ระหว่างวันที่ 8-11 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาและการปรับตัว (CMARE) ในนามของประเทศไทย ได้เข้าร่วม Regional Training Workshop on Building Cities Resilience to Climate Change and Disasters ประกอบด้วย ผู้แทนประเทศเนปาล อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และลาว ซึ่งจัดโดยความร่วมมือของ the Asian Institute of Technology (AIT), the United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR), United Nations Development Programme …
Read More »สื่อสารสร้างการรับรู้และเข้าใจ เพื่อเตรียมพร้อมเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น (City Resilience) แบบบูรณาการแบบองค์รวม
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้เข้าร่วมการประชุม เพื่อสะท้อนบทเรียนแนวทางการพัฒนากลไกสนับสนุนเชิงบูรณาการแบบองค์รวมสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น ภายใต้โครงการ MRC2030 กรณีจังหวัดมหาสารคาม ที่ได้บูรณาการความร่วมมือกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม ในฐานะเมืองนำร่อง โดยการสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ ในการจัดการประชุม มีนายธัญสุต บริหารธนวุฒิ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธาน และผู้บริหาร ประกอบด้วย รองปลัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าสำนัก และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เข้าร่วมเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนที่จะบูรณาการเป็นตัวชี้วัดของแต่ละ ส่วนราชการภายใน …
Read More »การเตรียมพร้อมกันทรวิชัย สู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น (City Resilience)
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา นายเศรษฐา เณรสุวรรณ นายอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ได้สื่อสารบทเรียน “การจัดการอุทกภัยของพื้นที่อำเภอกันทรวิชัยและการเตรียมพื้นที่สู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น “รู้รับ–ปรับตัว -ฟื้นเร็วทั่วอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการ Making Cities Resilient 2030 (MCR2030) ผ่านข่าว “เท่าทันภัยพิบัติ” ที่เผยแพร่ทางช่อง 5 โดยการสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการบูรณาการความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นการผนึกกำลังของสถาบันการศึกษาและท้องถิ่น เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย …
Read More »CMARE เชื่อมเครือข่ายการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหม เพื่อบูรณาการความร่วมสหวิทยาการการปรับตัวต่อภัยพิบัติ
เมื่อวันที่ 27-31 มีนาคม 2566 ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้ร่วมสัมมนาการเครือข่ายการบรรเทาสาธารณภัยของกระทรวงกลาโหม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดำเนินการโดยสำนักนโยบายและแผนกลาโหม ผ่านการฝึกอบรม เรื่อง “การประสานงานระหว่างพลเรือน-ทหาร ครั้งที่ 9 และการจัดนิทรรศการนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างพลเรือนกับทหารในงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วนในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย นอกจากนี้ ยังได้จัดนิทรรศการแสดงนวัตกรรมด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ รวมถึงนวัตกรรมในการตอบโต้ภัยพิบัติ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานและบูรณาการการทำงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนและเรียนรู้องค์กรภาคข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ได้แก่ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมไทยโชต อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินการจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย บริษัท เอ็นพีซีเซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด จังหวัดระยอง ระบบบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน กรณีสารเคมี/น้ำมันรั่วไหล และการจัดการสาธารณภัยในพื้นที่ชายฝังทะเลของประเทศไทย …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”
เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการหัวข้อ “ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ Making Cities Resilience 2030 (MCR2030)” ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience หรือ TNDR) กับองค์การสหประชาชาติ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการสร้าง Resilience ของท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคี พร้อมแนะนำ MCR2030 แนวคิดและเครื่องมือสำหรับการก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน …
Read More »นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับองค์กรธุรกิจสู่ความยั่งยืน
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้่นที่ เพื่อศึกษากระบวนการผลิตผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง หรือบ้านไหมขามเรียง ตั้งอยู่ที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดทำขั้นตอนการทำงาน (Work Instruction) ที่บูรณาการแบบองค์รวม ทั้งคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การบ่งชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) การประเมินนัยสำคัญของปัญหา ตลอดจนการจัดทำแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Plan) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลักดันให้การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ นิสิต ยังได้ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำ ความเข้มแสง และความดังเสียง โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ที่เรียนมา เพื่อเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้ สำหรับป้องกันและควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ สอดรับกับบริบทของปัญหาที่แท้จริง และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งในกิจรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ที่มา: หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ภาพและข่าว …
Read More »บ้านไหมขามเรียง: วิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นองค์กรธุรกิจตามแนวทางการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการทั้งภายในและต่างคณะ และหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งมุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นวัตถุดิบสำหรับการย้อมสีธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างอัตลักษณ์และสะท้อนผ่านตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แทรกแนวคิดการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecodesign) ซึ่งเน้นการลดการใช้พลาสติก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านการตลาด โดยได้จัดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ผู้สนใจ สามารถทำความรู้จักองค์กรธุรกิจแห่งนี้ ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/watch/?v=621046442765838 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นเจ้าภาพกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 14th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being (STISWB)
ระหว่างวันที่ 17 – 20 สิงหาคม 2565 ณ Champasak Grand Hotel เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นเจ้าภาพกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 14th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being (STISWB) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พฤทธ์ สกุลช่างสัจจะทัย ตัวแทนศาตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล ผู้ก่อตั้งการประชุม STISWB ในการกล่าวเปิดงาน กล่าวต้อนรับโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ …
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการ U2T ตำบลตลาด
หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะดำเนินการภาคประชาชนและบัณฑิตจบใหม่ ดำเนินการภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้สำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล และตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ประกอบด้วย อุณหภูมิ (Temperature) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) และค่าออกซิเจนละลาย (DO) ในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีทั้งหมด 4 จุดตรวจวัด ได้แก่ หนองกระทุ่ม (ชุมชนโพธิ์ศรี) ห้วยคะคาง กุดนางใย และคลองสมถวิล เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า ทั้งสามตัวแปร ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) …
Read More »ประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย
วันนี้ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ENV 106 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดงานประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ ผู้เดินทางเข้าร่วมประชุม โดยมี 1.ดร.ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร ตำแหน่งกรรมการบริหารเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย 2.นายรัฎชพงศ์ ไชยเดช ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 สิงหาคม 2565
Read More »