Breaking News
Home / Uncategorized / มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง

มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง

243285073_5289140147767180_5043375166849471308_n
มมส ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนท่าขอนยาง
วันนี้ (2 ตุลาคม 2564) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นประธานเปิดงาน มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรจากคณะพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และสมาชิกในชุมชนท่าขอนยาง เข้าร่วม ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านท่าขอนยาง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปานใจ สื่อประเสริฐสิทธิ์ ผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวว่า “โครงการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปขยะในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โครงการ “รูปแบบการจัดการขยะ ในชุมชนและการพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขในชุมชนตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นจากความต้องการในการสร้างอาชีพ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือการจัดการขยะ ทั้งในรูปแบบของการกำจัดขยะที่ถูกต้อง และการนำกลับมาใช้ซ้ำ ตลอดจนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขยะให้เกิดมูลค่าหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ
ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ ได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ การจัดการขยะที่ถูกต้อง และการนำกลับมาใช้ซ้ำให้แก่สมาชิกชุมชนท่าขอนยาง อีกทั้งให้ความรู้และฝึกทักษะในการผลิต ผลิตภัณฑ์จากขยะ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วย ดินปลูก กระเป๋าจากซองกาแฟ และเครื่องประดับจากเศษผ้า เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ โดยทำการนำผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนผลิตได้ไปทำจำหน่ายใน 2 ลักษณะ ประกอบด้วย การวางขายโดยตรง และการขายแบบออนไลน์
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ กล่าวว่า โครงการนี้ เป็นโครงการบริการวิชาการที่ดีโครงการหนึ่ง ที่มุ่งเน้นให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยการใช้ทรัพยากรเหลือใช้ต่างๆ จากขยะ มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างอาชีพ อีกทั้งสร้างรายได้ให้สมาชิกในชุมชนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากขยะ อันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
ภาพ/ข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง
 243076179_5289142934433568_2194109542246512936_n 243521041_5289144017766793_8648536467839996819_n 243508082_5289140851100443_268852566977992051_n 243490629_5289139864433875_5064100669777132213_n 243480051_5289143381100190_6239239642744230589_n 243480046_5289141631100365_3744985437356873084_n 243454635_5289141814433680_6532160706414182151_n 243452987_5289140597767135_5670741981933750959_n 243428283_5289140914433770_615722233332512234_n 243415010_5289141021100426_8723578297180758689_n 243415010_5289139811100547_7705647434411931640_n 243377867_5289141974433664_8814703356575532834_n 243373735_5289140324433829_3884441894094540714_n 243369797_5289142471100281_8564576365878770387_n 243365516_5289142847766910_6784612898954102305_n 243363610_5289142717766923_7666153644549449703_n 243363600_5289141091100419_7827962963432223417_n 243363579_5289143431100185_8301596600521365771_n 243359033_5289141931100335_3560763441173362384_n 243350763_5289141377767057_7808430183674319041_n 243350215_5289141341100394_7058881595707018002_n 243346891_5289140704433791_5812227647527735951_n 243345502_5289143244433537_690035752028919728_n 243343482_5289142024433659_1572898321369560654_n 243342022_5289143537766841_3253331735595255226_n 243340709_5289139987767196_8495440406874585945_n 243337894_5289140641100464_1107986334891320956_n 243335209_5289142601100268_9051318880646369917_n 243334496_5289143487766846_3241292169384934208_n 243330337_5289142547766940_8673767765500691144_n 243327868_5289142274433634_1125007757047200162_n 243327861_5289140267767168_6070081921424084303_n 243321558_5289143881100140_4754569866899279479_n 243321558_5289141774433684_1324808417037663129_n 243318608_5289139971100531_7378767586655880744_n 243315070_5289143981100130_3150568327074259606_n 243313647_5289140231100505_3820566363065021362_n 243313432_5289143717766823_6662359860419632779_n 243313356_5289141587767036_7472315301608860060_n 243303026_5289143307766864_3852804619198835731_n 243301606_5289142207766974_8202946775192345965_n 243301606_5289142207766974_8202946775192345965_n (1) 243298956_5289141167767078_6635016636543948616_n 243297604_5289141547767040_8430235341351168756_n 243295420_5289140387767156_4490204065261185973_n 243294629_5289143787766816_3881868279550868085_n 243292879_5289142401100288_9015577832350272475_n 243288804_5289144061100122_4416882791631260846_n 243283292_5289140111100517_4445662260312504833_n 243280028_5289141701100358_7995026933195633155_n 243276003_5289141437767051_7047001886992247495_n 243273192_5289141221100406_5641956915359791237_n 243271424_5289140197767175_8956651008373979672_n 243269386_5289140761100452_7861446815409102544_n 243269231_5289144154433446_1125188691035847822_n 243268322_5289140981100430_6101877481474559595_n 243268312_5289141267767068_965136010242383258_n 243263803_5289143071100221_3127153694898035726_n 243260605_5289142777766917_1725202418057954180_n 243260605_5289142147766980_8755100551069174618_n 243260605_5289140454433816_4284508909360849172_n 243260579_5289139871100541_7162346083429595608_n 243259194_5289140507767144_8311496032988783584_n 243259194_5289139807767214_7781027565293594486_n 243252743_5289142104433651_3234261554842695337_n 243247189_5289143611100167_1218368489899599306_n 243247101_5289139717767223_1146879468356537191_n 243245274_5289143661100162_8644727409363547780_n 243211144_5289141871100341_6416429085405271416_n 243137967_5289143821100146_5529092601120646842_n 243137967_5289143821100146_5529092601120646842_n (1)
ที่มา : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2564

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *