Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-วิจัย (page 2)

กิจกรรม-วิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  บูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรม “การเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและการขยายผล เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนตำบลตลาด โดยใช้กลยุทธ์อัตลักษณ์ชุมชน”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  และการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยได้นำร่องการพัฒนากลไกพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโพธิ์ศรี 1  โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน หรือ DNA เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม  โดยมี นายกมล ตราชู รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

เปิดโลกทัศน์และมุมมอง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสในสายงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

เปิดโลกทัศน์และมุมมอง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสในสายงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 

ในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาดูงาน ประจำปีการศึกษา 2566  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ  สำรวจโอกาสและทักษะทางวิชาชีพ เชื่อมโยงทฤษฎีกับสาระที่หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนกับการปฏิบัติในบริบทการทำงานจริง ครอบคลุมถึงการรวบรวมประเด็น เพื่อปรับปรุงสาระรายวิชาของหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดรับกับโจทย์ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน  อีกทั้งช่วยให้เข้าใจรูปแบบองค์กรและวัฒนธรรมทางธุรกิจ และเป็นข้อมูลในเลือกอาชีพตามความสนใจของนิสิต  และแสวงหาโอกาสในการบูรณาการความร่วมมือด้านวิจัยและบริการวิชาการของหลักสูตรในอนาคต ตลอดจนการฝึกประสบการณ์ของนิสิต โครงการนี้ มีคณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 เข้าร่วม โดยสถานที่ศึกษางาน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง ในประเด็นที่ท้าทาย ได้แก่  อุตสาหกรรมการรีไซเคิล ประเภทอลูมิเนียม  การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ   การกำจัดขยะอันตรายและขยะติดเชื้อและเทคโนโลยีในการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด  การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมและการจัดการ   ข้อร้องเรียน อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและคาร์บอนเครดิต การบริหารจัดการโครงการท่าเรือมาบตาพุด เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการวิจัยด้านสัตว์ทะเล ผลกระทบของมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้ ยังส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งด้านสัมพันธภาพที่ดีด้านสายอาชีพระหว่างนิสิตปัจจุบันและรุ่นพี่ศิษย์เก่า  ซึ่งเป็นกลไกในการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และพัฒนาตนเองให้เติบโตในสายอาชีพที่มั่นคง ขอขอบคุณ บริษัท …

Read More »

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก ในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยิสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาดูงานสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 นิสิต ได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ โดยเก็บขยะที่ชายหาดนางรำ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากกิจกรรม  พบว่า มีขยะจำนวนมาก  โดยเฉพาะพลาสติก ซึ่งมีที่มาจากการทิ้งขยะบนบกและการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง โดยนักท่องเที่ยวไม่มีความตระหนักถึงผลกระทบต่อชีวิตทะเลและระบบนิเวศทางทะเล เช่น การเสียชีวิตของสัตว์ทะเลจากขยะพลาสติก และการเกิดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในระบบอาหารที่มีมนุษย์เป็นผู้ได้รับผลกระทบเอง หากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง  โดยเทกองไว้ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 1.0388 kgCO2eq/กิโลกรัมของขยะ โดยการจัดการขยะที่ถูกต้องตามสุขาภิบาล สามารลดการปล่อยเหลือ 0.7933 kgCO2eq/กิโลกรัมของขยะ และหากมีการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล ก็จะสามารถลดการปล่อยได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าของขยะและลดผลกระทบได้ ทั้งนี้ หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ จำเป็นต้องกำหนดมาตรการจัดการขยะที่เน้นให้ผู้มีส่วนได้เสียร่วมดำเนินการและกำหนดเป้าหมาย เช่น การลดขยะต้นทาง การให้ความรู้  การคัดแยกขยะ และการแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มมูลค่า  เพื่อผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวิงนิเวศอย่างยั่งยืน  กิจกรรมนี้ …

Read More »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface)

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ Center for Global Field Study; and WaNPRC, University of Washington, USA ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface) ขึ้นในระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมี ผศ.ดร.เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และรศ.ดร.ธวัดชัย ธานี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ในปีนี้ เป็นการจัด Annual Field Course …

Read More »

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม ในวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ชู Soft Power เป็นกลไกสร้างการเรียนรู้สู่การรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยนายอนันต์ บุญมาชัย และนางสาวศศิณัฎฐ์ ศรีบุญเรือง นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการทักษะที่ตนเองรักและมีความเชี่ยวชาญ  สู่การบูรณาการและถ่ายทอดในรูปแบบท่าฟ้อนรำ ในบทเพลง 12 อัตลักษณ์เมืองมหาสารคามที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด พร้อมด้วยผู้แทนนิสิตของหลักสูตรฯ ที่ได้บูรณาการในรายวิชา 1705353 เทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดของเสียอันตราย เพื่อเสริมทักษะการบ่งชี้วัตถุอันตราย สารเคมี และของเสียอันตรายในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน  โดยการสนับสนุนจากโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม    จ.มหาสารคาม  ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือหลายศาสตร์ ซึ่งมี ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณากา  เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ เสริมพลังเทศบาลนครพิษณุโลกและการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี้เลี้ยง เพื่อพัฒนาเมืองยืดหยุ่น (City Resilience)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566  ณ ห้องประชุมจุฬามณี 1 สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก จ.พิษณุโลก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) มหาวิทยาลัยนเรศวร (โครงการ SECRA และ โครงการ FOUNTAIN ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรม ERASMUS+ จาก EU) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR)  ในฐานะวิทยากรกระบวนการ  ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การบูรณาการสู่การสร้างเมืองยืดหยุ่น (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” สำหรับผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก โดยมี  นางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน และในกิจกรรม ประกอบด้วย  การกล่าวปฐมบท  “บทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการกับการพัฒนาเมืองสู่เมืองที่ลดความเสี่ยงภัยอย่างยั่งยืน”  โดย …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต้อนรับคณะกรรมการประเมินด้วยอัตลักษณ์ของอำเภอนาเชือก 

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ในการดำเนินโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม  จับมือกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาคท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  เทศบาลตำบลนาเชือก  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก  หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก   สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองแสง กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลพลังแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) และไร่นาสวนผสม  ได้ร่วมกันต้อนรับคณะกรรมการประเมินโครงการ ประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) …

Read More »

เสริมศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยระบบมาตรฐานสากล

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566  ที่ผ่านมา  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม  ร่วมต้อนรับนางวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อนำที ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม พร้อมด้วยคณะผู้บริหารวิสาหกิจ โดยมี รศ.ดร.สมศักดิ์ นวลแก้ว ผู้จัดการโรงงานฟาร์มแคร์ ฟาร์มาซูติคอล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมต้อนรับ ให้คำปรึกษา คำแนะนำ ตลอดจนเอื้อเฟื้อการเยี่ยมชมโรงงานผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อเตรียมความพร้อมวิสาหกิจชุมชนให้สามารถนำไปบริหารจัดการองค์กรธุรกิจชุมชนในด้านการผลิตได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานต่อไป  ภาพและข่าว :  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส/ ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 21 สิงหาคม 2566

Read More »

ซีแมร์ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พัฒนาสื่อนวัตกรรมเพลง“ลำเพลินภัยพิบัติ” เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมชุมชน 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ซึ่ง ดร.ธายุกร พระบำรุง เป็นผู้อำนวยการ ร่วมกับภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยอาจารย์สราวุฒิ สีหาโคตร พร้อมด้วยคณะอาจารย์และนักศึกษา ได้พัฒนาสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ เพลง “ลำเพลินภัยพิบัติ” https://www.youtube.com/watch?v=dzkljMqNMi0  เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนเชิงบูรณาการแบบองค์รวมสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น ภายใต้โครงการ MRC2030 กรณีจังหวัดมหาสารคาม  โดยมีเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นเมืองนำร่อง และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทั้งนี้ ได้มีจัดทำแบบสำรวจประสิทธิภาพของการสื่อสาร ผ่านสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ออนไลน์ โดยสำรวจระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน …

Read More »

เสริมพลังเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วยภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากต้นเชือกหรือรกฟ้า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ  และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ขึ้น โดยมีนายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และมีภาคีเครือข่ายจากหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย  ผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก พัฒนาการอำเภอยางสีสุราช นายกเทศบาลตำบลนาเชือก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก นายกสมาคมส่งเสริมผ้าไทย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านหนองทิศสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านห้วยทราย  ผู้แทนโรงเรียนบ้านหนองแสง และได้พัฒนากลไกที่จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ  หัวข้อ “มุมมองและแนวทางการทำสวนผักด้วยระบบอินทรีย์เพื่อสนับสนุนอาหารปลอดภัยและแหล่งรายได้ของชุมชนในพื้นที่อำเภอนาเชือก  โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ …

Read More »