Breaking News
Home / Uncategorized / สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก

สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก

 92927019_238339067570648_2788407624578629632_n

สบู่สมุนไพรรกฟ้า (หรือ เชือก): ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ภูมินวัตกรรมด้านผิวพรรณ เพื่อสร้างความตระหนักและอนุรักษ์เชือก เพื่อคนอำเภอนาเชือก

ขอขอบคุณ บริษัท ทราเวลเทคโนโลยี เซอร์วิส จำกัด (Travel Technology Services Co., Ltd.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในรูปของงานวิจัย ในหัวข้อ “การใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งมีผู้วิจัยคือ นางสาวพรลัดดา บุตตะโม และนางสาวอาทิตยา โสภณ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร โดยความร่วมมือด้านการวิจัยกับศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมไหมและสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้ชุดโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” ซึ่งบูรณาการความร่วมมือกับคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ และคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ และองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก ทั้งนี้ ได้รวบรวมชุดความรู้ภูมิปัญญา จากปราชญ์สมุนไพรท้องถิ่นและผู้มีประสบการณ์ในท้องถิ่น ประกอบด้วย คุณครูบัวเรียน วาปีสา คุณพ่อบุญหนา วาปีเส คุณปรานี คาพิพาที คุณแม่อุสา วาปีนัง คุณแม่ลาวัลย์ สุทธิปัญโญ คุณเปรมฤดี สุทธิปัญโญ และคุณนิรงรอง เลียงลิลา จากบ้านห้วยหิน บ้านโคกกลม และบ้านสระแก้ว และได้นำคุณค่าของสมุนไพรในท้องถิ่น ได้แก่ รกฟ้าหรือเชือก หนาด เปล้าใหญ่ ปลาไหลเผือก มะขาม และน้ำผึ้ง มาเพิ่มมูลค่าเป็นสบู่สมุนไพรรกฟ้าและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้คล้ายปูทูลกระหม่อมที่ได้ผนวกแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม (ไม่ใช้พลาสติก ลดการใช้สารเคมี และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยใช้ QR Code แสดงข้อมูลของผลิตภัณฑ์) เพื่อนำร่องในการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของต้นทุนท้องถิ่นและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการเพิ่มมูลค่าและนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของของที่ระลึกหรือของชำรวยในท้องถิ่น โดยรกฟ้าหรือเชือก เป็นพรรณไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอนาเชือก ที่สามารถถเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ในเดือนพฤษภาคมและนำไปเพาะในทรายหยาบ จนเป็นต้นกล้าพร้อมปลูกในทุกพื้นที่ของอำเภอนาเชือก ซึ่งจะส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่อำเภอนาเชือก การเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน การบรรเทาปัญหาโลกร้อน รวมถึงการสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ สำหรับผู้สนใจ สามารถติดตามข่าวสารต่าง ๆ ได้จากเพจ
https://www.facebook.com/dunlamphanmodel/ (กดไลค์และกดแชร์)

ข่าว/ภาพ หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE

92702556_947448572360067_2393099809612365824_n 92676019_2878046845607438_1386725247729795072_n 92660753_2259199131056380_1262170732289327104_n 92590394_251158072721701_5387145318657687552_n 92576097_1279869662403384_3776058895009579008_n 92574561_2917808218302225_9045749798858129408_n 92455259_230965218284797_6244167456588300288_n

ข่าว:ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ /ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 11 เมษายน 2563 

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุมจัดทำงบประมาณ เงินรายได้ ประจำปี 2567

ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุม การจัดทำงบประมาณเงินรายได้และ แผนการใช้จ่ายงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประชุมจัดทำงบประมาณ เงินรายได้ ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 เวลา 13.00 น. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม …