Breaking News
Home / งานวิจัย (page 3)

งานวิจัย

ประชาสัมพันธ์ ขอเชิญนักวิจัย นิสิต และผู้สนใจ ร่วมฟังบรรยายพิเศษ เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) และเทคนิคสิ่งแวดล้อมอื่น

ประชาสัมพันธ์ขอเชิญนักวิจัย นิสิต และผู้สนใจ ร่วมฟังบรรยายพิเศษเรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment) และเทคนิคสิ่งแวดล้อมอื่น โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ในวันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 10:00-12:00 น. ณ ห้อง ENV 110 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ Zoom Meeting ลงทะเบียน สำหรับนักวิจัย https://shorturl.asia/PyWoqลงทะเบียน สำหรับนิสิต (เฉพาะออนไซต์เท่านั้น) https://shorturl.asia/3ntel (ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567) ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์/ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ …

Read More »
คณะสิ่งแวดล้อมฯ จับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการป่าชุมชนสู่ความยั่งยืน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ จับมือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมสนับสนุนด้านวิชาการ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการป่าชุมชนสู่ความยั่งยืน

วันนี้ 18 มกราคม 2567 เวลา 10.00 น.  อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ วิจัยและบริการวิชาการ  อาจารย์ ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และนางสรวงสุดา สิงขรอาสน์  หัวหน้าสำนักงาน  ร่วมต้อนรับ พบปะ และหารือกับคณะทำงาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย คุณประโพธิ อุปภัมภ์ ผู้จัดการหน่วยปลูกป่าและบำรุงรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน  และคุณอภิชาติ คงแป้น ผู้จัดการสถาบันปลูกป่าและระบบนิเวศ  พร้อมด้วยคณะทำงาน  ในประเด็นการบูรณาการความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาที่ต่อเนื่องจากโครงการการจัดจ้างทำชุดสื่อความ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารป่าชุมชน กรณีของป่าชุมชนบ้านหนองทิดสอน ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ซึ่งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะหัวหน้าโครงการและผู้ประสานระหว่างหน่วยงาน   ได้ดำเนินการร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ …

Read More »
คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลัง Soft Power โดยกลยุทธ์การศึกษาจากอัตลักษณ์ชุมชนคนเมืองมหาสารคาม

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลัง Soft Power โดยกลยุทธ์การศึกษาจากอัตลักษณ์ชุมชนคนเมืองมหาสารคาม

เมื่อวันที่ 10 มกราคม  2567 ที่ผ่านมา  ณ โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา  รศ.ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว  คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พร้อมด้วย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/หัวหน้าโครงการ ได้ร่วมเป็นเกียรติในงานเปิดบ้าน (Open House) ของโรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา ซึ่งมีนายกมล ตราชู  รองนายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยโรงเรียนนี้ เป็นหนึ่งในโรงเรียนนำร่องที่ได้ออกแบบและนำเอาหลักสูตรท้องถิ่นแบบสหวิทยาการ  โดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่น มาบูรณาการสู่การจัดการเรียนและการสอนในแต่ละกลุ่มสาระวิชา ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนและการสอนแบบสหวิทยาการ โดยใช้ประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นฐานสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน  ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม (กองการศึกษา)  และ 4 โรงเรียนนำร่อง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร (กิจกรรม: ชุมชนอภิสิทธิ  รากฐานวัฒนธรรม)  โรงเรียนเทศบาลสามัคคีวิทยา (กิจกรรม: วิถีท่องเที่ยววัฒนธรรมสไตล์ชีวิตวิถีใหม่) โรงเรียนเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา  (กิจกรรม: คลองสมถวิลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม) …

Read More »
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นสถาบันพี่เลี้ยง เพื่อการเตรียมความพร้อมเทศบาลเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติตามแนวทางองค์การสหประชาชาติ

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566  ณ ห้องประชุมอเนกประสงค์ เทศบาลเมืองมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) บูรณาการความร่วมมือกับ รศ.ดร.ปิยภัทร บุษบาบดินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ ร่วมเป็นพี่เลี้ยง ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) โดยนางสาวสุนิสา         สุดรัก ในโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการตามแผนการปฏิบัติงานโครงการสร้างสุขภาวะเพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ กิจกรรมที่ 1 การจัดการความรู้และการบูรณาการสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ (MCR2030) ตามแนวทางสำนักงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการโดยเทศบาลเมืองมหาสารคามที่ได้รับงบสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  เพื่อผลักดันเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย คณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม …

Read More »
เปิดโลกทัศน์และมุมมอง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสในสายงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม 

เปิดโลกทัศน์และมุมมอง เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างโอกาสในสายงานด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม

ในวันที่ 14-18 พฤศจิกายน 2566 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการศึกษาดูงาน ประจำปีการศึกษา 2566  ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจ  สำรวจโอกาสและทักษะทางวิชาชีพ เชื่อมโยงทฤษฎีกับสาระที่หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนกับการปฏิบัติในบริบทการทำงานจริง ครอบคลุมถึงการรวบรวมประเด็น เพื่อปรับปรุงสาระรายวิชาของหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดรับกับโจทย์ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน  อีกทั้งช่วยให้เข้าใจรูปแบบองค์กรและวัฒนธรรมทางธุรกิจ และเป็นข้อมูลในเลือกอาชีพตามความสนใจของนิสิต  และแสวงหาโอกาสในการบูรณาการความร่วมมือด้านวิจัยและบริการวิชาการของหลักสูตรในอนาคต ตลอดจนการฝึกประสบการณ์ของนิสิต โครงการนี้ มีคณาจารย์และนิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 เข้าร่วม โดยสถานที่ศึกษางาน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง ในประเด็นที่ท้าทาย ได้แก่  อุตสาหกรรมการรีไซเคิล ประเภทอลูมิเนียม  การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ   การกำจัดขยะอันตรายและขยะติดเชื้อและเทคโนโลยีในการควบคุมมลพิษจากแหล่งกำเนิด  การบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมและการจัดการ   ข้อร้องเรียน อุตสาหกรรมผลิตยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและคาร์บอนเครดิต การบริหารจัดการโครงการท่าเรือมาบตาพุด เพื่อสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการวิจัยด้านสัตว์ทะเล ผลกระทบของมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการนี้ ยังส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งด้านสัมพันธภาพที่ดีด้านสายอาชีพระหว่างนิสิตปัจจุบันและรุ่นพี่ศิษย์เก่า  ซึ่งเป็นกลไกในการแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และพัฒนาตนเองให้เติบโตในสายอาชีพที่มั่นคง ขอขอบคุณ บริษัท …

Read More »
คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน

คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมพลังเยาวชนในการริเริ่มคิดแนวทางการจัดการขยะเชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมชุมชน

เมื่อวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2566  ณ โรงเรียนบรบือ จ.มหาสารคาม  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ผู้แทนหน่วยงาน  ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้พื้นฐานและแลกเปลี่ยนมุมมองกับกลุ่มเยาวชน  ในห้วข้อ  “ขยะ: โจทย์ที่ท้าทาย สำหรับคนรุ่นใหม่” ในโครงการ Garbage Hack with Isan Youth Leaders  ซึ่งมีนางสาวศุภลักษณ์ โสวรรณี  ครูโรงเรียนบรบือ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)  ภายใต้การสนับสนุนของ The Young Southeast Asian Leaders Initiative (YSEALI) University of Nebraska Omaha U.S. Embassy และ  Mahasarakham University American …

Read More »
นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม

นิสิตหลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมสุดเจ๋ง ใช้ Soft Power เสริมชุมชนศิลปวัฒนธรรม ข้าวเม่าโพธิ์ศรีและรักษ์สิ่งแวดล้อม ในวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ชู Soft Power เป็นกลไกสร้างการเรียนรู้สู่การรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยนายอนันต์ บุญมาชัย และนางสาวศศิณัฎฐ์ ศรีบุญเรือง นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการทักษะที่ตนเองรักและมีความเชี่ยวชาญ  สู่การบูรณาการและถ่ายทอดในรูปแบบท่าฟ้อนรำ ในบทเพลง 12 อัตลักษณ์เมืองมหาสารคามที่พัฒนาขึ้นภายใต้โครงการ U2T ตำบลตลาด พร้อมด้วยผู้แทนนิสิตของหลักสูตรฯ ที่ได้บูรณาการในรายวิชา 1705353 เทคโนโลยีการบำบัดและกำจัดของเสียอันตราย เพื่อเสริมทักษะการบ่งชี้วัตถุอันตราย สารเคมี และของเสียอันตรายในกิจกรรมของวิสาหกิจชุมชน  โดยการสนับสนุนจากโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม    จ.มหาสารคาม  ซึ่งเป็นโครงการบริการวิชาการที่เกิดจากความร่วมมือหลายศาสตร์ ซึ่งมี ดร.ธายุกร พระบำรุง อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าโครงการ และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณากา  เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เสริมพลังชุมชนโพธิ์ศรี1 สู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนด้านผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการความร่วมมือกับนักวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและ นฤมิตศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มผู้ประกอบการ (ปัจจุบัน คือ วิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าอัตลักษณ์เมืองมหาสารคาม) และเทศบาลเมืองมหาสารคาม ดำเนินโครงการการยกระดับชุมชนโพธิ์ศรี1 เป็นองค์กรธุรกิจชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวเม่าที่เป็นอัตลักษณ์ของตำบลตลาด อ.เมืองมหาสารคาม จ.มหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนจากโครงการบริการวิชาการแบบบูรณาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมและชุมชนต้นแบบสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยชุมชนโพธิ์ศรี1  มีประวัติและความเป็นมาในการทำข้าวเม่าที่สืบสานมากกว่า 100 ปี เพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรธุรกิจชุมชนที่ครบวงจร  โดยเน้นให้สอดรับกับยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี   (พ.ศ.2566-2570) ของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่ว่า “วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ มีบทบาทนำในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย” รวมถึงแผนพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น พ.ศ. 2566-2570 ของเทศบาลเมืองมหาสารคาม  ในบทบาทในการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม …

Read More »

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ต้อนรับคณะกรรมการประเมินด้วยอัตลักษณ์ของอำเภอนาเชือก 

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง  ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE)/อาจารย์หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ ในการดำเนินโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม  จับมือกับภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานภาคท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่  เทศบาลตำบลนาเชือก  องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก  หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก   สถาบันการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองแสง กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน ได้แก่ บ้านกุดน้ำใส (กลุ่มอาชีพทอผ้า) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเพื่อพัฒนาป่าชุมชน (บ้านหนองทิศสอน) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาลพลังแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) และไร่นาสวนผสม  ได้ร่วมกันต้อนรับคณะกรรมการประเมินโครงการ ประกอบด้วย นายจิรวัฒน์ วัฒนบุตร ผู้เชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) …

Read More »

เสริมพลังเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชน ด้วยภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์จากสารสกัดจากต้นเชือกหรือรกฟ้า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ  และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ ศูนย์ความเป็นเลิศทางนวัตกรรมไหม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ริมอ่างห้วยค้อ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) หัวหน้าโครงการ ได้จัดกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในโครงการวิสาหกิจชุมชนภูมินวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากสารสกัดจากต้นเชือกของอำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม ขึ้น โดยมีนายณัฐวุฒิ มนไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม และมีภาคีเครือข่ายจากหลายหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วม ประกอบด้วย  ผู้แทนสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนาเชือก พัฒนาการอำเภอยางสีสุราช นายกเทศบาลตำบลนาเชือก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก นายกสมาคมส่งเสริมผ้าไทย ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกสมุนไพรบ้านหนองทิศสอน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายบ้านห้วยทราย  ผู้แทนโรงเรียนบ้านหนองแสง และได้พัฒนากลไกที่จะสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกวิสาหกิจด้านเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ได้จัดให้มีการบรรยายพิเศษ  หัวข้อ “มุมมองและแนวทางการทำสวนผักด้วยระบบอินทรีย์เพื่อสนับสนุนอาหารปลอดภัยและแหล่งรายได้ของชุมชนในพื้นที่อำเภอนาเชือก  โดย ดร.ศุภชัย สุทธิเจริญ …

Read More »