Breaking News
Home / Uncategorized / นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม
นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

ในวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ชู Soft Power เป็นกลไกสร้างการเรียนรู้สู่การรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยนายอนันต์ บุญมาชัย และนางสาวศศิณัฎฐ์ ศรีบุญเรือง นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการทักษะที่ตนเองรักและมีความเชี่ยวชาญ  สู่การบูรณาการและถ่ายทอดในรูปแบบท่าฟ้อนรำ ในบทเพลง 12 อัตลักษณ์เมืองมหาสารคามที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด พร้อมด้วยผู้แทนนิสิตของหลักสูตรฯ ที่ได้บูรณาการในรายวิชา 1705353 เทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดของเสียอันตราย เพื่อเสริมทักษะการบ่งชี้วัตถุอันตราย สารเคมี และของเสียอันตรายในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน  โดยการสนับสนุนจากโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม    จ.มหาสารคาม  ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือหลายศาสตร์ ซึ่งมี ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณากา  เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และได้ถ่ายทอดการสืบสานศิลปวัฒนธรรมสู่การเป็นยกระดับเป็นชุมชนวิถีวัฒนธรรมผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม ให้กับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม  โดยมุ่งเน้นให้เกิดกิจกรรมของชุมชน เพื่อเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ (Active Aging) ของคนในชุมชน สู่การเตรียมความพร้อมสู่การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่สร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การแบ่งปันซึ่งกันและกัน และการเป็นกลไกเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารเรื่องราว         ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการฟ้อนรำที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ การร่วมกันทำสวนพืชสมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวเม่า เช่น เตยหอม อัญชัน และขมิ้น ที่สอดรับกับแนวคิดด้านเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG) การสร้างรายได้และเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรมระดับชุมชนที่เกิดจากการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่ทุกคน ต้องช่วยกันดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมให้คุณภาพดีอย่างยั่งยืน เช่น หนองกระทุ่มและห้วยคะคาง  

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

กิจกรรมตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ EdPEx ปีการศึกษา 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

กิจกรรมตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ด้วยเกณฑ์ EdPEx ปีการศึกษา 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันนี้ 6 กันยายน 2567 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 1 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *