Breaking News
Home / ข้อมูลงานวิจัย (page 8)

ข้อมูลงานวิจัย

ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย IRCEM-GMS ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัย

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนานาชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS  ในโอกาสที่ได้รับคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ในการศึกษาในโครงการ เรื่อง  “Mekong Climate Change Adaptation Mainstreaming at the National Level and Developing Transboundary Projects (June -December 2020)” โดย Mekong River Commission (MRC) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  ซึ่งได้ประสานงานกับรัฐบาลไทย (สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 27  มิถุนายน 2563

Read More »

ศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง (IRCEM-GMS) ได้รับทุนวิจัยจากรัฐบาลสวีเดน

ขอแสดงความยินดีกับศูนย์วิจัยสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง หรือ IRCEM-GMS (ผู้อำนวยการ:ผศ.ดร.ยรรยงค์ อินทร์ม่วง) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้ผ่านการคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Participatory Flood Risk Management: A Case for Policy Implication from Ban Phai Municipality Thailand”  ซึ่งเป็นทุนวิจัยประเภท Joint Action Project ตามการประกาศของ Stockholm Environment Institute (SEI) ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยและสถาบันในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติทุนนี้ จะเป็นโครงการต้นแบบระดับชาติในการจัดการภัยพิบัติ โดยใช้เหตุการณ์ภัยพิบัติจากน้ำท่วมอำเภอบ้านไผ่ เป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลสวีเดน ถือเป็นกรณีศึกษาระดับภูมิภาคในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยจะดำเนินการร่วมกันระหว่างศูนย์วิจัยกับผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยมีระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างปี พ.ศ. 2563-2565 ข้อมูล: …

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ที่ผ่านการพิจารณาโครงการ ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดนสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี้เลียง ปี 2563 สนับสนุนโดย สป.อว.

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับโครงการห้องเรียนธรรมชาติ: บทเรียนท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (ประเภทที่ 2) โดยศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES) (ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์) และโครงการจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น สำหรับเยาวชนสู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน (ประเภทที่ 3) โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) (ดร.ธายุกร พระบำรุง) ที่ได้ผ่านการพิจารณา จากการดำเนินการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี้เลียง ปี 2563 โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะแม่ข่ายเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จากโครงการทั้งหมด 3 โครงการ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว) ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ข้อมูลและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 30 เมษายน 2563

Read More »

จานใบไม้จากพลังความร้อนแสงอาทิตย์: ต้นแบบของการพึ่งพาธรรมชาติอย่างรู้คุณค่าและลดการใช้พลาสติก

ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส.  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ทั้งนี้  …

Read More »

การติดตามฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเครื่อง Dustboy

เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดยการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 จุด ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และงานบริการหอพักนิสิต โดยจะเป็นตัวแทนของพื้นที่พักอาศัยหนาแน่นและพื้นที่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการติดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากทั้งแหล่งกำเนิดทั้งในพื้นที่ (Local Emission) และการเคลื่อนย้ายระยะไกล (Long-Range Transport) เช่น การเผามวลชีวภาพในที่โล่งแจ้ง (Biomass Open Burning) รวมถึงเพื่อสร้างกลไกในด้านการสร้างการรับรู้ของบุคลากรทุกระดับ การเตรียมพร้อมรับมือ การกำหนดมาตรการด้านการจัดการปัญหาฝุ่นละออง และการต่อยอดด้านการวิจัยคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลการตรวจวัด จากถูกรายงานแบบ Real Time บนเว็บไซต์ cmuccdc.org นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการร่วมในงานวิจัยของนายอภิสิทธิ์ …

Read More »

สำรวจข้อมูล เพื่อการเตรียมรับมือของเกษตรกรต่อสถานการณ์โควิด19 และประกอบการของบสนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจร

สำรวจข้อมูล เพื่อการเตรียมรับมือของเกษตรกรต่อสถานการณ์โควิด19 และประกอบการของบสนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรแบบครบวงจร เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับเครือข่ายสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ได้จัดทำแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานออนไลน์ เพื่อเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาเทคโนโลยีบนมือถือ (Mobile Application) ในการสนับสนุนการทำการตลาดดิจิทัลให้กับเกษตรกร ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 และการใช้ประโยชน์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน หลังจากสถานการณ์ทุเลาลง โดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล ครั้งนี้ เพื่อรวบรวมประเด็นที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบสนับสนุนการตลาดดิจิทัลแบบครบวงจร สำหรับผลิตผลทางการเกษตร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนชุดความรู้ด้านการเกษตรระหว่างกลุ่มเกษตรกร การจัดการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านการบริหารจัดการน้ำ การวางแผนและการประเมินความเหมาะสมของพื้นที่ด้านการทำการเกษตร การปรับปรุงคุณภาพดิน การป้องกันและควบคุมวัชพืช ศัตรูพืช และโรคพืช การใช้ประโยชน์จากของเสีย การจัดทำฉลากคาร์บอน การประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นที่ได้พัฒนา โดยหน่วยงานที่สนับสนุนด้านการเกษตร และการหมุนเวียนวัตถุดิบตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การส่งเสริมระบบการทำเกษตรอินทรีย์ จากชุดความรู้ของผู้มีประสบการณ์ในพื้นที่ และการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้จะได้นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอโครงการ ในรูปแบบพหุวิทยาการ สำหรับของบสนับสนุนด้านการพัฒนานวัตกรรม และช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรให้สามารถปรับตัวกับสถานการณ์และพัฒนาตนเองสู่การเป็น Smart Farmer ต่อไป ขอความอนุเคราะห์พี่น้องเกษตรกรทุกท่าน ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม …

Read More »

อัดเสียง เลี่ยงโควิด19: การแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียง

อัดเสียง เลี่ยงโควิด19: การแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียง หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ขอเชิญชวนทุกท่าน ร่วมแบ่งปันการเรียนรู้ผ่านเสียงอ่านหนังสือในแบบฉบับของตนเอง โดยเลือกเฟ้นเนื้อหาและสาระดีและเป็นประโยชน์ที่ต้องการแบ่งปัน โดยเฉพาะการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว  เพื่อสร้างการรับรู้  การร่วมเรียนรู้  การสร้างความตระหนัก และการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  อีกทั้งยังเป็นการใช้เวลาในเกิดประโยชน์ต่อสังคม ในช่วงเวลาสถานการณ์การระบาดของโควิด19  ทั้งนี้ จะรวบรวมไว้เป็นระบบสื่อเสียง เพื่อส่งมอบต่อให้กับผู้สนใจและผู้พิการทางสายตา  โดยท่าน สามารถเลือกเอกสาร/หนังสือ/สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น คู่มือสังคมคาร์บอนต่ำ          ที่เผยแพร่สู่สาธารณะได้และไม่มีลิขสิทธิ์  บันทึกเสียง ความยาว ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมงในแต่ละคลิปเสียง และแชร์คลิปในรูปลิงค์  พร้อมชื่อ-นามสกุล เพื่อการอ้างอิง โดยใช้อีเมลด้านล่างนี้  หรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ  ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE เบอร์โทร: 08 9401 9294 อีเมล thayukorn.p@msu.ac.th ข่าว/ภาพ:  หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE …

Read More »

หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม เพื่อผลักดันสู่ Zero-Waste School

หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม เพื่อผลักดันสู่ Zero-Waste School ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ที่ได้รับโอกาสด้านการให้บริการวิชาการ ในการพัฒนาระบบจัดการขยะ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สู่การเป็น Zero-Waste School อย่างยั่งยืนให้กับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เพื่อก้าวสู่การเป็นต้นแบบด้านการจัดการขยะอย่างครบวงจร  และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโรงเรียน จำนวน 50,000 บาท เพื่อการดำเนินการดังกล่าว ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 12 มกราคม 2563

Read More »

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ในโอกาศที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563

ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย ในศูนย์วิจัย ในคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์   ในโอกาสได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภทส่งเสริมอาจารย์และนักวิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ประกอบด้วย โครงการหัวข้อเรื่อง  1) การศึกษาแหล่งที่มา ลักษณะ และการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกจากน้ำเสียชุมชน 2) การสะสมของสารไกลโฟเซตและการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของพืชผักทางการเกษตร 3) การสะสมของไมโครพลาสติกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในแม่น้ำชีตอนบน  4) การศึกษาคุณสมบัติทางเคมีและฤทธิ์ต้านเชื้อจุลินทรีย์ของปูนขาวร้อนที่ผลิตจากเปลือกไข่เหลือทิ้งอุตสาหกรรม และ 5) การดูดซับซึมสีเมทิลลีนบูลขจากสารละลายโดยใช้ถ่านกัมมันต์เชิงแม่เหล็ก ข่าว:  ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์  สีเทา ณ วันที่ : 25 ธันวาคม 2562

Read More »