>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565
Read More »สัญญาการรับทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Model) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ตามพันธกิจของศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/บริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565
Read More »แบบเสนอขอรับทุนอุดหนุนโครงการบริการวิชาการเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาชุมชนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติสู่การยกระดับเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ตามพันธกิจของศูนย์วิจัย/หน่วยปฏิบัติการวิจัย/บริการวิชาการ สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
>>>pdf ดาวน์โหลด<<< ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 พฤศจิกายน 2565
Read More »หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมบริการวิชาการความร่วมมือสหวิทยาการ โครงการการยกระดับเกษตรกรพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนโครงการบริการวิชาการ เรื่อง การยกระดับเกษตรกรพื้นที่ดินเค็มน้ำกร่อยบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยรับผิดชอบในส่วนของการพัฒนาการเรียนรู้และทักษะของเยาวชน ให้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ดิน น้ำ และอากาศ ที่สัมพันธ์กับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ครอบคลุม องค์ความรู้ ทักษะการใช้เครื่องมือการตรวจวัดทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน การตีความผล และการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชน โดยจัดทำเป็นคู่มือหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาความรู้และความเข้าใจดิน น้ำ อากาศ ของเยาวชน สำหรับการปรับตัวของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีชุมชนบ้านปลาบู่ ต.หนองแสง อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ที่ยังต้องมีการบูรณาการความร่วมมือกับภาคการศึกษาในระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่องค์รวมและได้รับประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการชุมชนและคณะอาจารย์ ได้ลงพื้นที่ศึกษาดูงานการผลิตน้ำประปาที่เทศบาลตำบลหนองตูม (ทต. หนองตูม) อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น เพื่อยกระดับศักยภาพของระบบผลิตน้ำประปาชุมชนบ้านปลาบู่ที่ยังพบปัญหาสีและความขุ่น ให้คุณภาพน้ำสอดรับกับเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัย พ.ศ. 2563 และสามารถรองรับการเป็นชุมชนท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรม ผ่านการสนับสนุนของกลไกการปกครองส่วนท้องถิ่น และการนำอัตลักษณ์ของชุมชน “ปลาบู่” มาเป็นกลไกและพัฒนาเป็นถังขยะจักสานขนาดใหญ่รูปทรงปลาบู่ บูรณาในรูปศิลปะ …
Read More »DNA ระดับตำบลและชุมชน: กลไกเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเมืองควบคู่กับการท่องเที่่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม ต.ตลาด
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยยุทธศาสตร์ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้โครงการบูรณาการ เพื่อยกระดับวิถีชีวิตด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและ การท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง ได้ร่วมเรียนรู้และระดมสมองจากผู้นำชุมชน 31 ชุมชน คณะทำงานทั้งในสถาบันการศึกษาและเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยได้สกัดเป็น DNA ระดับตำบลและชุมชน นำร่อง 12 ชุมชน เพื่อสะท้อนคุณค่าแห่งรากฐานความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของตำบลตลาด ให้เกิดการรับรู้และภาคภูมิใจ และเกิดการเชื่อมโยงถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การพัฒนาแนวทางการอนุรักษ์และดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วม เศรษฐกิจชุมชน และการท่องเที่ยวเชิงวิถีวัฒนธรรม โดยได้จัดทำเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสื่อสารข้อมูล ดังนี้ คลิกที่ลิงค์>>> https://www.facebook.com/watch/?v=1048076579148250 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565
Read More »บ้านไหมขามเรียง: วิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นองค์กรธุรกิจตามแนวทางการใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่
ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้บูรณาการความร่วมมือสหวิทยาการทั้งภายในและต่างคณะ และหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เพื่อร่วมยกระดับศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอมือสีย้อมธรรมชาติขามเรียง ภายใต้โครงการบริการวิชาการ “การใช้เศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนจากอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติ และวัฒนธรรม” ซึ่งมุ่งเน้นให้วิสาหกิจชุมชนฯ สามารถบริหารจัดการองค์กรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ตามแนวทางเศรษฐกิจโมเดลใหม่ (BCG Economy Model) โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น เป็นวัตถุดิบสำหรับการย้อมสีธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้างอัตลักษณ์และสะท้อนผ่านตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่แทรกแนวคิดการออกแบบด้านสิ่งแวดล้อม (Ecodesign) ซึ่งเน้นการลดการใช้พลาสติก และการจัดการสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มโอกาสการแข่งขันด้านการตลาด โดยได้จัดสื่อประชาสัมพันธ์ ที่ผู้สนใจ สามารถทำความรู้จักองค์กรธุรกิจแห่งนี้ ตามลิงก์นี้ https://www.facebook.com/watch/?v=621046442765838 ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 2 ตุลาคม 2565
Read More »U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน
U2T ตำบลตลาด สะท้อน DNA ระดับตำบลและชุมชน เพื่อผลักดันการท่องเที่ยววิถีวัฒธรรมและเรื่องราวผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่การสร้างรายได้ชุมชน คณะดำเนินการ โครงการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) กรณีตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม หรือ U2T ตำบลตลาด โดยมีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) เป็นหัวหน้าโครงการ ซึ่งได้บูรณาการความร่วมมือกับคณะวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กองสวัสดิการสังคม สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักช่างเทศบาลเมืองมหาสารคาม และผู้รับจ้างภาคบัณฑิตจบใหม่และภาคประชาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันด้านผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่น ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และนวัตกรรมระบบการจัดการข้อมูลท้องถิ่น และ 2) พัฒนาสินค้า บริการชุมชน การจัดการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนเมือง และทักษะด้านการผลิตผลิตภัณฑ์และการตลาด ด้วยอัตลักษณ์และเรื่องราวของพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม …
Read More »นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ร่วมบริการวิชาการ เพื่อยกระดับศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์สุ่ธุรกิจชุมชนสีเขียว
เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา นิสิตหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมบริการวิชาการ ในฐานะผู้ช่วยวิทยากร ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาศักยภาพธุรกิจชุมชนเพื่อการผลิตและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและต้นทุนการผลิตต่ำ ภายใต้โครงการความยั่งยืนในทองปฏิบัติเพื่อเป้าหมายการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จัดโดยศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานมหาสารคาม ณ ศูนย์ประชุมแก่งเลิงจาน ต.แก่งเลิงจาน อ.เมือง จ.มหาสารคาม เพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และปฏิบัติใช้ จากการรับทราบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนตลอดวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แก่ 8 กลุ่มอาชีพ โดยได้ยกตัวอย่างการชี้บ่งประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และแนวทางที่เป็นไปได้ในการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในแต่ละผลิตภัณฑ์ชุมชน ครอบคลุมถึงการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ และการเพิ่มมูลค่าของเศษวัสดุหรือของเสียจากกระบวนการผลิตในรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งกลุ่มอาชีพผู้เข้าร่วม ได้มีการดำเนินการอยู่แล้ว โดยสอดรับกับแนวคิดของการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อาทิเช่น ปุ๋ยหมักจากเศษกก กระเป๋าจากเศษผ้า และเครื่องประดับจากเศษผ้าฝ้าย/ไหม เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่บูรณาการภายใต้การจัดการเรียนและการสอนในรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นการฝึกทักษะให้กับผู้เรียน และมีมุมมองในการประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมกับองค์กรธุรกิจชุมชน โดยท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์ชุมชน สามารถติดต่อได้ตามรายละเอียดนี้ …
Read More »CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium
CMARE ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกคณะ ที่ผ่านการคัดเลือกโครงการประกวด ACAQLE Symposium หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ประสานของเครือข่ายภาคีวิจัยบรรยากาศแห่งประเทศไทย (Thailand Consortium for Atmospheric Research; TCAR) และสนับสนุนองค์ความรู้และการบูรณาการสหวิทยาการ เพื่อการจัดการคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่ ขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับนิสิตทุกทีม ผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ได้เข้าส่งผลงานประกวดโครงการ American Corners Air Quality Learning Empowerment Symposium ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 20-23 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมฟูร่ามาเชียงใหม่ (รอการยืนยัน) ประกอบด้วย 4 โครงการ คือ 1. การประเมินและทำนายความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 โดยใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinal-5P ด้วย Machine …
Read More »พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
พัฒนาความรู้และทักษะด้านวิชาชีพของนิสิตหลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม หลักสูตร วท.บ. เทคโนโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดการเรียนและการสอนที่เปิดโอกาสให้นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 (ปีการศึกษา 2564) ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งภาครัฐ เอกชน และวิสาหกิจ ตามความสนใจของนิสิต ซึ่งจะช่วยให้นิสิต ได้เรียนรู้สภาพการทำงานในสถานที่จริง สร้างความคุ้นเคยและพัฒนาทักษะในสายวิชาชีพ และสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมต่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา โดยคณาจารย์ในหลักสูตรฯ ได้เข้านิเทศสถานที่ฝึกประสบการณ์ ทั้งรูปแบบลงพื้นที่และออนไลน์ เพื่อรับฟังการสะท้อนบทเรียนประสบการณ์จากนิสิต การเรียนรู้ปัญหา/อุปสรรค และการดำเนินโครงการขนาดเล็ก ซึ่งมุ่งเน้นให้นิสิต ได้นำเอาองค์ความรู้หรือกระบวนการที่เกิดจากการจัดการเรียนและการสอน ไปประยุกต์ใช้กับโจทย์ปัญหาในสถานที่จริง ทั้งพี่เลี้ยงกำหนดให้และค้นหาโจทย์เอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมหรือด้านที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการค้นหาคำตอบที่สำคัญ เพื่อต่อยอดสู่การสร้างคุณค่าต่อกิจกรรมของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์ นอกจากนี้ การนิเทศ ยังเป็นการแลกเปลี่ยน อัพเดตข้อมูลข่าวสาร และการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านการจัดการเรียนและการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง ที่จะยกระดับศักยภาพของนิสิตของหลักสูตร ทั้งด้านความรู้และความสามารถที่สอดรับกับยุคสมัย สอดรับความต้องการของผู้เรียน และสามารถปฏิบัติงานสอดรับกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและโอกาสการเติบโตของหน่วยงานต่อไป ติดตามข่าวสารหลักสูตรหรือสมัครเรียนต่อ …
Read More »