Breaking News
Home / Uncategorized / นิสิตแลกเปลี่ยน “การบริหารจัดการน้ำ โดยใช้แบบจำลอง SWAT” ณ ประเทศจีน

นิสิตแลกเปลี่ยน “การบริหารจัดการน้ำ โดยใช้แบบจำลอง SWAT” ณ ประเทศจีน

78926113_1047209568953069_2511517662895407104_n

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวสุภาภรณ์ พลทำ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนกลุ่มวิจัย  ในหัวข้อเรื่อง  “Application of SWAT Model to Investigate Runoff in Relation to Agricultural Land Changes: Case Study of Lam Takong River Basin”  ซึ่งได้ศึกษาร่วมกับ นายถิรวัฒน์   ตรีนัย ในหลักสูตรเดียวกัน ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  เพื่อไปพัฒนาศักยภาพด้านการทำการจำลองและรับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ณ Institute of Geographic Sciences and Natural Resources Research,  Chinese Academy of Sciences (CAS) ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2562 – มกราคม 2563  โดยการกำกับดูแลของ Associate Prof. Dr. Zhaofei Liu และ Prof. Guo-An Yu ภายใต้การสนับสนุนในโครงการวิจัยความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย เรื่อง “Impacts of the Changes in Regional Climate and Land Use on Water Quantity and Quality in the Mun River Basin” โดย NSFC (China) และ NRCT (Thailand) และได้รับการอนุเคราะห์ด้านข้อมูลและเทคนิคในการทำการจำลอง จากฝ่ายส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ทั้งนี้ นิสิต จะเป็นทุนทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ ในด้านการประยุกต์ใช้แบบจำลอง SWAT เพื่อการบริหารจัดการน้ำในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สำหรับรับมือกับภัยแล้งและน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น

ข่าว : ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่ : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 12 ธันวาคม 2562

 

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *