Breaking News
Home / ข้อมูลงานวิจัย (page 3)

ข้อมูลงานวิจัย

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566  ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) บูรณาการความร่วมมือกับ รศ.ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ ร่วมเป็นพี่เลี้ยง ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) โดยนางสาวสุนิสา         สุดรัก ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการตามแผนการปฏิบัติงานโครงการสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้และการบูรณาการสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองมหาสารคามที่ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เพื่อผลักดันเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม …

Read More »

เปิดโลกทัศน์และมุมมอง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสในสายงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

เปิดโลกทัศน์และมุมมอง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสในสายงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 

ในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาดูงาน ประจำปีการศึกษา 2566  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ  สำรวจโอกาสและทักษะทางวิชาชีพ เชื่อมโยงทฤษฎีกับสาระที่หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนกับการปฏิบัติในบริบทการทำงานจริง ครอบคลุมถึงการรวบรวมประเด็น เพื่อปรับปรุงสาระรายวิชาของหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดรับกับโจทย์ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน  อีกทั้งช่วยให้เข้าใจรูปแบบองค์กรและวัฒนธรรมทางธุรกิจ และเป็นข้อมูลในเลือกอาชีพตามความสนใจของนิสิต  และแสวงหาโอกาสในการบูรณาการความร่วมมือด้านวิจัยและบริการวิชาการของหลักสูตรในอนาคต ตลอดจนการฝึกประสบการณ์ของนิสิต โครงการนี้ มีคณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 เข้าร่วม โดยสถานที่ศึกษางาน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง ในประเด็นที่ท้าทาย ได้แก่  อุตสาหกรรมการรีไซเคิล ประเภทอลูมิเนียม  การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ   การกำจัดขยะอันตรายและขยะติดเชื้อและเทคโนโลยีในการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด  การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมและการจัดการ   ข้อร้องเรียน อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและคาร์บอนเครดิต การบริหารจัดการโครงการท่าเรือมาบตาพุด เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการวิจัยด้านสัตว์ทะเล ผลกระทบของมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้ ยังส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งด้านสัมพันธภาพที่ดีด้านสายอาชีพระหว่างนิสิตปัจจุบันและรุ่นพี่ศิษย์เก่า  ซึ่งเป็นกลไกในการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และพัฒนาตนเองให้เติบโตในสายอาชีพที่มั่นคง ขอขอบคุณ บริษัท …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน

เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566  ณ โรงเรียนบรบือ จ.มหาสารคาม  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ผู้แทนหน่วยงาน  ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นฐานและแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลุ่มเยาวชน  ในห้วข้อ  “ขยะ: โจทย์ที่ท้าทาย สำหรับคนรุ่นใหม่” ในโครงการ Garbage Hack with Isan Youth Leaders  ซึ่งมีนางสาวศุภลักษณ์ โสวรรณี  ครูโรงเรียนบรบือ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)  ภายใต้การสนับสนุนของ The Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) University of Nebraska Omaha U.S. Embassy และ  Mahasarakham University American …

Read More »

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม ในวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ชู Soft Power เป็นกลไกสร้างการเรียนรู้สู่การรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยนายอนันต์ บุญมาชัย และนางสาวศศิณัฎฐ์ ศรีบุญเรือง นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการทักษะที่ตนเองรักและมีความเชี่ยวชาญ  สู่การบูรณาการและถ่ายทอดในรูปแบบท่าฟ้อนรำ ในบทเพลง 12 อัตลักษณ์เมืองมหาสารคามที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด พร้อมด้วยผู้แทนนิสิตของหลักสูตรฯ ที่ได้บูรณาการในรายวิชา 1705353 เทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดของเสียอันตราย เพื่อเสริมทักษะการบ่งชี้วัตถุอันตราย สารเคมี และของเสียอันตรายในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน  โดยการสนับสนุนจากโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม    จ.มหาสารคาม  ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือหลายศาสตร์ ซึ่งมี ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณากา  เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ เสริมพลังเทศบาลนครพิษณุโลกและการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี้เลี้ยง เพื่อพัฒนาเมืองยืดหยุ่น (City Resilience)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566  ณ ห้องประชุมจุฬามณี 1 สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก จ.พิษณุโลก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) มหาวิทยาลัยนเรศวร (โครงการ SECRA และ โครงการ FOUNTAIN ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรม ERASMUS+ จาก EU) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR)  ในฐานะวิทยากรกระบวนการ  ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การบูรณาการสู่การสร้างเมืองยืดหยุ่น (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” สำหรับผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก โดยมี  นางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน และในกิจกรรม ประกอบด้วย  การกล่าวปฐมบท  “บทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการกับการพัฒนาเมืองสู่เมืองที่ลดความเสี่ยงภัยอย่างยั่งยืน”  โดย …

Read More »

เสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยระบบมาตรฐานสากล

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566  ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม  ร่วมต้อนรับนางวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อนำที ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวิสาหกิจ โดยมี รศ.ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว ผู้จัดการโรงงานฟาร์มแคร์ ฟาร์มาซูติคอล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมต้อนรับ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ตลอดจนเอื้อเฟื้อการเยี่ยมชมโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเตรียมความพร้อมวิสาหกิจชุมชนให้สามารถนำไปบริหารจัดการองค์กรธุรกิจชุมชนในด้านการผลิตได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานต่อไป  ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 21 สิงหาคม 2566

Read More »

ซีแมร์ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พัฒนาสื่อนวัตกรรมเพลง“ลำเพลินภัยพิบัติ” เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมชุมชน 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ซึ่ง ดร.ธายุกร พระบำรุง เป็นผู้อำนวยการ ร่วมกับภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยอาจารย์สราวุฒิ สีหาโคตร พร้อมด้วยคณะอาจารย์และนักศึกษา ได้พัฒนาสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ เพลง “ลำเพลินภัยพิบัติ” https://www.youtube.com/watch?v=dzkljMqNMi0  เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนเชิงบูรณาการแบบองค์รวมสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น ภายใต้โครงการ MRC2030 กรณีจังหวัดมหาสารคาม  โดยมีเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นเมืองนำร่อง และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทั้งนี้ ได้มีจัดทำแบบสำรวจประสิทธิภาพของการสื่อสาร ผ่านสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ออนไลน์ โดยสำรวจระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน …

Read More »

เสริมพลังเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วยภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากต้นเชือกหรือรกฟ้า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ  และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ขึ้น โดยมีนายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และมีภาคีเครือข่ายจากหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย  ผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก พัฒนาการอำเภอยางสีสุราช นายกเทศบาลตำบลนาเชือก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก นายกสมาคมส่งเสริมผ้าไทย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านหนองทิศสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านห้วยทราย  ผู้แทนโรงเรียนบ้านหนองแสง และได้พัฒนากลไกที่จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ  หัวข้อ “มุมมองและแนวทางการทำสวนผักด้วยระบบอินทรีย์เพื่อสนับสนุนอาหารปลอดภัยและแหล่งรายได้ของชุมชนในพื้นที่อำเภอนาเชือก  โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ …

Read More »

สร้างความพร้อมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) ด้วยผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก

สร้างความพร้อมเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Model) ด้วยผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากเปลือกต้นเชือก

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566  ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยโครงการนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ภายใต้การสนับสนุนการสร้างกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก โดยจะขยายการสร้างการเรียนรู้และการสร้างความร่วมมือกับโรงเรียนบ้านหนองแสง  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านห้วยทราย เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาชุมชน        แบบองค์รวมอย่างยั่งยืน ในกิจกรรม นายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  และนายสถาพร …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ผนึกกำลังเทศบาลเมืองมหาสารคามผลักดันธรรมนูญสุขภาพ ด้านการจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก นำร่องชุมชนธัญญา1-3

วันที่ 9 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับสำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองมหาสารคาม  ผลักดันการพัฒนาธรรมนูญสุขภาพสู่การเป็นนโยบายท้องถิ่น เพื่อการจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก โดยชุมชน นำร่องชุมชนธัญญา1 2 และ 3  เป็นพื้นที่แรก โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน ได้แก่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) สมาชิกสภาเทศบาลเมืองมหาสารคาม ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมแต่งผมเสริมสวย คณะสงฆ์วัดธัญญาวาส และเทศบาลเมืองมหาสารคาม สถาบันการศึกษา (ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม)   โดยเนื้อหาในธรรมนูญสุขภาพ ประกอบด้วย นิยามและความหมาย บุคคล หน่วยงาน และบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   ระบบสนับสนุนการสื่อสารของชุมชนที่มีการใช้งาน  แหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองขนาดเล็กในชุมชน  แนวทางปฏิบัติที่ตกลงร่วมกัน และมาตรการบรรเทาผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก และแหล่งกำเนิดในชุมชนจากเวทีชุมชน  ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากยานพาหนะ   การประกอบอาหาร/ปิ้งย่าง  การสูบบุหรี่ …

Read More »