ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ขอแสดงความยินดีกับหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ในการส่งข้อเสนอโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม และผ่านเกณฑ์การคัดกรองและพิจารณา เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในแพลตฟอร์มศักยภาพธุรกิจชุมชน (Building Community Enterprise: BCE) สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการทั้งหมด 184 โครงการ จากสถาบันการศึกษาทั้งหมด 80 แห่งทั่วประเทศ โดยข้อเสนอโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์กับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การขับเคลื่อนจังหวัดมหาสารคามเป็นเมืองสมุนไพร ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) …
Read More »หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่และเก็บตัวอย่างน้ำพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เพื่อสร้างแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมขัง
หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม โดยคณาจารย์และนิสิต ในหลักสูตรฯ ได้ลงสำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ในวันที่ 31 ตุลาคม และ 2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำร่วมกับชุมชนในบริเวณต่าง ๆ ทั้งในและนอกพื้นที่ชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติทางเคมีและทางกายภาพบางประการ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้นิสิต ได้นำเอาความรู้และทักษะจากการจัดการเรียนและการสอนในรายวิชาต่างๆ ของหลักสูตรฯ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาท้องถิ่น โดยเริ่มจากการสร้างความเข้าใจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น การประเมินความรุนแรงของปัญหา และหาแนวทางการบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ปัญหาเรื่องกลิ่น คุณภาพน้ำ และการลดความสกปรกของน้ำโดยเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และการจัดการสิ่งปฎิกูล จากผลงานวิจัยและการทบทวนบทเรียนการแก้ปัญหาในอดีต เพื่อสังเคราะห์เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับพื้นที่ประสบปัญหา โดยในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้มอบยารักษาผื่นคันจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการอนุเคราะห์จากคณะเภสัชศาสตร์ ทั้งนี้ จะได้ขยายความร่วมมือไปยังหลักสูตรการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผ่านวิชาสัมมนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อฝึกทักษะของนิสิต ในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganism; EM) ที่ปรับปรุงกลิ่นด้วยสมุนไพรท้องถิ่น สำหรับใช้ระงับกลิ่นจากการเน่าของน้ำ โดยจะพิจารณาเงื่อนไขการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งชุมชน สามารถขยายผลได้โดยอาศัยวัตถุดิบในบ้านของตนเอง …
Read More »CMARE ร่วมสร้างฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาสหวิทยาการ ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อการพัฒนา BCG Economy Model สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานและสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับหลักสูตรหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอน เป็นหัวข้อโครงการของนิสิตชั้นปีที่ 4 โดยนายกิตติศักดิ์ ขำจิตร และนายวัชรพงษ์ ภูมิรัง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สนใจและพร้อมพัฒนาความรู้และทักษะ ภายใต้การดูแลของอาจารย์ณัฐอาภา สัจจวาที คณะการบัญชีและการจัดการ สู่การพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่อง ในรูปเว็บไซต์ “สารสนเทศการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวแบบสหวิทยาการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจโมเดลใหม่ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเป็นระบบข้อมูลกลางสำหรับการรวบรวมและจัดการข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิจัยและการปฏิบัติการเชิงพื้นที่ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ รวมถึงนำเสนอข้อมูลนวัตกรรมเพื่อการจัดการภัยพิบัติ โปรแกรมและสื่อมัลติมีเดีย จดหมายข่าว หลักสูตรอบรม และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้ผู้สนใจ ได้ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร รับทราบถึงสถานะด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี …
Read More »CMARE ยกระดับสื่อการเรียนรู้ที่ดัดแปลงจากผลงานในอดีต เพื่อติดตามคุณภาพน้ำโดยใช้สัตว์หน้าดิน โดยโรงเรียนสามารถทำได้เอง
เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ยกระดับสื่อการพัฒนาการเรียนรู้ “นาฬิกาสัตว์หน้าดิน” ที่เชื่อมระหว่างสิ่งมีชีวิตและคุณภาพน้ำ โดยได้ดัดแปลงจากผลงานของ รศ.ดร.นฤมล แสงประดับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายใต้โครงการ “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่นสำหรับเยาวชน สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน” ที่ได้พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ในบริบทพื้นที่ตำบลโคกก่อและนาเชือก จ.มหาสารคาม โดยการสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้ออกแบบกราฟฟิกของสื่อการเรียนและการสอนขึ้นใหม่ โดยอาจารย์เอกลักษณ์ แสงเดือนฉาย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในรูปแบบ PDF ที่ครู/นักเรียน/ผู้สนใจ สามารถนำเอาไปประกอบเป็นนาฬิกาสัตว์หน้าดินได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนากิจกรรมที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน สู่การผลิตสื่อการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนนอกชั้นเรียน โดยเฉพาะสาระรายวิชานิเวศวิทยาและมลพิษทางน้ำ สำหรับผู้สนใจ สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ …
Read More »ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “หลักเกณฑ์การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบ้ับที่ 2) พ.ศ.2564
>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 14 ตุลาคม 2564
Read More »ภาพและข่าว : ศูนย์วิจัยด้านสิ่งเเวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Center for research on Environmental Education for Sustainable Development : creesd) คณะสิ่งเเวดล้อมเเละทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น “การเขียนผลงานทางวิชาการสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ” รุ่นที่ 2
ศูนย์วิจัยด้านสิ่งเเวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Center for research on Environmental Education for Sustainable Development : creesd) คณะสิ่งเเวดล้อมเเละทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น “การเขียนผลงานทางวิชาการสำหรับครูวิทยาศาสตร์ ” รุ่นที่ 2 ในวันที่ 18 กันยายน 2564 ด้วยระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม google meet โดยมีวิทยากร ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว, รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร วงศ์จันทรา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ คุรุโคตร ,อาจารย์ ดร.สุภารัตน์ อ่อนก้อนและคุณครูกล่อมจิต ดอนภิรมย์ ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีผู้สนใจเข้ารับอบรม ประกอบด้วยครูผู้สอนวิชาวิทยศาสตร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ เเละนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา จำนวนรวม …
Read More »CMARE พัฒนาอินโฟกราฟฟิคระบบการจัดการขยะมูลฝอยเชิงบูรณาการ โดยเน้นการมีส่วนร่วม เพื่อให้โรงเรียนนำไปใช้ฟรี ๆ
เครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้รวบรวมข้อมูลและออกแบบแนวทางการจัดการขยะเชิงบูรณาการ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับโรงเรียน ในรูปของอินโฟกราฟฟิค (ประกอบด้วย ประเภทของขยะ หน้าที่ของผู้ก่อให้เกิดขยะ แนวทางการจัดการขยะ ความมุ่งมั่นของโรงเรียนในแสดงในรูปนโยบายด้านการจัดการขยะ และมาตรการการลดขยะต้นทาง) ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยนายวรวุฒิ แสนตรง นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ออกแบบ โดยจัดทำให้อยู่ในรูป 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) และได้ตรวจสอบภาษา โดย Miss Alice Padmini Albert คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ เป็นการถอดบทเรียนการให้บริการวิชาการ กรณีของโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่อง “โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ” และมีคณะกรรมการบริหารและจัดการขยะที่มาจากหลายส่วนงานและนโยบายการด้านจัดการขยะที่ชัดเจน ทั้งนี้หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE จะขยายผลไปยังแนวทางระบบการจัดการขยะ สำหรับครัวเรือน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศาสนา …
Read More »ขอแสดงความยินดีกับผลงานคลิปสั้นสร้างการเรียนรู้ หัวข้อ “โลกร้อนและการปรับตัวในสไตล์อีสานอินดี้”
เครือข่ายนักวิจัยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับนักวิจัยจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมประกวดคลิปสั้นเพื่อสร้างการเรียนรู้ หัวข้อ “โลกร้อนและการปรับตัวในสไตล์อีสานอินดี้” ความยาวไม่เกิน 5 นาที เพื่อชิงทุนการศึกษารวม 3,500 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร รวมถึงผลงานที่ได้รับความนิยม (ตัดสิน ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2564) ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง เครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ชื่อโครงการ “การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน แบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สนับสนุนโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว) โดยเกณฑ์การประเมินผลงาน ประกอบด้วย ความสอดคล้องกับหัวข้อ ความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ สังคม และภาษา …
Read More »ข้อมูลเงินทุนสนับสนุนงานวิจ้ัย 2562
>>>ข้อมูลงานวิจัย-ประกอบการประเมินประกันระดับสถานศึกษา.pdf<<<
Read More »ข้อมูลเงินทุนสนับสนุนงานวิจ้ัย 2561
>>>3.-แบบฟอร์ม-2.2ทุนวิจัย-61-ใหม่.pdf<<<
Read More »