เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) โดยการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 3 จุด ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และงานบริการหอพักนิสิต โดยจะเป็นตัวแทนของพื้นที่พักอาศัยหนาแน่นและพื้นที่ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการติดตั้งเพิ่มเติมจากที่มีการดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม คือ เทศบาลเมืองมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งแก และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม ทั้งนี้ เพื่อเฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากทั้งแหล่งกำเนิดทั้งในพื้นที่ (Local Emission) และการเคลื่อนย้ายระยะไกล (Long-Range Transport) เช่น การเผามวลชีวภาพในที่โล่งแจ้ง (Biomass Open Burning) รวมถึงเพื่อสร้างกลไกในด้านการสร้างการรับรู้ของบุคลากรทุกระดับ การเตรียมพร้อมรับมือ การกำหนดมาตรการด้านการจัดการปัญหาฝุ่นละออง และการต่อยอดด้านการวิจัยคุณภาพอากาศ โดยข้อมูลการตรวจวัด จากถูกรายงานแบบ Real Time บนเว็บไซต์ cmuccdc.org นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการร่วมในงานวิจัยของนายอภิสิทธิ์ สีดาคา นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ เรื่อง การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 จากการออกกาลังกายกลางแจ้ง ภายใต้การกำกับดูแลของ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา ซึ่งจะได้ผนวกกับชุดความรู้ด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก จากงานวิจัยระดับปริญญาตรีของนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ในอดีตและปัจจุบัน ได้แก่ 1) ฐานข้อมูลการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศและการผันแปรเชิงพื้นที่เวลา กรณีจังหวัดมหาสารคาม 2) การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการติดตามคุณภาพอากาศและการเฝ้าระวังด้านสุขภาพจากมลพิษจากฝุ่นละอองในเมืองมหาสารคาม 3) การคัดกรองความเสี่ยงด้านสุขภาพเบื้องต้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กจากการปิ้งย่าง โดย AirBeam 4) การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่สัมพันธ์ตอความเสี่ยงในการเกิดวัณโรคในเมืองมหาสารคาม และ 5) การศึกษาการเคลื่อนย้ายของหมอกควันระดับภูมิภาค จากการเผาไหม้ของมวลชีวภาพทางการเกษตรโดยใช้แบบจาลอง HYSPLIT: กรณีศึกษา เมืองมหาสารคาม
ข่าว/ภาพ: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE
ข้อมูลและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ดร.ธายุกร พระบำรุง
เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา
ณ วันที่ : 25 เมษายน 2563