Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย (page 7)

กิจกรรม : งานวิจัย

หมอนปูแป้ง หนึ่งในของที่ระลึกอัตลักษณ์ของนาเชือก

หมอนปูแป้ง หนึ่งในของที่ระลึกอัตลักษณ์ของนาเชือก หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเกาหลี และภูริชญาผ้าไหม (ขามเรียง) พัฒนาต้นแบบหมอนปูแป้ง  เพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่บริเวณป่าดูนลำพัน บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งเดียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ในประกาศกระทรวงฉบับที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และแหล่งศึกษาธรรมชาติที่สำคัญของพื้นที่อำเภอนาเชือก ทั้งนี้ ได้ถ่ายทอดสู่การพัฒนาเป็นของที่ระลึก เพื่อสร้างความตระหนักและรับรู้ถึงคุณค่าด้านทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะแหล่ง  รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน  อีกทั้งยังเชื่อมให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชน   นอกจากนี้ ยังเป็นการบูรณาการภูมิปัญญาและประสบการณ์การย้อมสีธรรมชาติในพื้นที่กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย ซึ่งมีนางบุญเที่ยง คำยอดแก้ว เป็นประธานฯ ที่ได้นำเอาเปลือกของต้นเชือกหรือรกฟ้า ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่เกี่ยวข้องกับที่มาของคำว่านาเชือก มาใช้ในการย้อมสีผ้าที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่อีกเฉดสีหนึ่ง และใช้ในวัตถุดิบหนึ่งในการสร้างสีสันให้กับหมอนปูแป้ง ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ปัจจุบัน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ อ.นาเชือก    จ.มหาสารคาม เป็นผู้ผลิตหมอนปูแป้ง และวางจำหน่ายในหลายพื้นที่ของอำเภอนาเชือก  …

Read More »

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium

CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ประสานของเครือข่ายภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) และสนับสนุนองค์ความรู้และการบูรณาการสหวิทยาการ เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่  ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับนิสิตทุกทีม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   ที่ได้เข้าส่งผลงานประกวดโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment Symposium ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ (รอการยืนยัน) ประกอบด้วย 4 โครงการ  คือ 1. การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinal-5P ด้วย Machine …

Read More »

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 3  (ปีการศึกษา 2564)  ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ  ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ  และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา  โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ  ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์  ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์  เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต  การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค  และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก  ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์  นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ   ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …

Read More »

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT

CMARE ร่วมเป็นแนวร่วมผลักดันกลไกสหวิทยาการ เพื่อจัดการ PM2.5 ในภาคอีสาน ร่วมกับ NARIT  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ได้ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ เพื่อสื่อสารข้อมูลบทเรียนการวิจัยและการบริการวิชาการ ผ่านโครงการวิจัยและงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2556-2565)  รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือในรูปแบบสหวิทยาการกับหลายคณะและหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้มหาสารคาม  เป็นจังหวัดนำร่อง  ในโครงการจัดอบรม American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) ซึ่งได้จัดขื้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565  ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยมีนิสิตจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์  และคณะวิทยาการสารสนเทศ เข้าร่วมกว่า …

Read More »

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ นางสาวเกศริน ซ้ายหนองขาม และนางสาวอารียา วังราช นิสิตระดับปริญญาตรี หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม   ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย หัวข้อเรื่อง “การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในจังหวัดมหาสารคาม” (เนื้อหาส่วนหนึ่งในปัญหาพิเศษ เรื่อง การผันแปรเชิงพื้นที่และเวลาของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับกิจกรรมการลดการเผาในจังหวัดมหาสารคาม) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ของท้องถิ่นในเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 และ PM10) ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่จัดเป็นวาระแห่งชาติในปัจจุบัน ในการประชุมเครือข่ายการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565  ผ่าน Zoom Meeting  จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการจัดการคุณภาพอากาศประเทศไทย (TAQM) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมประเทศไทย  จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดล  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  ทั้งนี้ ข้อมูลการศึกษา …

Read More »

ทูลเกล้าถวาย “ผ้าทอมือสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว นวัตกรรมผ้าทออัตลักษณ์บ้านขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม”

ทูลเกล้าถวาย “ผ้าทอมือสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว นวัตกรรมผ้าทออัตลักษณ์บ้านขามเรียง ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

ทูลเกล้าถวาย “ผ้าทอมือสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว นวัตกรรมผ้าทออัตลักษณ์บ้านขามเรียง  ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม”  เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนชุมชน  พร้อมด้วยนางสุชญา โคตรวงษ์    ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง  ได้ทูลเกล้าถวายผ้าทอสีย้อมจากเมล็ดมะขาม ลายดอกผักติ้ว (ลายประจำอำเภอกันทรวิชัย) ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในกลุ่ม ในการย้อมและทอผ้าผืนนี้ ในโอกาสงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2563-2564 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งนวัตกรรมผ้าทอสีย้อมธรรมชาตินี้ เกิดจากภูมิปัญญาและประสบการณ์ด้านการย้อมสีและทอของกลุ่มฯ ที่สั่งสมมากว่า 30 ปี ที่ได้เชื่อมกับรากฐานความเป็นมาและทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นเป็นครั้งแรก  เพื่อสะท้อนและฟื้นฟูอัตลักษณ์บ้านขามเรียง (ขาม คือ มะขาม และเรียง คือ การเรียงกัน) ให้เกิดการรับรู้สาธารณะ   และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและประสงค์จะอนุรักษ์รากฐานความเป็นมาของ ต.ขามเรียง  ศิลปหัตถกรรม และภูมิปัญญาด้านการย้อมและทอผ้า เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ร่วมพัฒนาจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย   ศูนย์วิจัยประชาสังคม (CSNM) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (https://csnm.kku.ac.th/) ดำเนินการตามนโยบายกระทรวง อว. โดยได้ระดมความเชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เพื่อทำงานวิจัยในระดับนานาชาติร่วมกัน และได้เชิญศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหาสารคาม โดย ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยฯ  และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ  ร่วมพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กในประเทศกัมพูชา ลาว และไทย ภายใต้โครงการแม่โขง-เกาหลี (https://www.mekonginstitute.org/what-we-do/development-fund/mekong-republic-of-korea-cooperation-fund/) ภายใต้งบประมาณ 15 ล้านบาท ปัจจุบันได้รับอนุมัติทุนแล้ว  โดยล่าสุด ศูนย์ CSNM ได้แจ้งและเชิญศูนย์วิจัยฯ ร่วมจัดทำข้อเสนอขอทุนวิจัยขนาดใหญ่ จากองค์การอนุรักษ์สากล (https://www.iucn.org/news/asia/202111/cepf-and-iucn-announce-a-new-call-proposals-indo-burma-biodiversity-hotspot) เพื่อดำเนินการในประเทศไทย ในพื้นที่แม่น้ำโขงบริเวณอำเภอปากชม จังหวัดเลย  โดยหากได้รับอนุมัติ จะเป็นการสร้างบทบาทที่สำคัญในระดับภูมิภาคของทั้งสองมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียง รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมิติทาง International Outlook มากยิ่งขึ้น ที่มา: ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ …

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง ร่วมเป็นเครือข่าย SUMERNET-SEI ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภาคแม่น้ำโขง สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ร่วมประชุมเครือข่าย SUMERNET-SEI  ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล รายงานผลการดำเนินการ และโอกาสความร่วมมือด้านวิจัย ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยเป็นการดำเนินงานในหลายมิติ เพื่อสนับสนุนสู่ความยั่งยืนของภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย  Strengthening Human Rights and Peace Research and Education in Southeast Asia (SHAPE-SEA), EXPLORE Forest Landscape Governance Network และ  Economy & Environment Partnership for Southeast Asia (EEPSEA). สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่  https://www.youtube.com/watch?v=YAVvZDyP5Rw (ภาษาอังกฤษ) ที่มา: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง  โดยมีผู้แทนชุมชนร่วมดำเนินการ  ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงจากเดิมจากการเร่งสูบน้ำและไม่มีน้ำมาสบทบ  แต่หลายครัวเรือน ยังเผชิญปัญหาเรื่องกลิ่น การท่วมขังในบางพื้นที่  ความจำเป็นต้องฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพ  เพื่อฟื้นคืนสภาพปกติให้เร็วที่สุด อีกทั้งบางครัวเรือน ยังไม่สามารถเข้าไปบริเวณบ้านของตนเองได้  จึงเป็นโจทย์ปัญหาท้องถิ่น ที่ทำให้นิสิตของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ต้องพัฒนาตนเอง โดยจากองค์ความรู้จากการจัดการเรียนและการสอน เพื่อร่วมเรียนรู้และ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์จริง และสะท้อนเป็นชุดข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ  โดยได้พัฒนาตนเองในการนำเอาเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งคือ หัวเชื้ออีเอ็ม ที่ได้ทำการขยายแล้ว ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยอีเอ็มเอง  สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการลดปัญหากลิ่น การบำบัดน้ำ การย่อยสลายสิ่งสกปรกในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์ในแง่การเกษตร และการเป็นหัวเชื้อสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน รวมถึงมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ชุมชนสามารถทำได้เอง เทคโนโลยีนี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการนำไปใช้อยู่แล้ว  แต่ส่วนที่ทำไว้ได้ถูกน้ำพัดพาไปและเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ด้วยเหตุนี้ การมอบหัวเชื้อน้ำอีเอ็มขยายให้กับชุมชน …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE

ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE   ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ในการส่งข้อเสนอโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม และผ่านเกณฑ์การคัดกรองและพิจารณา  เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในแพลตฟอร์มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise: BCE)  สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด 184 โครงการ จากสถาบันการศึกษาทั้งหมด 80 แห่งทั่วประเทศ  โดยข้อเสนอโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์กับหน่วยงานต่าง ๆ  ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ  โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองสมุนไพร  ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) …

Read More »