Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย (page 8)

กิจกรรม : งานวิจัย

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่และเก็บตัวอย่างน้ำพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมขัง

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยคณาจารย์และนิสิต ในหลักสูตรฯ ได้ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในวันที่ 31 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา  พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำร่วมกับชุมชนในบริเวณต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ชุมชน  เพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพบางประการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นิสิต ได้นำเอาความรู้และทักษะจากการจัดการเรียนและการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรฯ  มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาท้องถิ่น  โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การประเมินความรุนแรงของปัญหา  และหาแนวทางการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ปัญหาเรื่องกลิ่น คุณภาพน้ำ และการลดความสกปรกของน้ำโดยเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งปฎิกูล  จากผลงานวิจัยและการทบทวนบทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต เพื่อสังเคราะห์เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับพื้นที่ประสบปัญหา   โดยในการลงพื้นที่ครั้งนี้  ได้มอบยารักษาผื่นคันจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากคณะเภสัชศาสตร์  ทั้งนี้ จะได้ขยายความร่วมมือไปยังหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านวิชาสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง         เพื่อฝึกทักษะของนิสิต ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganism; EM) ที่ปรับปรุงกลิ่นด้วยสมุนไพรท้องถิ่น สำหรับใช้ระงับกลิ่นจากการเน่าของน้ำ โดยจะพิจารณาเงื่อนไขการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งชุมชน สามารถขยายผลได้โดยอาศัยวัตถุดิบในบ้านของตนเอง …

Read More »

CMARE ร่วมสร้างฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาสหวิทยาการ ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อการพัฒนา BCG Economy Model สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานและสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอน  เป็นหัวข้อโครงการของนิสิตชั้นปีที่ 4 โดยนายกิตติศักดิ์ ขำจิตร  และนายวัชรพงษ์ ภูมิรัง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)  สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สนใจและพร้อมพัฒนาความรู้และทักษะ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ณัฐอาภา สัจจวาที  คณะการบัญชีและการจัดการ สู่การพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่อง ในรูปเว็บไซต์ “สารสนเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวแบบสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางสำหรับการรวบรวมและจัดการข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิจัยและการปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ  รวมถึงนำเสนอข้อมูลนวัตกรรมเพื่อการจัดการภัยพิบัติ โปรแกรมและสื่อมัลติมีเดีย  จดหมายข่าว  หลักสูตรอบรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน  เพื่อให้ผู้สนใจ ได้ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร รับทราบถึงสถานะด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี …

Read More »

CMARE ยกระดับสื่อการเรียนรู้ที่ดัดแปลงจากผลงานในอดีต เพื่อติดตามคุณภาพน้ำโดยใช้สัตว์หน้าดิน โดยโรงเรียนสามารถทำได้เอง

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ยกระดับสื่อการพัฒนาการเรียนรู้ “นาฬิกาสัตว์หน้าดิน” ที่เชื่อมระหว่างสิ่งมีชีวิตและคุณภาพน้ำ  โดยได้ดัดแปลงจากผลงานของ รศ.ดร.นฤมล แสงประดับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการ “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” ที่ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ในบริบทพื้นที่ตำบลโคกก่อและนาเชือก          จ.มหาสารคาม โดยการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้ออกแบบกราฟฟิกของสื่อการเรียนและการสอนขึ้นใหม่ โดยอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในรูปแบบ PDF ที่ครู/นักเรียน/ผู้สนใจ สามารถนำเอาไปประกอบเป็นนาฬิกาสัตว์หน้าดินได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนากิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน สู่การผลิตสื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนนอกชั้นเรียน  โดยเฉพาะสาระรายวิชานิเวศวิทยาและมลพิษทางน้ำ สำหรับผู้สนใจ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ …

Read More »

ภาพยนตร์สั้น จากเรื่องราวภูมินิเวศและศิลปวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาพื้นที่และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านกิจกรรมหน่วยปฏิบัติการวิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ภายใต้พันธกิจของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งอาศัยความร่วมมือสหวิทยาการ ได้ต่อยอดหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  โดยใช้บริบทพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นฐานในการสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์และจะขยายไปยังโรงเรียนเครือข่าย  ในรูปภาพยนตร์สั้น “วัดเถอะนะทำ” ภายใต้ความร่วมมือกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีกลุ่มคนรักนาเชือก ซึ่ง ดร.ปราณี รัตนธรรม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เป็นประธานกลุ่มฯ  และให้การสนับสนุนจากพลังเครือข่ายชุมชน  โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ นับเป็นเรื่องแรก ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ที่นำเสนอภูมินิเวศที่เป็นจุดแข็งของพื้นที่อำเภอนาเชือก รวมถึงศักยภาพในมิติต่าง ๆ ที่จะยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งเที่ยวเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม  ผ่านการขับเคลื่อนจากองค์ความรู้ด้านวิจัย การบริการวิชาการ  รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม และการพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นวิกฤติในปัจจุบัน ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ที่ครอบคลุมประเด็น          ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและองค์รวม  รวมถึงการบูรณาการในแผนการพัฒนาท้องถิ่นในระดับตำบล  ทั้งทิศทางการพัฒนาพื้นที่ การสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่น   ความต่อเนื่องของการดำเนินการ  จนเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปอย่างยั่งยืน  (http://www.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php?mid=268&fbclid=IwAR3f-BaBgrG0DgRNtzm9Hn_iJ9oDGYIFp32RKl3hlYnZa0Fi7332i7PIY1o) สำหรับภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ จะถูกฉายรอบปฐมทัศน์ ในวันศุกร์ที่ 15 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างศักยภาพของเยาวชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ ผ่านกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติการวิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายชุมชน  ในการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ผ่านกิจกรรมในหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อเนื่องปีที่ 2  โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ผนวกกับภูมิปัญญา เชื่อมโยงกับภูมินิเวศ  ต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งคือ สบู่สมุนไพรรกฟ้า (ต้นเชือก)  เป็นสัญลักษณ์ของนาเชือก ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่  ทั้งนี้กลุ่มนักเรียน จะพัฒนาทักษะด้านการทำการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ โดยใช้เพจที่จะถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการบริหารและจัดการในรูปของกลุ่มนักเรียน ที่ได้แบ่งบทบาทหน้าที่กัน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะด้านอาชีพและทักษะวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ การจำหน่าย จะเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับครอบครัว  รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกผ่านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในรูปของฝาก หรือของที่ระลึกที่มีเรื่องราวเชิงพื้นที่ ที่มา: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ภาพ: โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เผยแพร่โดย : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง/ชลทิตย์ …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับครูและนักเรียน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์   ขอแสดงความยินดีกับนายกิตติทัต พูนมณี นายชานนท์  สงแดง นางสาวพรธีรา ประทุมมา และนางสาวสิรินทิตย์ พาบุ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์  กลุ่มตัวแทนบริษัทสร้างการดีโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง ในการเข้าร่วมการแข่งขันกิจกรรมบริษัทสร้างการดีในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2564 ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สบู่สมุนไพรรกฟ้า ซึ่งได้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน ให้เข้าใจต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่นที่เชื่อมกับภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและภูมินิเวศของนาเชือก จนได้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น มีเรื่องราว และพร้อมจำหน่าย และขอแสดงความยินดีกับกลุ่มตัวแทนบริษัทสร้างการดี ประกอบด้วย นางสาวสุวพิชญ์ ทบภักดิ์ นางสาวศรัญญา สมศรีตา นางสาว            ณัชชา ตะทาดวง และนางสาวพรธีรา ประทุมมา ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการประกวดคลิปวิดีโอ “คนรุ่นใหม่ใส่ใจรักษาภูมิปัญญาวัฒนธรรม” …

Read More »

CMARE ร่วมบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรบ้านปลาบู่ เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนการดำเนินงาน ในการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรบ้านปลาบู่  เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป้าที่ 13 ในโครงการการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งนำทีม โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบส่วนของข้อมูลการใช้น้ำ คุณภาพน้ำ และการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกิจกรรมด้านการเกษตร  ประกอบด้วยข้อมูลบทเรียนของชุมชน ความต้องการของชุมชน และข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการปรับตัวที่สอดรับกับข้อจำกัดของพื้นที่นี้ รวมถึงความพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพของเยาวชนสู่การเป็นยุวนักสืบสายน้ำ เพื่อเป็นต้นกล้าให้กับท้องถิ่น นอกจากยังได้มอบโปสเตอร์ระบบการจัดการขยะเขิงบูรณาการ ภาคครัวเรือน  ให้กับผู้นำชุมชน ซึ่งได้เชื่อมโยงถึงการคัดแยกเศษอาหาร เพื่อเป็นวัสดุในการทำน้ำหมักและปุ๋ยหมัก สำหรับใช้ในการทำเกษตร และปูโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาสู่การเป็นชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป ข่าว: …

Read More »

สร้างบทเรียนให้กับท้องถิ่น โดยพลังเยาวชนและชุมชน สู่การฟื้นแผ่นดินเพื่อการทำสวนผักริมอ่างห้วยค้อ

เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ  หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดยมีคุณวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ  ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของพี่น้องเกษตรกรบ้านหนองแสง บ้านเห็ดใคร และบ้านห้วยหลาว ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เพื่อรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (พัทยา1 และ 2) และส่งเสริมวิถีชีวิตการเกษตรริมอ่าง ที่พึ่งพาธรรมชาติ และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ โดยครูรัชนี เปาะศิริ ได้ขยายการจัดการเรียนและการสอน ในหลักสูตรท้องถิ่น  สหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องที่มีความสนใจและพร้อมพัฒนาตนเอง  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสื่อสร้างการเรียนรู้ ในการตรวจสอบคุณภาพดินเบื้องต้นหรือนาฬิกาดิน โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE  ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์   …

Read More »

CMARE พัฒนาผังระบบการจัดการมูลฝอยเชิงบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วมและระบุหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  พัฒนา Infographic  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการด้านขยะ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยผู้ก่อขยะ เข้าใจบทบาทและหน้าที่ต่อการลดและจัดการขยะได้อย่างเหมาะสม รวมถึงได้รับประโยชน์ร่วมกัน สู่การสร้างสังคมปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ ได้บูรณาการบทเรียนจากงานวิจัยระดับปริญญาตรี หัวข้อ “การพัฒนาระบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย กรณีศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง” นิสิตวิจัย: นางสาวขัติยานี  ยืนยิ่ง และนางสาวสุภัสรา  ชิ้นงูเหลือม หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาเป็นฐานในการพัฒนาแนวทางครั้งนี้  ซึ่งประกอบด้วย ระบบการจัดการขยะเชิงบูรณาการ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม  สำหรับภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ โรงเรียน ครัวเรือน ตลาด (ใช้กรณีตลาดน้อย เป็นฐาน)  หน่วยงานระดับคณะ และพุทธสถาน ดาวน์โหลดฟรี https://drive.google.com/drive/folders/10HwaadP6HZbM5VSbg5YGcBhEyhvDBcSu?usp=sharing ที่มา: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

เทศบาลตำบลนาเชือก เข้าพบคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และคณะสาธารณสุขศาสตร์ เพื่อบูรณาการความร่วมมือสู่การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสมกับพื้นที่

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เวลา 15.00 น. ที่ผ่านมา คุณเพิ่มพล ไกรวงษ์  นายกเทศมนตรีตำบลนาเชือก              อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม  พร้อมด้วยคณะทำงาน เดินทางเข้าพบปะ เพื่อหารือในประเด็นการจัดการขยะ ซึ่งกำลังเป็นปัญหาในพื้นที่ ร่วมกับ 2 หน่วยงาน คือ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  พร้อม ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  และรองศาสตราจารย์ ดร. สุมัทนา กลางคาร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง ร่วมต้อนรับ หารือ และหาแนวทางร่วมกัน โดยผลจากการหารือนั้น ได้ระบุถึงความสำคัญของข้อมูลขยะในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการค้นหาวิธีการกำจัดขยะในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม เกิดประโยชน์ร่วมกัน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และควรดำเนินการไปร่วมกับมิติการพัฒนาพื้นที่ในด้านอื่น ๆ ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลการวิเคราะห์จุดอ่อน …

Read More »