Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-วิจัย (page 6)

กิจกรรม-วิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”

เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  ได้เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการหัวข้อ “ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ Making Cities Resilience 2030 (MCR2030)” ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience หรือ TNDR)  กับองค์การสหประชาชาติ  United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการสร้าง Resilience ของท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคี พร้อมแนะนำ MCR2030 แนวคิดและเครื่องมือสำหรับการก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน …

Read More »

นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับองค์กรธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้่นที่ เพื่อศึกษากระบวนการผลิตผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง หรือบ้านไหมขามเรียง ตั้งอยู่ที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดทำขั้นตอนการทำงาน (Work Instruction) ที่บูรณาการแบบองค์รวม ทั้งคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย การบ่งชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม (Environmental Aspect) ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) การประเมินนัยสำคัญของปัญหา ตลอดจนการจัดทำแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Plan) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการผลักดันให้การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ นิสิต ยังได้ตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำ ความเข้มแสง และความดังเสียง โดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นการบูรณาการองค์ความรู้ที่เรียนมา เพื่อเชื่อมโยงหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปได้ สำหรับป้องกันและควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ สอดรับกับบริบทของปัญหาที่แท้จริง และสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยกิจกรรมนี้ เป็นส่วนหนึ่งในกิจรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ที่มา: หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ภาพและข่าว …

Read More »

บ้านไหมขามเรียง: วิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นองค์กรธุรกิจตามแนวทางการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่

ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการทั้งภายในและต่างคณะ และหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งมุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นวัตถุดิบสำหรับการย้อมสีธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างอัตลักษณ์และสะท้อนผ่านตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แทรกแนวคิดการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecodesign) ซึ่งเน้นการลดการใช้พลาสติก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านการตลาด โดยได้จัดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ผู้สนใจ สามารถทำความรู้จักองค์กรธุรกิจแห่งนี้ ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/watch/?v=621046442765838 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นเจ้าภาพกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 14th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being (STISWB)

  ระหว่างวันที่ 17 – 20 สิงหาคม 2565 ณ Champasak Grand Hotel เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และบัณฑิต วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมเป็นเจ้าภาพกับมหาวิทยาลัยเครือข่ายจัดโครงการการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 14th International Conference on Science, Technology and Innovation for Sustainable Well-Being (STISWB) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.พฤทธ์ สกุลช่างสัจจะทัย ตัวแทนศาตราจารย์ ดร.ประดิษฐ์ เทอดทูล ผู้ก่อตั้งการประชุม STISWB ในการกล่าวเปิดงาน กล่าวต้อนรับโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ …

Read More »

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการโครงการ U2T ตำบลตลาด

หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะดำเนินการภาคประชาชนและบัณฑิตจบใหม่  ดำเนินการภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้สำรวจพื้นที่ เก็บข้อมูล และตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น ประกอบด้วย อุณหภูมิ (Temperature)  ค่าความเป็นกรด-ด่าง  (pH)   ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) และค่าออกซิเจนละลาย (DO)   ในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา   โดยมีทั้งหมด  4 จุดตรวจวัด ได้แก่ หนองกระทุ่ม (ชุมชนโพธิ์ศรี)  ห้วยคะคาง กุดนางใย และคลองสมถวิล  เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า ทั้งสามตัวแปร ได้แก่ อุณหภูมิ (Temperature) …

Read More »

ประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย

  วันนี้ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ENV 106  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ได้จัดงานประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย โดยมี  รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ ผู้เดินทางเข้าร่วมประชุม โดยมี 1.ดร.ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร ตำแหน่งกรรมการบริหารเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย 2.นายรัฎชพงศ์ ไชยเดช ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 สิงหาคม 2565

Read More »

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนในการประกวดในโครงการ American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) Symposium

ในระหว่างวันที่ 20-23 ก.ค. ที่ผ่านมา  ทีมเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผ่านการอบรมในโครงการ   American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) โดยเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565 ณ Mahasarakham University American Corner คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทั้งนี้ มี 3 ทีมเยาวชน ที่เป็นผู้แทนประกวดผลงานและผ่านคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ACAQLE Symposium ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565  ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่  ประกอบด้วย 1.การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่าย จากดาวเทียม Sentinel-5P ด้วยวิธีการถดถอยแบบป่าสุ่ม นายสุรศักดิ์ …

Read More »

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดันการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ เพื่อพัฒนาต้นแบบองค์กรธุรกิจชุมชน ด้วยความร่วมมือสหวิทยาการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ในฐานะหัวหน้าโครงการ ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะการบัญชีและการจัดการ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเทศบาลตำบลขามเรียง เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักวิจัย บุคลากร และนิสิต ในการผลักดันพื้นที่ตำบลขามเรียง  ให้สามารถนำเอาทรัพยากรชีวภาพ ภูมินิเวศ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น มาสร้างเป็นอัตลักษณ์ที่จะเป็นจุดแข็งสู่จุดขายที่เชื่อมกับแผนพัฒนาท้องถิ่น ทั้งระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด  ผ่านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ทั้งนี้ ได้จัดพิธีเปิดโครงการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model)  เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการเชิงรุกขึ้น โดยได้พิจารณา วิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติขามเรียง (คุณสุชญา โคตรวงษ์ เป็นประธาน) …

Read More »

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี  ชั้นปีที่ 3  (ปีการศึกษา 2564)  ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ  ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ  และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ  เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา  โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ  ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์  ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์  เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต  การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค  และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก  ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์  นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ   ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …

Read More »

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม

นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมฯ สำรวจพื้นที่และถ่ายทอดความรู้การขยายอีเอ็ม เพื่อใช้ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม  เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา นิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้สำรวจพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม บ้านมะกอก ต.ขามเรียง  โดยมีผู้แทนชุมชนร่วมดำเนินการ  ปัจจุบัน ระดับน้ำลดลงจากเดิมจากการเร่งสูบน้ำและไม่มีน้ำมาสบทบ  แต่หลายครัวเรือน ยังเผชิญปัญหาเรื่องกลิ่น การท่วมขังในบางพื้นที่  ความจำเป็นต้องฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร และการเพาะปลูกผักเพื่อเลี้ยงชีพ  เพื่อฟื้นคืนสภาพปกติให้เร็วที่สุด อีกทั้งบางครัวเรือน ยังไม่สามารถเข้าไปบริเวณบ้านของตนเองได้  จึงเป็นโจทย์ปัญหาท้องถิ่น ที่ทำให้นิสิตของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ต้องพัฒนาตนเอง โดยจากองค์ความรู้จากการจัดการเรียนและการสอน เพื่อร่วมเรียนรู้และ ถอดบทเรียนจากสถานการณ์จริง และสะท้อนเป็นชุดข้อมูลเพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ  โดยได้พัฒนาตนเองในการนำเอาเทคโนโลยีท้องถิ่น ซึ่งคือ หัวเชื้ออีเอ็ม ที่ได้ทำการขยายแล้ว ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน โดยอีเอ็มเอง  สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้ในหลายวัตถุประสงค์ ทั้งการลดปัญหากลิ่น การบำบัดน้ำ การย่อยสลายสิ่งสกปรกในสภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม การใช้ประโยชน์ในแง่การเกษตร และการเป็นหัวเชื้อสำหรับการทำน้ำหมักชีวภาพ จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน รวมถึงมีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก ชุมชนสามารถทำได้เอง เทคโนโลยีนี้ ได้รับความสนใจจากชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีการนำไปใช้อยู่แล้ว  แต่ส่วนที่ทำไว้ได้ถูกน้ำพัดพาไปและเสียหายจากภัยน้ำท่วม  ด้วยเหตุนี้ การมอบหัวเชื้อน้ำอีเอ็มขยายให้กับชุมชน …

Read More »