เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเอง ผ่านการบูรณาการการจัดการเรียนและการสอนในรายวิชา 1705442 การวิเคราะห์ขีดความสามารถและความเปราะบางที่เสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งต้องสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึก วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยของเทศบาลเมืองมหาสารคามและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขวาไร่ ภายใต้กิจกรรม “ท้องถิ่นพร้อมใจรับมือภัยพิบัติ” ที่เกิดจากการความร่วมมือของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หน่วยวิจัยพัฒนานโยบายสาธารณะ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน วิทยาลัยการเมืองการปกครอง และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีเทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำบลเขวาไร่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐและส่วนราชการในพื้นที่อำเภอกันทรวิชัย นายอำเภอกันทรวิชัย นักวิจัย และนิสิต เข้าร่วม โดยรูปแบบการจัดกิจกรรมเป็นแบบ Hybrid ประกอบด้วย การดำเนินการ ณ ห้องประชุมของเทศบาลเมืองมหาสารคาม และผ่านระบบ Zoom Meeting ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก United Nations Office for …
Read More »CMARE ชูแพลตฟอร์มดิจิทัลหนุนการจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) โดยแนวทางสหวิทยาการ
หน่วยงานปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อแบ่งปันและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งของท้องถิ่นในการวางแผนและจัดการฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เป็นปัญหาระดับชาติที่หลายพื้นที่เผชิญอยู่ โดยการนำเอาแพลตฟอร์มดิจิทัลนำร่องที่ได้พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์และคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผ่านการจัดการเรียนและการสอน ซึ่งประกอบด้วย 3 โมดูล ได้แก่ การเฝ้าระวัง (ท้องถิ่น สามารถรับรู้สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ของตนเองจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และสามารถประเมินสมรรถนะในด้านต่าง ๆ เพื่อยกระดับตนเองให้พร้อมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) การปลดปล่อย (ท้องถิ่น สามารถคำนวณการปลดปล่อยของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ได้จากข้อมูลจากการแบ่งปันของหน่วยงานภาครัฐระดับจังหวัด) และยุทธการจัดการ (ประกอบด้วย องค์ความรู้ท้องถิ่นจากงานวิจัยแต่ละศาสตร์ ชุมชนต้นแบบที่สามารถบริหารจัดการตนเองเพื่อลดการเผาได้ มาตรการทางกฎหมายที่ท้องถิ่นสามารถใช้เป็นกลใกในการบริหารจัดการพื้นที่ของตนเอง และสื่อสร้างสรรค์ที่พัฒนาจากศาสตร์ต่าง ๆ ช่วยสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และสื่อสารข้อมูลที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้) ทั้งนี้ หน่วยงานปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) พร้อมให้การสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อบูรณาการความร่วมมือและเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันการบรรลุตัวชี้วัดในแผนพัฒนาท้องถิ่น/แผนปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน ทั้งการจัดอบรม ในรูปแบบ Onsite และ Online โดยผู้สนใจ …
Read More »“The Plastic Bags” จากขยะจากเราสู่การเขยิบเพื่อโลก โดยกลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา กลุ่ม Youth for Changes MSU หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม นำโดย นางสาวพิมพ์ชนก คงวัฒน์ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ได้ผนึกพลังเยาวชนหลายคณะ เพื่อจัดกิจกรรม “The Plastic Bags” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของของเยาวชนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการลดการใช้และเพิ่มมูลค่าถุงพลาสติก รวมถึงการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ โดยใช้แนวทาง Upcycling (กระเป๋าสะพายจากถุงพลาสติกใช้แล้ว) ที่สอดรับกับ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและอาจารย์หลักสูตร เข้าร่วมงาน โดยกิจกรรมนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) สถานทูตสหรัฐอเมริกา (The …
Read More »CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน
CMARE นำเอาอัตลักษณ์ตำบลและชุมชน เพื่อขับเคลื่อนในการพัฒนาเมืองมหาสารคามอย่างยั่งยืน ในวันที่ 17 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยฯ ได้จัดกิจกรรมสะท้อนบทเรียนการดำเนินการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองตำบลตลาดอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยมีนางพิชชาภัสร์ ธีรศาสตรานนท์ รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธาน และรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวรายงาน กิจกรรมนี้ อยู่ในโครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ภายใต้ชื่อโครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ …
Read More »ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่ได้ทุนอุดหนุนตามแผนการดำเนินงาน ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน (แพลตฟอร์มเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน Building Community Enterprise: BCE) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) วิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม (ลำดับ 40) โดยบูรณาการความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ คณะการบัญชีและการจัดการ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ >>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 มกราคม 2566
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมอบรม ผ่านเครือข่าย TNDR และ UNDRR “ก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์”
เมื่อวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 นี้ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้เป็นผู้แทนในการเข้าร่วมอบรมเชิงวิชาการหัวข้อ “ท้องถิ่นกับการบริหารจัดการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และ Making Cities Resilience 2030 (MCR2030)” ณ โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน โฮเทล แอนด์ ทาวเวอร์ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการ ภายใต้ความร่วมมือของเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience หรือ TNDR) กับองค์การสหประชาชาติ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจเรื่องการสร้าง Resilience ของท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนบริหารจัดการและการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคี พร้อมแนะนำ MCR2030 แนวคิดและเครื่องมือสำหรับการก่อร่างสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ตลอดจนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน …
Read More »บ้านไหมขามเรียง: วิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นองค์กรธุรกิจตามแนวทางการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการทั้งภายในและต่างคณะ และหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งมุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นวัตถุดิบสำหรับการย้อมสีธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างอัตลักษณ์และสะท้อนผ่านตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แทรกแนวคิดการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecodesign) ซึ่งเน้นการลดการใช้พลาสติก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านการตลาด โดยได้จัดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ผู้สนใจ สามารถทำความรู้จักองค์กรธุรกิจแห่งนี้ ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/watch/?v=621046442765838 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565
Read More »ประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย
วันนี้ 15 สิงหาคม 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ENV 106 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดงานประชุม เครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทยในการอุปถัมภ์ของมูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบัติในประเทศไทย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมฯ เป็นประธานในการกล่าวต้อนรับ ผู้เดินทางเข้าร่วมประชุม โดยมี 1.ดร.ปิยวัฒน์ ขนิษฐบุตร ตำแหน่งกรรมการบริหารเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย 2.นายรัฎชพงศ์ ไชยเดช ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย และคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 สิงหาคม 2565
Read More »นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นตัวแทนในการประกวดในโครงการ American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) Symposium
ในระหว่างวันที่ 20-23 ก.ค. ที่ผ่านมา ทีมเยาวชนจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ผ่านการอบรมในโครงการ American Corners Air Quality Learning Empowerment (ACAQLE) โดยเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2565 ณ Mahasarakham University American Corner คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งนี้ มี 3 ทีมเยาวชน ที่เป็นผู้แทนประกวดผลงานและผ่านคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ACAQLE Symposium ระหว่างวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ประกอบด้วย 1.การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่าย จากดาวเทียม Sentinel-5P ด้วยวิธีการถดถอยแบบป่าสุ่ม นายสุรศักดิ์ …
Read More »ศึกษาดูงานระบบการผลิตน้ำประปา ณ เทศบาลตำบลหนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา คณาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม (อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง ผศ.ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ และ อ.ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ) พร้อมด้วยคณะดำเนินการผลิตน้ำประปาชุมชน จำนวน 4 ท่าน จากบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลหนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นเครือข่ายด้านการบริหารจัดการการผลิตน้ำประปาที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คณะดำเนินการผลิตน้ำประปาชุมชน ได้นำเอาประเด็นปัญหาในการผลิตน้ำประปา มาหารือ แลกเปลี่ยน และค้นหาแนวทางร่วมกับที่สอดรับกับบริบทปัญหาของพื้นที่บ้านปลาบู่ ตลอดจนคณาจารย์ ได้พัฒนาตนเอง และสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานภาคท้องถิ่น รวมถึงได้นำเอาบทเรียนการศึกษาดูงาน ไปบูรณาการในจัดการเรียนและการสอนในรายวิชาเกี่ยวกับน้ำประปา ที่มุ่งเน้นให้นิสิต ได้มีมุมมองในการประยุกต์จริงในสายอาชีพ ทั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการร่วม ระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ (หัวหน้าโครงการ) และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เรื่อง “การพัฒนาศักยภาพพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม …
Read More »