Breaking News
Home / Uncategorized / หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9

หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9

118590433_728575111032919_2639322910172610842_n

หลักสูตร วท.บ. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ได้กิจกรรมการฝึกอบรม Field Course in Conservation Biology & Global Health: At the Human-Environment Interface ครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Center for Global Field Study, Depts of Psychology & Global Health, and WaNPRC, University of Washington และ กลุ่มวิจัย SciSeeIt, Utilization of Phytochemical Diversity and Toxicology Research Programมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในระหว่างวันที่ 26-30 สิงหาคม 2563 ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และวนอุทยานโกสัมพี โดยในโครงการดังกล่าวมีการจัดทั้งภาคบรรยายและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุรักษ์ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะลิง รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับสัตว์ โดยภาษาหลักที่ใช้การฝึกอบรม คือ ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะนิสิตได้มีการฝึกประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษและการเรียนรู้เทคนิคการศึกษาภาคสนาม โดยโครงการมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา และประชาสัมพันธ์ศักยภาพของหลักสูตรและคณะฯ สู่สากล รวมถึงสร้างประสบการณ์ตรงแก่คณาจารย์และนิสิตเกี่ยวกับความก้าวหน้าด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยซึ่งอาจเป็นแนวทางหนึ่งในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่อาเซียนต่อไป

ในโครงการมีวิทยากรหลักที่ให้การบรรยายได้แก่ Prof. Randall C. Kyes, PhD และ Affiliate Assistant Prof. Pensri Kyes, Ph.D. จาก Center for Global Field Study, Depts of Psychology & Global Health, and WaNPRC, University of Washington,  USA, Associate Prof. Tawatchai Tanee, PhD, Penkhae Thamsenanupap, PhD จาก คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

และวิทยากรอื่นที่ร่วมบรรยายได้แก่ รศ.ดร. อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์ จาก Multidisciplinary Research Center for Environmental Sustainability (MRCES) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ศ.ดร.อรุณรัตน์ ฉวีราช จากกลุ่มวิจัยทรายสีอิฐ โปรแกรมวิจัยการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายสารเคมีในพืช และพิษวิทยา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ดร.รุ่งลาวัลย์ สุดมูล จาก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ผศ. น.สพ.ดร.ณัฐพล ภูมิพันธุ์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

118781489_310743536876658_8025048414986528250_n 118776772_1002614826867497_364358790709607265_n 118742721_337977484235102_1888400126488777157_n 118700047_3469631679743189_3705529648643920434_n 118657411_345777289927223_5494441337884933393_n 118590433_728575111032919_2639322910172610842_n 118584884_613008279411892_5746462015991327478_n 118562432_372145037142498_1566287249755071624_n 118557524_4498579943500446_63874733534368136_n 118515909_377845033203440_3512383829351146333_n 118489303_672151506842285_7470412487163746321_n 118474805_346927756488068_6455044548832101302_n 118473932_306772177054075_8620974502575184671_n 118411634_916701055481030_4702669301004378697_n 118404124_2733285373583783_8989167592956189126_n 118274937_324160158826499_2308733605545440541_n

เผยแพร่ข่าวโดยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ รศ.ดร.ธวัดชัย ธานี

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ :  1 กันยายน 2563

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *