAQM) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมประเทศไทย  จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ทั้งนี้ ข้อมูลการศึกษา …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE   ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ในการส่งข้อเสนอโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม และผ่านเกณฑ์การคัดกรองและพิจารณา  เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในแพลตฟอร์มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise: BCE)  สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด 184 โครงการ จากสถาบันการศึกษาทั้งหมด 80 แห่งทั่วประเทศ  โดยข้อเสนอโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์กับหน่วยงานต่าง ๆ  ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองสมุนไพร  ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) …

Read More »

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่และเก็บตัวอย่างน้ำพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมขัง

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยคณาจารย์และนิสิต ในหลักสูตรฯ ได้ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในวันที่ 31 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา  พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำร่วมกับชุมชนในบริเวณต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ชุมชน  เพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพบางประการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นิสิต ได้นำเอาความรู้และทักษะจากการจัดการเรียนและการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรฯ  มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาท้องถิ่น  โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การประเมินความรุนแรงของปัญหา  และหาแนวทางการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ปัญหาเรื่องกลิ่น คุณภาพน้ำ และการลดความสกปรกของน้ำโดยเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งปฎิกูล  จากผลงานวิจัยและการทบทวนบทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต เพื่อสังเคราะห์เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับพื้นที่ประสบปัญหา   โดยในการลงพื้นที่ครั้งนี้  ได้มอบยารักษาผื่นคันจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากคณะเภสัชศาสตร์  ทั้งนี้ จะได้ขยายความร่วมมือไปยังหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านวิชาสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง         เพื่อฝึกทักษะของนิสิต ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganism; EM) ที่ปรับปรุงกลิ่นด้วยสมุนไพรท้องถิ่น สำหรับใช้ระงับกลิ่นจากการเน่าของน้ำ โดยจะพิจารณาเงื่อนไขการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งชุมชน สามารถขยายผลได้โดยอาศัยวัตถุดิบในบ้านของตนเอง …

Read More »

CMARE ร่วมสร้างฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาสหวิทยาการ ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อการพัฒนา BCG Economy Model สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานและสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอน  เป็นหัวข้อโครงการของนิสิตชั้นปีที่ 4 โดยนายกิตติศักดิ์ ขำจิตร  และนายวัชรพงษ์ ภูมิรัง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สนใจและพร้อมพัฒนาความรู้และทักษะ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ณัฐอาภา สัจจวาที  คณะการบัญชีและการจัดการ สู่การพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่อง ในรูปเว็บไซต์ “สารสนเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวแบบสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางสำหรับการรวบรวมและจัดการข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิจัยและการปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ  รวมถึงนำเสนอข้อมูลนวัตกรรมเพื่อการจัดการภัยพิบัติ โปรแกรมและสื่อมัลติมีเดีย  จดหมายข่าว  หลักสูตรอบรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน  เพื่อให้ผู้สนใจ ได้ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร รับทราบถึงสถานะด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี …

Read More »

ภาพยนตร์สั้น จากเรื่องราวภูมินิเวศและศิลปวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาพื้นที่และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมหน่วยปฏิบัติการวิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ภายใต้พันธกิจของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งอาศัยความร่วมมือสหวิทยาการ ได้ต่อยอดหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  โดยใช้บริบทพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นฐานในการสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์และจะขยายไปยังโรงเรียนเครือข่าย  ในรูปภาพยนตร์สั้น “วัดเถอะนะทำ” ภายใต้ความร่วมมือกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีกลุ่มคนรักนาเชือก ซึ่ง ดร.ปราณี รัตนธรรม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เป็นประธานกลุ่มฯ  และให้การสนับสนุนจากพลังเครือข่ายชุมชน  โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ นับเป็นเรื่องแรก ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ที่นำเสนอภูมินิเวศที่เป็นจุดแข็งของพื้นที่อำเภอนาเชือก รวมถึงศักยภาพในมิติต่าง ๆ ที่จะยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งเที่ยวเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม  ผ่านการขับเคลื่อนจากองค์ความรู้ด้านวิจัย การบริการวิชาการ  รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม และการพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นวิกฤติในปัจจุบัน ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ที่ครอบคลุมประเด็น          ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและองค์รวม  รวมถึงการบูรณาการในแผนการพัฒนาท้องถิ่นในระดับตำบล  ทั้งทิศทางการพัฒนาพื้นที่ การสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่น   ความต่อเนื่องของการดำเนินการ  จนเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปอย่างยั่งยืน  (http://www.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php?mid=268&fbclid=IwAR3f-BaBgrG0DgRNtzm9Hn_iJ9oDGYIFp32RKl3hlYnZa0Fi7332i7PIY1o) สำหรับภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ จะถูกฉายรอบปฐมทัศน์ ในวันศุกร์ที่ 15 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างศักยภาพของเยาวชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ ผ่านกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติการวิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายชุมชน  ในการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ผ่านกิจกรรมในหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อเนื่องปีที่ 2  โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ผนวกกับภูมิปัญญา เชื่อมโยงกับภูมินิเวศ  ต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งคือ สบู่สมุนไพรรกฟ้า (ต้นเชือก)  เป็นสัญลักษณ์ของนาเชือก ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่  ทั้งนี้กลุ่มนักเรียน จะพัฒนาทักษะด้านการทำการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ โดยใช้เพจที่จะถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการบริหารและจัดการในรูปของกลุ่มนักเรียน ที่ได้แบ่งบทบาทหน้าที่กัน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะด้านอาชีพและทักษะวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ การจำหน่าย จะเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับครอบครัว  รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกผ่านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในรูปของฝาก หรือของที่ระลึกที่มีเรื่องราวเชิงพื้นที่ ที่มา: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ภาพ: โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เผยแพร่โดย : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง/ชลทิตย์ …

Read More »