Breaking News
Home / Uncategorized / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี

วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม ปภ.1 อาคาร 3 ชั้น 5 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพฯ  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการเข้าร่วมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี  โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย TNDR ทั้ง 17 มหาวิทยาลัย ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวทางการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยร่วมกัน ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้แทนจากศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ร่วมนำเสนอบทบาทและแนวทางการทำงานด้านการจัดการภัยพิบัติร่วมกับเครือข่าย TNDR ทั้ง 17 มหาวิทยาลัย นอกจาก ยังได้รับความสนใจจากเครือข่ายภาครัฐต่างๆ ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมครั้งนี้ด้วย อาทิ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) กรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กรมโยธาธิการและผังเมือง สภากาชาดไทย สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) เป็นต้น  ซึ่งการประชุมครั้งนี้ ได้นำทิศทางการทำงานปีหน้า เน้นบริการข้อมูลองค์ความรู้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ชูการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมป้อนภาคส่วนต่างๆ  เร่งสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ UNDRR ขับเคลื่อนเรื่อง MCR2030 ในระดับท้องถิ่น และจับมือ ADPC สนับสนุนการฝึกอบรมและงานด้านวิชาการต่างๆ พร้อมผนึกความร่วมมือกรุงเทพมหานครและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หวังยกระดับการพัฒนาขีดความสามารถด้านการจัดการความเสี่ยงและภัยพิบัติของประเทศไทย โดยสำหรับมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น มุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม จาก 49 หน่วยวิจัย   3 ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง  3 ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และหน่วยวิจัย ระดับคณะ เพื่อยกระดับศักยภาพของท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ด้านภัยพิบัติทีที่สอดรับกับการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) โดยได้นำร่อง MCR2030 ในพื้นที่เมืองมหาสารคาม และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ อย่างเป็นระบบ  ตลอดจากการบูรณาการสู่แผนบริการวิชาการของมหาสารคาม

https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_8010369

https://www.technologychaoban.com/what-news/article_264301

ข่าว/ภาพ :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 19 ธันวาคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วันนี้อังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 8:00-16:00 น.  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *