Breaking News
Home / Uncategorized / มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566  ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) บูรณาการความร่วมมือกับ รศ.ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ ร่วมเป็นพี่เลี้ยง ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) โดยนางสาวสุนิสา         สุดรัก ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการตามแผนการปฏิบัติงานโครงการสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้และการบูรณาการสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองมหาสารคามที่ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เพื่อผลักดันเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม  ผู้นำชุมชน  ภาคีเครือข่ายหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคธุรกิจ  ภาคสังคม และภาคสุขภาพ  จำนวนกว่า 40 คน เพื่อร่วมเรียนรู้ ถอดบทเรียน และทบทวนผลการประเมินตนเองเบื้องต้นโดยใช้ Scorecard  สำหรับยกระดับการจัดการภัยพิบัติของเมืองมหาสารคามที่เป็นระบบและสอดรับกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 ภายใต้กรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ พ.ศ. 2558-2573  และการพัฒนาที่ยั่งยัน (Sustainable Development Goals) เป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในโครงการนี้  นายธัญสุต บริหารธนวุฒิ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นผู้กล่าวเปิดงาน นายสายยันต์ ภิรมย์กิจ ปลัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม กล่าวรายงาน  และการกล่าวปฐมบท  หัวข้อ “บทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการกับการพัฒนาเมืองรีซิเลียนซ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” โดย ผศ.ดร.กนกพร รัตนสุธีระกุล  รองอธิการบดีฝ่ายการคลังและพัสดุ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และหัวข้อ  “เครือข่ายนักวิชาการด้านภัยพิบัติต่อการสนับสนุนการพัฒนาเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ประธานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย  ตลอดจนการแสดงฟ้อนรำ  โดยนิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ใช้เพลงลำเพลินภัยพิบัติที่แต่งขึ้นใหม่  เพื่อสื่อสาร สร้างการรับรู้ และตื่นรู้สาธารณะด้านของภัยพิบัติ

ข่าว:  ดร.ธายุกร พระบำรุง

ข่าว/ภาพ :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 19 ธันวาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

o35 รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน – เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2567

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *