ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ได้รับทุนจาก สสส. ขอแสดงความยินดีกับคณะนักวิจัย มมส. ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.จุฑามาส แก้วสุข คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ คณะวิทยาศาสตร์ อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนโชติ เทียนมงคล คณะวิทยาการสารสนเทศ ในโอกาสได้รับการคัดเลือกข้อเสนอโครงการ ชื่อ “การพัฒนา Mobile Application การจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ขยะติดเชื้อ) สำหรับประชาชนและกลุ่มผู้จัดการขยะชุมชน: กรณีศึกษา จังหวัดมหาสารคาม” ในประเภทกลุ่มงานการส่งเสริมกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (High-Risk Group Support) ของการยื่นข้อเสนอโครงการพลเมืองไทย สู้ภัยวิกฤต Citizen Resilience Project บาท ซึ่งสนับสนุนงบการดำเนินการ โดยสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สำนัก 6) สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ (สสส.) ภายใต้งบประมาณ 100,000 …
Read More »อัดเสียง เลี่ยงโควิด19: การแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียง
อัดเสียง เลี่ยงโควิด19: การแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียง หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียงอ่านหนังสือในแบบฉบับของตนเอง โดยเลือกเฟ้นเนื้อหาและสาระดีและเป็นประโยชน์ที่ต้องการแบ่งปัน โดยเฉพาะการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว เพื่อสร้างการรับรู้ การร่วมเรียนรู้ การสร้างความตระหนัก และการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นการใช้เวลาในเกิดประโยชน์ต่อสังคม ในช่วงเวลาสถานการณ์การระบาดของโควิด19 ทั้งนี้ จะรวบรวมไว้เป็นระบบสื่อเสียง เพื่อส่งมอบต่อให้กับผู้สนใจและผู้พิการทางสายตา โดยท่าน สามารถเลือกเอกสาร/หนังสือ/สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น คู่มือสังคมคาร์บอนต่ำ ที่เผยแพร่สู่สาธารณะได้และไม่มีลิขสิทธิ์ บันทึกเสียง ความยาว ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงในแต่ละคลิปเสียง และแชร์คลิปในรูปลิงค์ พร้อมชื่อ-นามสกุล เพื่อการอ้างอิง โดยใช้อีเมลด้านล่างนี้ หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE เบอร์โทร: 08 9401 9294 อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th ข่าว/ภาพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE …
Read More »สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก
สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นางสาวพรลัดดา บุตตะโม และนางสาวอาทิตยา โสภณ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมไหมและสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ …
Read More »เรียนรู้ที่จะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ในรูปแบบหนังสือเสียง (Audio Book)
เรียนรู้ที่จะเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ในรูปแบบหนังสือเสียง (Audio Book) หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการเผยแพร่ข้อมูล การสร้างการรับรู้ และเป็นกลไกในการผลักดันให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน จึงได้จัดหนังสือเสียง (Audio Book) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ ยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นน้ำเสียงของนางสาวดีณา จุทสิงห์ นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ทั้งนี้ เนื้อหาทั้งหมด มาจากคู่มือสังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Society Guidebook วิถีแห่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อสร้างสังคมที่มีความสุขและยั่งยืน พัฒนาโดย ศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การขยายผลองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ระหว่างศูนย์วิชาการนานาชาติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอเชิญผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดและร่วมเรียนรู้ผ่านช่องทางนี้ ->>>> https://bit.ly/2QZebqm ข่าว/ภาพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัย …
Read More »ภาพและข่าวงานเสวนาทางวิชาการ “การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน: เทคโนโลยีที่เหมาะสมและการพัฒนากระบวนการทางสังคม” ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563
เมื่อวันจันทร์ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมแม่น้ำของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ Institute for Thermal Power Engineering, Zhejiang University (มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง), สำนักงานพลังงานจังหวัดมหาสารคาม และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง “การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน: เทคโนโลยีที่เหมาะสม และกระบวนการทางสังคม” (Thailand Waste to Energy 2020) โดยมีเป้าประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ ทั้งในเชิงเทคนิค กระบวนการผลิต และเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษ ตลอดจนแนวคิดการพัฒนากระบวนการทางสังคมของท้องถิ่น เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีความรู้ในเชิงเทคนิค เชิงวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการประกอบการตัดสินใจ หากมีโครงการเช่นนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ใกล้เคียงชุมชนที่เราอยู่อาศัย โดยการเสวนาได้เชิญชวนผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีบทบาทในการบริหารปกครองท้องถิ่นและมีอำนาจตัดสินใจในท้องถิ่น ได้เข้ามาเรียนรู้และรับทราบข้อมูลเชิงเทคนิคเกี่ยวกับการเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิหลากลหลายสาขาร่วมบรรยายและร่วมเสวนาทางวิชาการ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการด้านพลังงานและการจัดการขยะ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพลังงานจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ …
Read More »การพัฒนาการเรียนรู้นอกห้องเรียนของนิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2562
หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดโครงการศึกษาดูงาน ประจำปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 13-17 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้นิสิต มีความรู้จากบทเรียนที่จากฐานประสบการณ์จริงและสามารถอธิบายสิ่งที่เรียนรู้ โดยเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่เรียนในแต่ละภาคการศึกษาได้ และ 2) เพื่อให้นิสิตเข้าใจต้นทุนของตนเองและพัฒนาตนเองทั้งความรู้ ความสามารถ และทักษะให้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้มีคณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 รวมทั้งสิ้น 47 คน เข้าร่วมโครงการ ซึ่งแบ่งประเด็นการศึกษาดูงาน ดังนี้ 1) Waste Management/ Utilization ได้แก่ เทศบาลนครพิษณุโลก และโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ จ.พิษณุโลก 2) Environment/ Energy Technology and Management ได้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ และเหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ลำปาง จำกัด …
Read More »หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม เพื่อผลักดันสู่ Zero-Waste School
หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม เพื่อผลักดันสู่ Zero-Waste School ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้รับโอกาสด้านการให้บริการวิชาการ ในการพัฒนาระบบจัดการขยะ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สู่การเป็น Zero-Waste School อย่างยั่งยืนให้กับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เพื่อก้าวสู่การเป็นต้นแบบด้านการจัดการขยะอย่างครบวงจร และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโรงเรียน จำนวน 50,000 บาท เพื่อการดำเนินการดังกล่าว ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 12 มกราคม 2563
Read More »คุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ หลังจากโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ (กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)”
คุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ หลังจากโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ (กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)” สมาคมหน่วยแก้วิกฤตแก้เมืองด้านเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคุณแม่อรพันธุ์ วงศ์กาไสย ภายใต้การสนับสนุนด้านการบริการวิชาการจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ (กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)” ขึ้นในวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมแม่น้ำของ (HS-217) ชั้น 2 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ โดยผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 200 คน เพื่อร่วมฟื้นฟูคุณภาพน้ำ โดยการโยน KM Ball และน้ำสมุนไพร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มาจากชุดความรู้ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาเป็นเวลานานและได้ถูกนำไปใช้แก้วิกฤตในหลายพื้นที่ ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ ซึ่งพบว่า มีคุณภาพน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 และต้องฟื้นฟูคุณภาพน้ำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาความสกปรกและกลิ่น …
Read More »ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ได้รับทุนวิจัยจากสหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังเขื่อนลำปาว จำกัด
ขอแสดงความยินดีกับศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษา ในโอกาสที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จากสหกรณ์ผู้เลี้ยงปลานิลในกระชังเขื่อนลำปาว จำกัด จำนวน 700,000 บาท ให้ดำเนินการวิจัย ในหัวข้อเรื่อง “การศึกษาความสามารถในการรองรับของเขื่อนลำปาวและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จากกิจกรรมการเลี้ยงปลานิลในกระชัง” ระยะเวลา 12 เดือน (มกราคม – ธันวาคม 2563) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการรองรับของเขื่อนลำปาว 2) ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมการเลี้ยงปลานิลในกระชัง และ 3) จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชนรอบเขื่อนลำปาว ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 25 ธันวาคม 2562
Read More »ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ในโอกาศที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563
ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยทุกท่าน ในศูนย์วิจัย สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ในโอกาสได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วย โครงการหัวข้อเรื่อง 1) การศึกษาแหล่งที่มา ลักษณะ และการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกจากน้ำเสียชุมชน 2) การสะสมของสารไกลโฟเซตและการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของพืชผักทางการเกษตร 3) การสะสมของไมโครพลาสติกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแม่น้ำชีตอนบน 4) การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของปูนขาวร้อนที่ผลิตจากเปลือกไข่เหลือทิ้งอุตสาหกรรม และ 5) การดูดซับซึมสีเมทิลลีนบูลขจากสารละลายโดยใช้ถ่านกัมมันต์เชิงแม่เหล็ก >>>pdf.ดาวน์โหลด<<< ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 19 ธันวาคม 2562
Read More »