Breaking News
Home / ข่าว / ภาพและข่าวกิจกรรมโครงการ “การทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก ( MSU No Plastic ) รณรงค์บุคลากร นิสิต พกถุงผ้า ซื้อสินค้า”

ภาพและข่าวกิจกรรมโครงการ “การทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก ( MSU No Plastic ) รณรงค์บุคลากร นิสิต พกถุงผ้า ซื้อสินค้า”

1

ม.มหาสารคาม ผุดแคมเปญ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก ( MSU No Plastic ) รณรงค์บุคลากร นิสิต พกถุงผ้า ซื้อสินค้า

เป็นที่ทราบกันดีว่า การใช้ถุงพลาสติกเพียง 1 ใบ ต้องใช้เวลาการย่อยสลายทั้งหมด 450 ปี ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเริ่มรณรงค์และลงมือปฏิบัติจริง ให้ทุกคนตระหนักความสำคัญเรื่องภาวะโลกร้อนมากขึ้น ในวันนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ผุดแคมเปญ ทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก ( MSU No Plastic ) รณรงค์ในการลดจำนวนถุงพลาสติกในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมกับเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้ นิสิต บุคลากร คณาจารย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เล็งเห็นความสำคัญในการหันมาใช้วัสดุทดแทนถุงพลาสติก

วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2562) ที่บริเวณตลาดน้อย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร. ประยุกต์ ศรีวิไล ผู้รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มลฤดี เชาวรัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนา นำผู้บริหาร บุคลากร นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จาก 20 คณะ ร่วมในกิจกรรมแถลงข่าวรณรงค์โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก ( MSU No Plastic )

โครงการ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก หรือ MSU No Plastic ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายมหาวิทยาลัยในเรื่องสิ่งแวดล้อม เกิดจากการคิดออกแบบกิจกรรมร่วมกันของผู้นำนิสิตทั้ง 20 คณะ มีเป้าหมายหลักสำคัญเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากร และนิสิตในการลดจำนวนถุงพลาสติกในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมกันใช้วัสดุทดแทนถุงพลาสติก สร้างความสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ทั้งยังเป็นการณรงค์ปลูกฝังการสร้างจิตสำนึกที่ดีแก่สังคมให้เกิดขึ้น

รองศาสตราจารย์ ดร. ประยุกต์ ศรีวิไล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากพลาสติกที่กลายเป็นขยะตกค้าง ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ป่าไม้ ทะเล และบรรดาสัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ดำเนินมาตรการเชิงรุกที่จะเกิดขึ้น ประกอบด้วย การลดการใช้ถุงพลาสติกในวันอังคาร และพฤหัสบดี โดยเชิญชวนให้ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนิสิตงดรับถุงพลาสติก และนำถุงผ้ามาใช้แทน รวมถึงเชิญชวนให้ร้านค้างดแจกถุงพลาสติกด้วย ซึ่งคาดหวังว่าในปีหน้า มมส ของพวกเรา จะลดการใช้ถุงพลาสติกทุกวัน
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่นิสิต อาจารย์ และบุคลากร มมส ร่วมกันคิด ร่วมกันผนึก กำลังเพื่อขับเคลื่อนมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งครั้งนี้ เราจะมีการแจกถุงผ้าแก่บุคลากร และนิสิต มีสติกเกอร์ติดให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์เชิญชวนไปยังผู้บริหารบุคลากร และนิสิตจากทุกคณะได้ร่วมรณรงค์ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก ในมหาวิทยาลัยและในชีวิตประจำวันของทุกคน

ด้าน นายจิระเดช ประกิ่ง นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า โดยส่วนตัว ได้มองเห็นปัญหาขยะพลาสติกเป็นเรื่องน่าหนักใจ และก็ได้มีวิธีที่เริ่มต้นจากตัวเองก่อน ในการลดขยะ ลดพลาสติก โดยการนำถุงผ้ามาใช้แทนถุงพลาสติก ซึ่งพกถุงผ้าทุกวัน ใช้ทุกวันให้เกิดความเคยชิน และแนะนำ บอกต่อเพื่อนๆ ด้วย นอกจากนี้ การใช้ขวดน้ำ แก้วน้ำ กล่องอาหาร ที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ ก็เป็นเรื่องที่ดีที่สามารถทำได้ ปฏิเสธอุปกรณ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น หลอด ช้อน ส้อม พลาสติก รวมทั้งใช้ผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ ขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการรักษ์โลก รักษาสิ่งแวดล้อม เริ่มต้นที่ตัวเอง ก่อนจะขยายผลไปสู่สังคมในวงกว้างต่อไป

ภาพ : บุณฑริกา ภูผาหลวง และอภิราม ทามแก้ว
ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
ที่มา : กองกิจการนิสิต

 

41 40 39 38 37 36 35 34 33 32 31 30 29 28 27 26 25 24 23 22 21 20 19 18 17 16 15 14 13 12 11 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1

ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
ที่มา : กองกิจการนิสิต

>>>ข่าวเพิ่มเติม<<<

เผยแพร่โดย : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 12 พฤศจิกายน 2562

 

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *