Breaking News
Home / ข่าว / คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมืองฯ

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมืองฯ


คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมืองฯ

วันนี้ (17 มกราคม 2566) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมสะท้อนบทเรียนการดำเนินการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาพื้นที่เมืองตำบลตลาดอย่างยั่งยืน โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้โครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง โดยมี นายภาคิน ติระพงศ์ไพบูลย์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์  สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นางพิชชาภัสร์  ธีรศาสตรานนท์  รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม นำองค์กรภาคท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมโครงการ ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์เทศบาลเมืองมหาสารคาม   

ดร.ธายุกร  พระบำรุง หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในวันนี้ ได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม และหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ออกแบบกิจกรรมให้สอดรับแผนการพัฒนาท้องถิ่นและเกิดประโยชน์ร่วมกัน  

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสะท้อนบทเรียนการดำเนินการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการปูพื้นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้กับองค์กรภาคท้องถิ่น ผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ  ที่จะเกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ที่สอดรับกับพันธกิจและแผนการพัฒนาท้องถิ่นและจังหวัดมหาสารคาม ครอบคลุม ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  ตลอดจนชุมชน เกิดความภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด ความตระหนักถึงคุณค่าและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรม ความเข้มแข็งของชุมชน และการอนุรักษ์และรักษาเพื่อเกิดประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่  

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์นำร่อง ได้แก่ ข้าวเม่า (ชุมชนโพธิ์ศรี1), ปลาร้าบอง (ชุมชนศรีสวัสดิ์2) ,หมี่กรอบ (ชุมชนสามัคคี1) และไข่เค็มสมุนไพร (ชุมชนโพธิ์ศรี2) พร้อมส่งมอบองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ตลอดจนการลงนามข้อตกลงของกลุ่มผู้ประกอบการเพื่อยกระดับสู่องค์กรธุรกิจชุมชนยั่งยืน

รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์  สิงห์สีโว กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว เป็นโครงการระยะสั้นที่ได้ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2565 และได้บูรณาการใช้ทุนท้องถิ่น ทั้งรากฐานความเป็นมาด้านประวัติศาสตร์ของเมืองมหาสารคาม ศิลปวัฒนธรรม อัตลักษณ์และภูมิปัญญาด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม ควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาตราผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์นำร่อง 12 ชุมชน บรรจุภัณฑ์ ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ข้อมูลท้องถิ่น สื่อประชาสัมพันธ์ และคู่มือการพัฒนาเรียนรู้ท้องถิ่น ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของตำบลตลาด  สถานที่ประวัติศาสตร์ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และอาหารพื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ผลิตภัณฑ์ชุมชน  และความรู้พื้นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ภาพ/ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
ที่มา : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / บุณฑริกา ภูผาหลวง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 18 มกราคม 2566

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด

โครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 5-16 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ อำเภออาจสามารถจังหวัดร้อยเอ็ด หลักสูตร วท.บ. สิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการภาคสนามสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *