Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-วิจัย (page 9)

กิจกรรม-วิจัย

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (IRCEM-GMS) ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลสวีเดน

ขอแสดงความยินดีกับศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS (ผู้อำนวยการ:ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Participatory Flood Risk Management: A Case for Policy Implication from Ban Phai Municipality Thailand”  ซึ่งเป็นทุนวิจัยประเภท Joint Action Project ตามการประกาศของ Stockholm Environment Institute (SEI) ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติทุนนี้ จะเป็นโครงการต้นแบบระดับชาติในการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้เหตุการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วมอำเภอบ้านไผ่ เป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลสวีเดน ถือเป็นกรณีศึกษาระดับภูมิภาคในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยจะดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 ข้อมูล: …

Read More »

หลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเยียวยาผืนแผ่นดิน ชะลอโลกร้อน

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น บูรณาการตามแนวทาง STEM ชื่อ “การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าไม้” ภายใต้โครงการบูรณาการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 “โครงการต้นแบบชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ: ต้นน้ำห้วยคะคาง” เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้นำเอาไปบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งมุ่งเน้นให้ชุมชน ได้เข้าใจบริบทและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งนับวันลดลง ที่เกิดจากความต้องการของมนุษย์และจากภัยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อพลิกฟื้นคืนปัจจัยสี่ที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของชุมชน รวมถึงเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ สำหรับบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้น โดยการปลูกต้นไม้ 1 ต้นใน 1 ปี สามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.50 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kg CO2 eq) และการปลูกป่า ยังเปลี่ยนเป็นทุน สนับสนุนความมั่นคงของชีวิตได้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 หากต้องการทราบว่า หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม บูรณาการการจัดการเรียนการสอนจากวิทยาศาสตร์สู่การทำงานร่วมกับภาคชุมชนได้อย่างไร และผันเป็นการบริการวิชาการ …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายการศึกษาและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ขอแสดงความชื่นชมกับนายพาทิศ สิทธิโชติ นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งในคณะดำเนินการ เพื่อผลักดันการสร้างเครือข่ายการศึกษาและเยาวชนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การขับเคลื่อน Climate Action ที่เป็นรูปธรรม ตามกรอบ UNFCCC ซึ่งเป็นหน่วย Action for Climate Empowerment, Thailand National Focal Point ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme) สนับสนุนโดยโครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ทั้งนี้จะมีการ JOIN US + ACT NOW ผ่าน Zoom Meeting วันพุธที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา …

Read More »

จานใบไม้จากพลังความร้อนแสงอาทิตย์: ต้นแบบของการพึ่งพาธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและลดการใช้พลาสติก

ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส.  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ทั้งนี้  …

Read More »

การติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเครื่อง Dustboy

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดยการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 จุด ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และงานบริการหอพักนิสิต โดยจะเป็นตัวแทนของพื้นที่พักอาศัยหนาแน่นและพื้นที่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการติดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากทั้งแหล่งกำเนิดทั้งในพื้นที่ (Local Emission) และการเคลื่อนย้ายระยะไกล (Long-Range Transport) เช่น การเผามวลชีวภาพในที่โล่งแจ้ง (Biomass Open Burning) รวมถึงเพื่อสร้างกลไกในด้านการสร้างการรับรู้ของบุคลากรทุกระดับ การเตรียมพร้อมรับมือ การกำหนดมาตรการด้านการจัดการปัญหาฝุ่นละออง และการต่อยอดด้านการวิจัยคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลการตรวจวัด จากถูกรายงานแบบ Real Time บนเว็บไซต์ cmuccdc.org นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการร่วมในงานวิจัยของนายอภิสิทธิ์ …

Read More »

สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก

  สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นางสาวพรลัดดา บุตตะโม และนางสาวอาทิตยา โสภณ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมไหมและสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ …

Read More »

เรียนรู้ที่จะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ในรูปแบบหนังสือเสียง (Audio Book)

เรียนรู้ที่จะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ในรูปแบบหนังสือเสียง (Audio Book)   หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  ตระหนักถึงความสำคัญของการเผยแพร่ข้อมูล การสร้างการรับรู้ และเป็นกลไกในการผลักดันให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน จึงได้จัดหนังสือเสียง (Audio Book) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ          ยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นน้ำเสียงของนางสาวดีณา จุทสิงห์ นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ทั้งนี้ เนื้อหาทั้งหมด มาจากคู่มือสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Society Guidebook วิถีแห่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขและยั่งยืน พัฒนาโดย ศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ระหว่างศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดและร่วมเรียนรู้ผ่านช่องทางนี้ ->>>>  https://bit.ly/2QZebqm ข่าว/ภาพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัย …

Read More »

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้พัฒนาศักยภาพด้านการทำแบบจำลอง SWAT โดยทีมนักวิจัย ที่ประเทศจีน

นางสาวสุภาภรณ์ พลทำ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งกำลังศึกษา ในหัวข้อเรื่อง  “Application of SWAT Model to Investigate Runoff in Relation to Agricultural Land Changes: Case Study of Lam Takong River Basin” ร่วมกับนายถิรวัฒน์  ตรีนัย ในหลักสูตรเดียวกัน ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้เดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน  ในระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2562-12 มกราคม 2563 เพี่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำการจำลองจากผู้เชี่ยวชาญ ณ Institute of Geographic Sciences and Natural …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ในโอกาศที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทุกท่าน  ในศูนย์วิจัย สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์   ในโอกาสได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ประกอบด้วย โครงการหัวข้อเรื่อง  1) การศึกษาแหล่งที่มา ลักษณะ และการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกจากน้ำเสียชุมชน 2) การสะสมของสารไกลโฟเซตและการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของพืชผักทางการเกษตร 3) การสะสมของไมโครพลาสติกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแม่น้ำชีตอนบน  4) การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของปูนขาวร้อนที่ผลิตจากเปลือกไข่เหลือทิ้งอุตสาหกรรม และ 5) การดูดซับซึมสีเมทิลลีนบูลขจากสารละลายโดยใช้ถ่านกัมมันต์เชิงแม่เหล็ก >>>pdf.ดาวน์โหลด<<< ข่าว:  ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 19 ธันวาคม 2562

Read More »

ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน สนับสนุนโดยบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด

ขอแสดงความยินดีกับนายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ซึ่งทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในหัวข้อเรื่อง “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ภายใต้ความร่วมมือด้านวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส. และนางสาวพรลัดดา บุตตะโม และนางสาวอาทิตยา โสภณ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ซึ่งทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในหัวข้อเรื่อง “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม” ภายใต้ความร่วมมือด้านวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวชและศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มมส.  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในส่วนการเก็บข้อมูลภาคสนามและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อท้องถิ่น จาก บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) จำนวน 50,000 บาท ภายใต้โครงการบริการวิชาการเพื่อชุมชน  หัวข้อเรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน …

Read More »