Breaking News
Home / กิจกรรม : นิสิต / ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน สนับสนุนโดยบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด

ผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของชุมชน สนับสนุนโดยบริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด

2

ขอแสดงความยินดีกับนายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ซึ่งทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในหัวข้อเรื่อง “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ภายใต้ความร่วมมือด้านวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวช และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มมส. และนางสาวพรลัดดา บุตตะโม และนางสาวอาทิตยา โสภณ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ซึ่งทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในหัวข้อเรื่อง “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม” ภายใต้ความร่วมมือด้านวิจัยกับสถาบันวิจัยวลัยรุกเวชและศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มมส.  โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ในส่วนการเก็บข้อมูลภาคสนามและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อท้องถิ่น จาก บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) จำนวน 50,000 บาท ภายใต้โครงการบริการวิชาการเพื่อชุมชน  หัวข้อเรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ภายใต้การบูรณาการความร่วมมือของคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  คณะวิทยาการสารสนเทศ  และคณะการบัญชีและการจัดการ  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม     ในเครือข่ายวิจัย CMARE  ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน  โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก เพื่อเป็นโครงการนำร่อง ในการยกระดับพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เป็นแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดมหาสารคาม

ข่าว ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 19 ธันวาคม 2562

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *