คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ภายใต้พันธกิจของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในการผลักดันการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งอาศัยความร่วมมือสหวิทยาการ ได้ต่อยอดหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้บริบทพื้นที่อำเภอนาเชือกเป็นฐานในการสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์และจะขยายไปยังโรงเรียนเครือข่าย ในรูปภาพยนตร์สั้น “วัดเถอะนะทำ” ภายใต้ความร่วมมือกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีกลุ่มคนรักนาเชือก ซึ่ง ดร.ปราณี รัตนธรรม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เป็นประธานกลุ่มฯ และให้การสนับสนุนจากพลังเครือข่ายชุมชน โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ นับเป็นเรื่องแรก ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ที่นำเสนอภูมินิเวศที่เป็นจุดแข็งของพื้นที่อำเภอนาเชือก รวมถึงศักยภาพในมิติต่าง ๆ ที่จะยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งเที่ยวเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม ผ่านการขับเคลื่อนจากองค์ความรู้ด้านวิจัย การบริการวิชาการ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม และการพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นวิกฤติในปัจจุบัน ที่สอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมหาสารคาม ที่ครอบคลุมประเด็น ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและองค์รวม รวมถึงการบูรณาการในแผนการพัฒนาท้องถิ่นในระดับตำบล ทั้งทิศทางการพัฒนาพื้นที่ การสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับท้องถิ่น ความต่อเนื่องของการดำเนินการ จนเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและเป็นไปอย่างยั่งยืน (http://www.msu.ac.th/msumagaz/smain/readpost.php?mid=268&fbclid=IwAR3f-BaBgrG0DgRNtzm9Hn_iJ9oDGYIFp32RKl3hlYnZa0Fi7332i7PIY1o) สำหรับภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ จะถูกฉายรอบปฐมทัศน์ ในวันศุกร์ที่ 15 …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ส่งเสริมการสร้างศักยภาพของเยาวชนตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ ผ่านกิจกรรมของหน่วยปฏิบัติการวิจัย
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ขับเคลื่อนผ่านเครือข่ายชุมชน ในการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ผ่านกิจกรรมในหลักสูตรท้องถิ่นสหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ต่อเนื่องปีที่ 2 โดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ผนวกกับภูมิปัญญา เชื่อมโยงกับภูมินิเวศ ต่อยอดสู่การเพิ่มมูลค่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งคือ สบู่สมุนไพรรกฟ้า (ต้นเชือก) เป็นสัญลักษณ์ของนาเชือก ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ ทั้งนี้กลุ่มนักเรียน จะพัฒนาทักษะด้านการทำการตลาดและการบริหารจัดการเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ โดยใช้เพจที่จะถูกสร้างขึ้น โดยอาศัยการบริหารและจัดการในรูปของกลุ่มนักเรียน ที่ได้แบ่งบทบาทหน้าที่กัน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะด้านอาชีพและทักษะวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ การจำหน่าย จะเป็นแหล่งรายได้เสริมให้กับครอบครัว รวมถึงเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกผ่านผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในรูปของฝาก หรือของที่ระลึกที่มีเรื่องราวเชิงพื้นที่ ที่มา: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ภาพ: โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เผยแพร่โดย : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง/ชลทิตย์ …
Read More »ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “หลักเกณฑ์การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบ้ับที่ 2) พ.ศ.2564
>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 14 ตุลาคม 2564
Read More »ขอแสดงความยินดีกับครูและนักเรียน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์
เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับนายกิตติทัต พูนมณี นายชานนท์ สงแดง นางสาวพรธีรา ประทุมมา และนางสาวสิรินทิตย์ พาบุ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ กลุ่มตัวแทนบริษัทสร้างการดีโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง ในการเข้าร่วมการแข่งขันกิจกรรมบริษัทสร้างการดีในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปี 2564 ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ทั้งนี้ สบู่สมุนไพรรกฟ้า ซึ่งได้เกิดการพัฒนาความรู้และทักษะของนักเรียน ให้เข้าใจต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นสู่การเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบในท้องถิ่นที่เชื่อมกับภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและภูมินิเวศของนาเชือก จนได้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น มีเรื่องราว และพร้อมจำหน่าย และขอแสดงความยินดีกับกลุ่มตัวแทนบริษัทสร้างการดี ประกอบด้วย นางสาวสุวพิชญ์ ทบภักดิ์ นางสาวศรัญญา สมศรีตา นางสาว ณัชชา ตะทาดวง และนางสาวพรธีรา ประทุมมา ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งขันการประกวดคลิปวิดีโอ “คนรุ่นใหม่ใส่ใจรักษาภูมิปัญญาวัฒนธรรม” …
Read More »มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง
มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง .#กดHD #ข่าว #NEWS #มมส #MSU #ข่าวมมส #MSUNEWS #มหาวิทยาลัยมหาสารคาม #ข่าวมมส2564 ผลิตโดย : ฝ่ายข่าว กลุ่มงานประชาสัมพันธ์และมวลชนสัมพันธ์ กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสมาชิกในชุมชนท่าขอนยาง เข้าร่วม ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านท่าขอนยาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 …
Read More »มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง
มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง วันนี้ (2 ตุลาคม 2564) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสมาชิกในชุมชนท่าขอนยาง เข้าร่วม ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านท่าขอนยาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โครงการ “รูปแบบการจัดการขยะ ในชุมชนและการพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จัดประชุม เพื่อวิพากษ์ ตรวจสอบข้อมูลและ ติดตามผลการดำเนินงานในระบบบริหารยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (KPI) ระดับคณะ รอบ 12 เดือน
วันนี้ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดประชุม เพื่อวิพากษ์ ตรวจสอบข้อมูลและ ติดตามผลการดำเนินงานในระบบบริหารยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (KPI) ระดับคณะ รอบ 12 เดือน โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุนเข้าร่วมประชุม โดยพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุมคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และประชุมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้ดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สูงสุดในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ 34) ภาพการประชุม : ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 1 …
Read More »คณบดี คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมงานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564
มมส จัดงานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ (30 กันยายน 2564) รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมงานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ประจำปี 2564 เพื่อเป็นการมุทิตาแด่ผู้เกษียณอายุราชการ ยกย่อง เชิดชูเกียรติและแสดงความขอบคุณแก่ผู้เกษียณอายุราชการที่ได้ร่วมปฏิบัติราชการ และได้สร้างผลงานที่มีประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ประจำปี 2563 ซึ่งเป็นผู้เกษียณอายุราชการ ได้แก่ นางสาวชูพักตร์ สุทธิสา ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ นายทศพร ปอศิริ ตำแหน่ง นักวิชาการช่างศิลป์ชำนาญการ สังกัดสำนักวิทยบริการ จากนั้น อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานมอบแหวนทองคำที่ระลึก และกล่าวแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้เกษียณอายุราชการ โดยในปีนี้ มีบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่เกษียณอายุราชการ จำนวน 24 …
Read More »CMARE ร่วมบูรณาการความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรบ้านปลาบู่ เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้ร่วมสะท้อนบทเรียนการดำเนินงาน ในการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรบ้านปลาบู่ เพื่อการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่สอดรับกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) เป้าที่ 13 ในโครงการการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งนำทีม โดยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบส่วนของข้อมูลการใช้น้ำ คุณภาพน้ำ และการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกิจกรรมด้านการเกษตร ประกอบด้วยข้อมูลบทเรียนของชุมชน ความต้องการของชุมชน และข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพน้ำ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการปรับตัวที่สอดรับกับข้อจำกัดของพื้นที่นี้ รวมถึงความพยายามที่จะพัฒนาศักยภาพของเยาวชนสู่การเป็นยุวนักสืบสายน้ำ เพื่อเป็นต้นกล้าให้กับท้องถิ่น นอกจากยังได้มอบโปสเตอร์ระบบการจัดการขยะเขิงบูรณาการ ภาคครัวเรือน ให้กับผู้นำชุมชน ซึ่งได้เชื่อมโยงถึงการคัดแยกเศษอาหาร เพื่อเป็นวัสดุในการทำน้ำหมักและปุ๋ยหมัก สำหรับใช้ในการทำเกษตร และปูโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาสู่การเป็นชุมชนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เป็นไปอย่างยั่งยืนต่อไป ข่าว: …
Read More »สร้างบทเรียนให้กับท้องถิ่น โดยพลังเยาวชนและชุมชน สู่การฟื้นแผ่นดินเพื่อการทำสวนผักริมอ่างห้วยค้อ
เครือข่ายนักวิจัยสหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดยมีคุณวิลาวรรณ พิพัฒน์ชัยกร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของพี่น้องเกษตรกรบ้านหนองแสง บ้านเห็ดใคร และบ้านห้วยหลาว ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เพื่อรองรับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (พัทยา1 และ 2) และส่งเสริมวิถีชีวิตการเกษตรริมอ่าง ที่พึ่งพาธรรมชาติ และโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ โดยครูรัชนี เปาะศิริ ได้ขยายการจัดการเรียนและการสอน ในหลักสูตรท้องถิ่น สหวิทยาการ เพื่อการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3 มิติ (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม) ให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นกลุ่มนำร่องที่มีความสนใจและพร้อมพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาท้องถิ่น ที่ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้เครื่องมือตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสื่อสร้างการเรียนรู้ ในการตรวจสอบคุณภาพดินเบื้องต้นหรือนาฬิกาดิน โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ …
Read More »