Breaking News
Home / ข่าว / U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน

U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน

298411340_604835281146296_6706155330112273046_n

U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน
สู่การสร้างรายได้ชุมชน  

คณะดำเนินการ โครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) กรณีตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หรือ U2T ตำบลตลาด โดยมีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์  คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กองสวัสดิการสังคม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักช่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม และผู้รับจ้างภาคบัณฑิตจบใหม่และภาคประชาชน  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น  ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีการสื่อสาร และนวัตกรรมระบบการจัดการข้อมูลท้องถิ่น  และ 2) พัฒนาสินค้า บริการชุมชน การจัดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง และทักษะด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และการตลาด ด้วยอัตลักษณ์และเรื่องราวของพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดำเนินการเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่อย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม  โดยกลุ่มอาชีพหรือผู้ประกอบการ สามารถนำอัตลักษณ์ที่ได้สะท้อนและพัฒนาขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อใช้เป็นตราผลิตภัณฑ์ชุมชนของตนเอง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย  นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์นำร่อง 4 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วย

ปลาร้าบอง (ชุมชนศรีสวัสดิ์ 2)

“ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งได้สืบสานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ซึ่งอยู่คู่กับวิถีการบริโภคของคนอีสาน โดยได้คัดสรรวัตถุดิบที่หาได้ในพื้นที่ ได้แก่ ปลาจากแม่น้ำชี ตลอดจนการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและสมุนไพร ด้วยพืชสมุนไพร เช่น ข่า และใบมะกรูด จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่แนะนำของชุมชนศรีสวัสดิ์2”

นางนาตยา รอดทับทิม  โทร. 09 4257 0188
 

หมี่กรอบ (ชุมชนสามัคคี 1) (ภายใต้การดำเนินการของยายกีหมี่กรอบ)

“ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สืบทอดจากบรรพบุรุษคนจีนที่อาศัยในตำบลตลาดมากว่า 60 ปี โดยได้อนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตดั้งเดิม เพื่อคงรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ความกลมกล่อมของรสหวานและเปรี้ยวที่ลงตัว และยังปรับปรุงรสชาติใหม่ ๆ เพื่อให้เหมาะความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่แนะนำของชุมชนสามัคคี1”

นางทองสุก อันสุรีย์  โทร 09 5064 4612

 

ข้าวเม่า  (ชุมชนโพธิ์ศรี 1)

“ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สืบสานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 ที่ยังคงอนุรักษ์กรรมวิธีการผลิตดั้งเดิม คือ การแช่ข้าวเปลือกเหนียว คั่วในหม้อดินจนมีกลิ่นหอม และนำมาตำในครกมองหรือ ครกเดือง อีกทั้งได้นำ “ข้าวเม่า” มาตั้งชื่อเป็นถนนข้าวเม่า ในปี พ.ศ. 2560 กลุ่มฯ ได้ปรุงแต่งผลิตภัณฑ์ให้มีคุณค่าทางโภชนาการ ด้วยการใช้สมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ใบเตย และในเดือนธันวาคมถึงมกราคม จะเป็นช่วงที่ข้าวออกรวงใหม่และเป็นข้าวน้ำนม ซึ่งจะได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพที่เหมาะกับการผลิตและเป็นของฝาก จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่แนะนำของชุมชนโพธิ์ศรี1”

นายเวียง หอมคำพัด  โทร 09 5825 1215

 

ไข่เค็มสมุนไพร (ชุมชนโพธิ์ศรี 2)

“ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชนโพธิ์ศรี2 ในการผลิตไข่เค็มสมุนไพร ที่ใช้ไข่เป็ดไล่ทุ่งสดใหม่ ซึ่งปัจจุบัน มี 2 สูตร คือ สูตรใบเตยและใบกัญชา จากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อคงรสชาติที่ไข่ไม่เค็มจัด ซึ่งทำให้บริโภคได้ทั้งส่วนไข่แดงและไข่ขาว จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่แนะนำของชุมชนโพธิ์ศรี2”

นางวันเพ็ญ รองศักดิ์  โทร 08 7223 3485

 โดยชุมชน   สามารถสื่อสารที่มาของอัตลักษณ์หรือ DNA ของชุมชนของตนเองได้ ซึ่งนำร่อง 12 ชุมชน ประกอบด้วย ศรีสวัสดิ์ 3 ศรีสวัสดิ์ 1  ศรีสวัสดิ์ 2 ธัญญา 4 ธัญญา 1 ปัจฉิมทัศน์ 1 อภิสิทธิ์ 1 มหาชัย โพธิ์ศรี 2 อุทัยทิศ 2  โพธิ์ศรี 1  และสามัคคี 1  รวมถึงสะท้อนคุณค่าของอัตลักษณ์ที่เกิดจากรากฐานความเป็นมาประวัติศาสตร์  ที่ต้องมาควบคู่กับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานของกลุ่มอาชีพให้สามารถดำเนินธุรกิจชุมชน ที่ต้องมีความพร้อมในทุกด้าน เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    การดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เหมาะต่อการเป็นแหล่งเรียนรู้ การจัดกิจกรรมของท้องถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม  เช่น คลองสมถวิล  และกุดนางใย  การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในพื้นที่อย่างยั่งยืน  ที่ยังมีต้องบริการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ให้พร้อมสำหรับการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ จะมีการจัดอบรมการพัฒนาศักยภาพการของกลุ่มอาชีพ/ผู้ประกอบการเพื่อการดำเนินธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ในเดือนกันยายน 2565 นี้ โดยจะมีการคัดกรองความพร้อมเบื้องต้นของผู้ที่จะเข้าร่วมอบรม   โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ดร.ธายุกร พระบำรุง หัวหน้าโครงการ  เบอร์โทร 08 9401 9294

ที่มา : หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 7 กันยายน 2565

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *