Breaking News
Home / ข่าว / คณะสิ่งแวดล้อมฯ สนับสนุนการบริการวิชาการตามความต้องการของหน่วยงานแบบให้เปล่า

คณะสิ่งแวดล้อมฯ สนับสนุนการบริการวิชาการตามความต้องการของหน่วยงานแบบให้เปล่า

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ตระหนักถึงความสำคัญในการให้บริการตามความต้องการของหน่วยงาน/ชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ด้านความรู้และทักษะ ผ่านการจัดการความรู้  เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับต้นทุนของพื้นที่และหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)  จึงได้จัดสรรงบประมาณ 20,000 บาท ไว้เพื่อรองรับการสนับสนุนหน่วยงานและชุมชน ที่มีความต้องการขอรับการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะกลุ่ม/หรือตามที่แจ้งความประสงค์ ผ่านการดำเนินการของศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/บริการวิชาการ สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประกอบด้วย 1) ศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ศูนย์วิจัยนานาชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง 3) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสิ่งแวดล้อมศึกษา 4) ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน 5) ศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม 6) ศูนย์บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม 7) ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ8) หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทาและการปรับตัว  ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวรัสชญาน์ ปุราถานัง เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการของคณะฯ เบอร์โทร  043-754435 อีเมล researchinfo.fers@msu.ac.th

ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์  สีเทา

ณ วันที่ : 25 ธันวาคม 2562

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *