เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม Harmony I โรงแรม Mövenpick BDMS Wellness Resort กรุงเทพมหานคร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมหารือผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาความร่วมมือการจัดทำและให้บริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินการของกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพของการดำเนินงานด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศ ณ ปัจจุบัน และหารือแนวทางการบูรณาการข้อมูลภูมิอากาศและการทำงานร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ พร้อมผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำและให้บริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 57 คน ทั้งนี้ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จะเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการและผู้ประสานผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อผลักดันให้เกิดชุมชนและเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ ผ่านกลไกการดำเนินการของกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพของครู(รักษ์)ถิ่น สู่การบูรณาการการจัดการเรียนและการสอนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 ณ ห้อง ED1219 ชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากร ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การบูรณาการทักษะการสื่อสาร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้กับนักศึกษา จำนวน 31 คนผู้ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ครู เมื่อสำเร็จการศึกษาในจังหวัด ต่าง ๆ ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น เลย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และมหาสารคาม ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาทุนครูรัก(ษ์) ถิ่น ปีการศึกษา 2566 จัดโดยฝ่ายการศึกษาและการบริการวิชาการ (รศ.ดร.ดนิตา ดวงวิไล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบริการวิชาการ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ …
Read More »เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้อง ENV110 และ Zoom Meeting คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ ประเด็น “การจัดการมลพิษทางน้ำเชิงนโยบายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากบทเรียนสู่ความท้าทาย” โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ให้ความเห็นและมุมมองทางวิชาการ กิจกรรมนี้ ดำเนินรายการและสรุปโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และมีนักวิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วม ได้แก่ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ดร.นันทนัฐ ศรีประเสริฐ และนักวิจัย จากหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของน้ำ ประกอบด้วย 1) ภาพรวมสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง 2) การจัดการทรัพยากรน้ำปัจจุบันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ผศ.ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต …
Read More »ภาพและข่าว : บรรยายพิเศษเรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) และเทคนิคสิ่งแวดล้อมอื่น โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 10:00-12:00 น. ณ ห้อง ENV 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Zoom Meeting
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ห้อง ENV 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม รศ.ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว Adisak Singseewo คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ (Prost, Dr. Thongchai Panswad) ที่ได้ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษและเวทีแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทรศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment ) และเทคนิคสิ่งแวดล้อมอื่น ให้แก่ คณาจารย์และนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้ง 3 สาขา อันได้แก่ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา เวลา 10:00-12:00 น.ณ ห้อง ENV 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และระบบออนไลน์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สื่อสารกลไกเพื่อสนับสนุนการจัดการฝุ่นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับพื้นที่แบบสหวิทยาการและชูการผนึกกำลังเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนด้านวิจัยและนวัตกรรมให้กับท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ออคิด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้ร่วมสื่อสารบทเรียนการดำเนินการ ในประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ในประเด็นข้อข้องใจที่ 4: จะบูรณาการการจัดการฝุ่นละออง PM2.5 กับการรับมือสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างไรดี? จัดโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยครอบคลุมเนื้อหา องค์ความรู้บางส่วนจากงานวิจัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศนำร่อง เพื่อสนับสนุนการเข้าใจบริบทพื้นที่ (www.dustinfo4all.com ) แนวทางเลือกเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบูรณาการการบ่งชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในชุมชน …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้แทนภาคท้องถิ่น ในการถอดบทเรียนการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ นำเสนอโดยนายสันติ ระวังภัย นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ใน Regional Workshop “Urban Resilience to Climate Extremes in Southeast Asia” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ จับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการป่าชุมชนสู่ความยั่งยืน
วันนี้ 18 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น. อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนางสรวงสุดา สิงขรอาสน์ หัวหน้าสำนักงาน ร่วมต้อนรับ พบปะ และหารือกับคณะทำงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย คุณประโพธิ อุปภัมภ์ ผู้จัดการหน่วยปลูกป่าและบำรุงรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน และคุณอภิชาติ คงแป้น ผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ พร้อมด้วยคณะทำงาน ในประเด็นการบูรณาการความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาที่ต่อเนื่องจากโครงการการจัดจ้างทำชุดสื่อความ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารป่าชุมชน กรณีของป่าชุมชนบ้านหนองทิดสอน ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะหัวหน้าโครงการและผู้ประสานระหว่างหน่วยงาน ได้ดำเนินการร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลัง Soft Power โดยกลยุทธ์การศึกษาจากอัตลักษณ์ชุมชนคนเมืองมหาสารคาม
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ณ โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา รศ.ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อมด้วย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/หัวหน้าโครงการ ได้ร่วมเป็นเกียรติในงานเปิดบ้าน (Open House) ของโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา ซึ่งมีนายกมล ตราชู รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยโรงเรียนนี้ เป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่องที่ได้ออกแบบและนำเอาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ โดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่น มาบูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการ โดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม (กองการศึกษา) และ 4 โรงเรียนนำร่อง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร (กิจกรรม: ชุมชนอภิสิทธิ รากฐานวัฒนธรรม) โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา (กิจกรรม: วิถีท่องเที่ยววัฒนธรรมสไตล์ชีวิตวิถีใหม่) โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา (กิจกรรม: คลองสมถวิลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม) …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมประชุมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ ห้องประชุม ปภ.1 อาคาร 3 ชั้น 5 ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพฯ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในฐานะผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในการเข้าร่วมเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งภัยพิบัติไทยประจำปี โดยการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกเครือข่าย TNDR ทั้ง 17 มหาวิทยาลัย ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวทางการพัฒนาการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยร่วมกัน ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายเธียรชัย ชูกิตติวิบูลย์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้แทนจากศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) ร่วมนำเสนอบทบาทและแนวทางการทำงานด้านการจัดการภัยพิบัติร่วมกับเครือข่าย TNDR ทั้ง 17 มหาวิทยาลัย นอกจาก ยังได้รับความสนใจจากเครือข่ายภาครัฐต่างๆ ที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมครั้งนี้ด้วย อาทิ …
Read More »“โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว”
“โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว” เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดํารัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าถวายพระพร เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตําหนักจิตรลดารโหฐาน โดยมีใจความเกี่ยวกับ “สถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และของโลกที่มีความรุนแรงขึ้น และทรงห่วงใยต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประชาชนชาวไทยกําลังประสบอยู่ พร้อมทั้งตรัสเตือนพสกนิกรให้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ด้วยความสุขุมรอบคอบ โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องปฏิบัติ มิใช้เพียงเพื่อประเทศไทย เท่านั้น หากเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของโลกด้วย” คณะรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้น จึงได้มีมติ ประกาศให้ วันที่ 4 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรสาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมไทย ขึ้นในวันที่ 2 ธันวาคม 2566 ภายใต้ “โครงการห้องปฏิบัติการสีเขียว” โดยมีบุคลากรและนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จำนวน 60 คนเข้าร่วมโครงการ โดยในวันดังกล่าว …
Read More »