Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดัน “ผังการจัดการข้อมูลสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติระดับหมู่บ้าน” เพื่อเป็นฐานในการต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดัน “ผังการจัดการข้อมูลสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติระดับหมู่บ้าน” เพื่อเป็นฐานในการต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดัน “ผังการจัดการข้อมูลสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติระดับหมู่บ้าน”   เพื่อเป็นฐานในการต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ 

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมอาคารอเนกประสงค์ บ้านท่าขอนยาง หมู่ 2 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรอบรมในหัวข้อ “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก  เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเชิงบูรณาการ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผังข้อมูลสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับชุมชน  และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการกำหนดแนวทางการการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดรับกับบริบทของชุมชนตนเอง ทั้งนี้ได้บูรณาการการจัดการเรียนและสอนในรายวิชา 1705443  การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ เพื่อให้นิสิต (ประกอบด้วยนางสาวอินทิรา หลักงาม และนางสาวกาญจนา จารุกขมูล  หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม)  ได้ทำความเข้าใจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ร่วมกับชุมชน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคและการจัดการในปัจจุบันของชุมชน  โดยการอบรมครั้งนี้ ดำเนินการโดยเทศบาลตำบลท่าขอนยาง  ซึ่งมีนางศุจีนันนท์ บุตราช นายกเทศมนตรีตำบลท่าขอนยาง เป็นประธานเปิดกิจกรรม   โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน/อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จาก 15 หมู่บ้าน จากบทเรียนการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาผังการจัดการข้อมูลสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติระดับหมู่บ้านของตนเอง ครอบคลุม ดิน น้ำ อากาศ ขยะ ทรัพยากรธรรมชาติ และภัยพิบัติ  ซึ่งช่วยให้เห็นภาพรวมของการบริหารจัดการระดับพื้นที่  และได้สะท้อนว่า  ปัญหาขยะและน้ำทิ้ง เป็นประเด็นที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน  โดยแหล่งกำเนิดที่สำคัญ คือ ครัวเรือน ร้านอาหาร หอพัก สถานบันเทิง และร้านซักผ้าบริการด้วยตนเอง ตลอดจนพื้นที่ล่อแหลม         ซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ที่ต้องมีการบริหารจัดการปัญหาในพื้นที่อย่างจริงจังและต้องเกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของหลายภาคส่วน เพื่อวางแผนและปฏิบัติการอย่างเป็นระบบแบบองค์รวมและต่อเนื่อง

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 27 กุมภาพันธ์ 2567

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ร่วมขบวนแห่ผ้ากฐินพระราชทานรอบมหาวิทยาลัย เชิญไปทอดถวายวัดป่าวังเลิง

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ร่วมขบวนแห่ผ้ากฐินพระราชทานรอบมหาวิทยาลัย ไปทอดถวายวัดป่าวังเลิง

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ร่วมขบวนแห่ผ้ากฐินพระราชทานรอบมหาวิทยาลัย ไปทอดถวายวัดป่าวังเลิงรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ได้ร่วม โครงการกฐินสามัคคี กับทางมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2566 …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *