Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย (page 2)

กิจกรรม : งานวิจัย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หนุน Soft Power ที่เริ่มจากการปูโครงสร้างพื้นฐานเชิงบูรณาการ สู่การเศรษฐกิจชุมชน โดยอัตลักษณ์ชุมชน

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)  บูรณาการความร่วมมือกับคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม และเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรม “การเสริมศักยภาพองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารและการขยายผล เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนตำบลตลาด โดยใช้กลยุทธ์อัตลักษณ์ชุมชน”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดระบบการจัดการแหล่งวัตถุดิบและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนที่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมระบบการผลิตและสถานที่ผลิตให้สอดรับการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหารและเตรียมพร้อมสำหรับการขอการรับรอง อย. มีเอกลักษณ์ ดึงดูดลูกค้า และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน  และการแปรรูปและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าให้คงคุณภาพและสอดรับความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ โดยได้นำร่องการพัฒนากลไกพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนโพธิ์ศรี 1  โดยใช้อัตลักษณ์ชุมชน หรือ DNA เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม และหอการค้าจังหวัดมหาสารคาม  โดยมี นายกมล ตราชู รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.ธายุกร พระบำรุง …

Read More »

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก

หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมมือกันทำความสะอาดชายหาด เพื่อลดผลกระทบจากขยะพลาสติก ในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยิสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาดูงานสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2566 นิสิต ได้ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ โดยเก็บขยะที่ชายหาดนางรำ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากกิจกรรม  พบว่า มีขยะจำนวนมาก  โดยเฉพาะพลาสติก ซึ่งมีที่มาจากการทิ้งขยะบนบกและการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง โดยนักท่องเที่ยวไม่มีความตระหนักถึงผลกระทบต่อชีวิตทะเลและระบบนิเวศทางทะเล เช่น การเสียชีวิตของสัตว์ทะเลจากขยะพลาสติก และการเกิดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในระบบอาหารที่มีมนุษย์เป็นผู้ได้รับผลกระทบเอง หากไม่มีการจัดการอย่างถูกต้อง  โดยเทกองไว้ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ 1.0388 kgCO2eq/กิโลกรัมของขยะ โดยการจัดการขยะที่ถูกต้องตามสุขาภิบาล สามารลดการปล่อยเหลือ 0.7933 kgCO2eq/กิโลกรัมของขยะ และหากมีการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล ก็จะสามารถลดการปล่อยได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าของขยะและลดผลกระทบได้ ทั้งนี้ หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ จำเป็นต้องกำหนดมาตรการจัดการขยะที่เน้นให้ผู้มีส่วนได้เสียร่วมดำเนินการและกำหนดเป้าหมาย เช่น การลดขยะต้นทาง การให้ความรู้  การคัดแยกขยะ และการแปรรูปขยะเพื่อเพิ่มมูลค่า  เพื่อผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวิงนิเวศอย่างยั่งยืน  กิจกรรมนี้ …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน

เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566  ณ โรงเรียนบรบือ จ.มหาสารคาม  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ผู้แทนหน่วยงาน  ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นฐานและแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลุ่มเยาวชน  ในห้วข้อ  “ขยะ: โจทย์ที่ท้าทาย สำหรับคนรุ่นใหม่” ในโครงการ Garbage Hack with Isan Youth Leaders  ซึ่งมีนางสาวศุภลักษณ์ โสวรรณี  ครูโรงเรียนบรบือ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)  ภายใต้การสนับสนุนของ The Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) University of Nebraska Omaha U.S. Embassy และ  Mahasarakham University American …

Read More »

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface)

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ Center for Global Field Study; and WaNPRC, University of Washington, USA ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการศึกษาภาคสนามชีววิทยาทางการอนุรักษ์และสุขภาวะของโลก ครั้งที่ 12 (The 12th Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface) ขึ้นในระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม 2566 ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมี ผศ.ดร.เพ็ญแข ธรรมเสนานุภาพ และรศ.ดร.ธวัดชัย ธานี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ในปีนี้ เป็นการจัด Annual Field Course …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เสริมพลังชุมชนโพธิ์ศรี1 สู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับนักวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มผู้ประกอบการ (ปัจจุบัน คือ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม) และเทศบาลเมืองมหาสารคาม ดำเนินโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยชุมชนโพธิ์ศรี1  มีประวัติและความเป็นมาในการทำข้าวเม่าที่สืบสานมากกว่า 100 ปี เพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนที่ครบวงจร  โดยเน้นให้สอดรับกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี   (พ.ศ.2566-2570) ของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่ว่า “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” รวมถึงแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม  ในบทบาทในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ เสริมพลังเทศบาลนครพิษณุโลกและการพัฒนาเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี้เลี้ยง เพื่อพัฒนาเมืองยืดหยุ่น (City Resilience)

เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2566  ณ ห้องประชุมจุฬามณี 1 สำนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก จ.พิษณุโลก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) มหาวิทยาลัยนเรศวร (โครงการ SECRA และ โครงการ FOUNTAIN ภายใต้การสนับสนุนของโปรแกรม ERASMUS+ จาก EU) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR)  ในฐานะวิทยากรกระบวนการ  ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ การบูรณาการสู่การสร้างเมืองยืดหยุ่น (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน” สำหรับผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และพนักงานเทศบาลนครพิษณุโลก โดยมี  นางเปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน และในกิจกรรม ประกอบด้วย  การกล่าวปฐมบท  “บทบาทความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการกับการพัฒนาเมืองสู่เมืองที่ลดความเสี่ยงภัยอย่างยั่งยืน”  โดย …

Read More »

ซีแมร์ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พัฒนาสื่อนวัตกรรมเพลง“ลำเพลินภัยพิบัติ” เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมชุมชน 

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ซึ่ง ดร.ธายุกร พระบำรุง เป็นผู้อำนวยการ ร่วมกับภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยอาจารย์สราวุฒิ สีหาโคตร พร้อมด้วยคณะอาจารย์และนักศึกษา ได้พัฒนาสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ เพลง “ลำเพลินภัยพิบัติ” https://www.youtube.com/watch?v=dzkljMqNMi0  เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนเชิงบูรณาการแบบองค์รวมสู่การเป็นเมืองยืดหยุ่น ภายใต้โครงการ MRC2030 กรณีจังหวัดมหาสารคาม  โดยมีเทศบาลเมืองมหาสารคาม เป็นเมืองนำร่อง และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนข้อมูลและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience; TNDR) สำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ทั้งนี้ ได้มีจัดทำแบบสำรวจประสิทธิภาพของการสื่อสาร ผ่านสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ออนไลน์ โดยสำรวจระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน …

Read More »

เสริมพลังเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วยภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากต้นเชือกหรือรกฟ้า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ  และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ขึ้น โดยมีนายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และมีภาคีเครือข่ายจากหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย  ผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก พัฒนาการอำเภอยางสีสุราช นายกเทศบาลตำบลนาเชือก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก นายกสมาคมส่งเสริมผ้าไทย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านหนองทิศสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านห้วยทราย  ผู้แทนโรงเรียนบ้านหนองแสง และได้พัฒนากลไกที่จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ  หัวข้อ “มุมมองและแนวทางการทำสวนผักด้วยระบบอินทรีย์เพื่อสนับสนุนอาหารปลอดภัยและแหล่งรายได้ของชุมชนในพื้นที่อำเภอนาเชือก  โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ …

Read More »

การประชุมโครงการบูรณาการเพื่อการพัฒนาต้นแบบชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

การประชุมโครงการบูรณาการเพื่อการพัฒนาต้นแบบชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

การประชุมโครงการบูรณาการเพื่อการพัฒนาต้นแบบชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต ผู้รับผิดชอบโครงการบูรณาการเพื่อการพัฒนาต้นแบบชุมชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม และ อ.ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และบริการวิชาการ ได้จัดการประชุมรายงานความก้าวหน้าของโครงการ ครั้งที่ 1 ร่วมกับคณะกรรมการโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนที่อาศัยบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆเช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและกำนันจากตำบลเขวาไร่ ตำบลหนองเม็ก ตำบลสำโรง ตำบลนาเชือก นายกเทศมนตรีตำบลนาเชือก ปลัดอำเภอนาเชือก เกษตรอำเภอนาเชือก ประมงอาวุโสอำเภอนาเชือก ผู้อำนวยการโครงการชลประทานมหาสารคาม ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม การประชุมดังกล่าวผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต ได้นำเสนอผลการวิจัยจากระยะเริ่มต้นของโครงการได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาความหลากหลายชนิดปลาและการอนุรักษ์ปลาบู่ การศึกษาไมโคร พลาสติกในน้ำและปลา …

Read More »

ผนึกพลังโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ผนึกพลังโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะหัวหน้าโครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการโดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนยั่งยืน  ต่อยอดจากโครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชน ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม (U2T ตำบลตลาด) ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา และโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา  และกองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม  ได้จัดการประชุม หารือ อบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้อัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนเป็นฐานในแต่ละโรงเรียน  ณ  โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย ต.ตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ทั้งนี้ นายชูชาติ ราชจันทร์ วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม  และนายจักรพันธ์ เศษสรรพ์  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  …

Read More »