Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เสริมพลังชุมชนโพธิ์ศรี1 สู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เสริมพลังชุมชนโพธิ์ศรี1 สู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับนักวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มผู้ประกอบการ (ปัจจุบัน คือ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม) และเทศบาลเมืองมหาสารคาม ดำเนินโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยชุมชนโพธิ์ศรี1  มีประวัติและความเป็นมาในการทำข้าวเม่าที่สืบสานมากกว่า 100 ปี เพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนที่ครบวงจร  โดยเน้นให้สอดรับกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี   (พ.ศ.2566-2570) ของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่ว่า “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” รวมถึงแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม  ในบทบาทในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชนในท้องถิ่น และตัวชี้วัดของกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อชุมชนและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2.เพื่อถ่ายทอดระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  และ 3.ถ่ายทอดการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ ซึ่งปัจจุบัน ได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน “วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม”  ที่สามารถบริหารจัดการองค์กรได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ ซึ่งโครงการนี้ ได้วางระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสนับสนุนการดำเนินการในรูปขององค์กรธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ผังโครงสร้างองค์กรและบทบาทหน้าที่ ระเบียบข้อบังคับ ข้อตกลงการจัดการผลประโยชน์จากการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์  ฐานข้อมูลแหล่งวัตถุดิบ/ทรัพยากรชีวภาพ ฐานข้อมูลลูกค้า ฐานข้อมูลผู้รับเหมา ขั้นตอนการผลิตข้าวเม่าตำรับโพธิ์ศรี1 นโยบายการจัดการคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และความปลอดภัย ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์และการเก็บรักษา ขั้นตอนการจัดการสถานที่ผลิตตามแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร และขั้นตอนการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบการสนับสนุนด้านการตลาด ทั้งนี้ วิสาหกิจชุมชน สามารถพัฒนากลไกภายในองค์กรของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประชุมหารือและการสะท้อนบทเรียนการดำเนินการ เพื่อให้ปฏิบัติได้ตามระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการสร้างโอกาสในการพัฒนาเป็นสถานที่ผลิตแบบครบวงจร การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรมของชุมชนโพธิ์ศรี1 และการเป็นแหล่งจำหน่ายของชุมชน  การนำเอานวัตกรรมเครื่องตำและคั่วมาใช้  ควบคู่กับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำข้าวเม่าและการสร้างอาชีพของชุมชม และได้มีการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อข่าวหลายสำนัก เช่น Hot News สารคาม  TNN Online และทุกทิศทั่วไทย ThaiPBS โดยโครงการนี้ มุ่งเน้นที่จะผลักดันให้สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) ครอบคลุม เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจน (No Poverty) จากการยกระดับสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนและและวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินธุรกิจชุมชน จนเกิดรายได้  เป้าหมายที่ 13  โดยได้แทรกแนวคิดในรูปของแผนความต่อเนื่องธุรกิจที่มองการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยภัยพิบัติ โดยเน้นให้สามารถบริหารจัดการดำเนินมาตรการเร่งด่วน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ (Climate Action) และเป้าหมายที่ 15 ที่มุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชน สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น  รวมถึงปกป้องและฟื้นฟู โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งวัตถุดิบ รวมถึงจัดทำแผนการดำเนินที่มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่น  รวมถึงการสร้างแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรมในท้องถิ่น

เรื่องราวข้าวเม่าเมืองมหาสารคาม
https://shorturl.asia/JS6dn

การทำข้าวเม่าแบบโบราณ   
https://www.youtube.com/watch?v=m1-BZuKVcdQ&feature=youtu.be
Hot News สารคาม 
ข้าวเม่าโพธิ์ศรีอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม

https://fb.watch/mQ5nX3-_gn/?mibextid=2Rb1fB
TNN Online
ข้าวเม่ามหาสารคาม สูตรลับ1 ศตวรรษ  เรื่องดีดีทั่วไทย

https://www.youtube.com/watch?v=N9SVVQ6ke0g   
ทุกทิศทั่วไทย ThaiPBS
 
https://fb.watch/mOdX6xw0QH/?mibextid=2Rb1fB

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม
https://shorturl.asia/Dm5XJ

ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 25 กันยายน 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

o35 รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน – เป็นการดำเนินการในปี พ.ศ. 2567

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *