Breaking News
Home / กิจกรรม : นิสิต / แผนที่เดินดิน “กินอยู่รู้ดี” แหล่งข้อมูลร้านค้า เมนูแนะนำ และการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม สู่ BCG Model

แผนที่เดินดิน “กินอยู่รู้ดี” แหล่งข้อมูลร้านค้า เมนูแนะนำ และการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม สู่ BCG Model

123694671_728925424642417_4263427141466383173_n

แผนที่เดินดิน  “กินอยู่รู้ดี” แหล่งข้อมูลร้านค้า  เมนูแนะนำ และการขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม สู่ BCG Model

หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ได้บูรณาการกิจกรรมการจัดการเรียนและการสอน ในรายวิชา 1705373  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับงานเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  สู่การบริการวิชาการเพื่อชุมชน  โดยได้สำรวจข้อมูลการให้บริการอาหาร/เครื่องดื่มและสถานะการจัดการสิ่งแวดล้อมของร้านค้ารอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 183 ร้าน  พร้อมทั้งรณรงค์การคัดแยกขยะ เพื่อสร้างมูลค่า และได้นำข้อมูลที่ได้ มาจัดทำเป็นแผนที่ดิจิทัล  “กินอยู่รู้ดี” เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค ในการเข้าถึงร้านค้า/เครื่องดื่มต่าง ๆ รอบๆ พื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการส่งเสริมการกระจายรายได้ไปยังภาคธุรกิจฐานราก  ผ่านการสื่อสารเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมของร้านอาหารไปยังกลุ่มผู้บริโภคทั้งบุคคลภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงการให้รายละเอียดการเดินทางไปยังร้านค้า โดยอาศัยข้อมูลจาก Google Map และการสนับสนุนการลดขยะ นอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนามุมมองนิสิต ในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในรูปแบบการบูรณาการมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจไปพร้อมกัน  ผู้สนใจ  สามารถใช้ประโยชน์จากแผนที่ดิจิทัลได้ที่นี้  https://bit.ly/36cC5Wl

911631911632

124114849_358486705257333_940368345300294154_n 124348328_700400144012754_6166283377277479970_n 124114849_358486705257333_940368345300294154_n 123741467_654385671940529_6488828179009966297_n

ข่าว: หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
ภาพ: นิสิต  หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 9 พฤศจิกายน 2563

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *