เมื่อวันที่ 17-22 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) นำโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยฯ และทีมเครือข่ายวิทยากร ประกอบด้วย รศ.ดร.จิตติมา ประสาระเอ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์วจนะ ภูผานี อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี (KKBS) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้บริการการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหลักสูตร “BCG Driven Enterprise Training แนวทางยกระดับที่ปรึกษา มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน”กิจกรรมการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (Service Provider) ภายใต้โครงการ 10.1-2 การพัฒนาระบบส่งเสริม SME ปีงบประมาณ 2567 ซึ่งสนับสนุนโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จ.อุบลราชธานี ให้ผู้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 10 ท่าน ณ …
Read More »อาจารย์คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติกับสหประชาชาติ
ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) จากหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับเกียรติจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UN Office for Disaster Risk Reduction – UNDRR) ให้เข้าร่วมกิจกรรม “Regional Training Program Mission For TA 6748-PRC: Integrated Framework for Cost-Effective Disaster Risk Management” กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ เข้าใจถึงความท้าทาย แผนงาน และความมุ่งมั่นด้านการสร้างความยืดหยุ่นต่อภัยพิบัติในเมือง นำไปสู่การระบุโครงการในอนาคต โดยได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2567 ณ เมือง Nanning …
Read More »เชิญสมัครร่วมเป็นผู้แทน/เครือข่ายสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยง เพื่อสนับสนุนท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ในฐานะผู้ดำเนินการระดับพื้นที่และผู้ประสานระหว่างพื้นที่ ประสงค์จะผนึกกำลังอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่มีประสบการณ์ทำงานกับท้องถิ่นและประสงค์จะบูรณาการการผลักดันท้องถิ่นของตนเองสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ซึ่งปัจจุบัน “ภัยพิบัติ” มีความรุนแรงและบ่อยครั้งยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างความพร้อมด้านการบริหารจัดการของท้องถิ่น โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในพื้นที่จากสถาบันการศึกษาในพื้นที่นั้น ๆ ที่มีความรู้และความเข้าใจบริบทของพื้นที่อย่างลึกซึ้ง เพื่อเสริมพลังให้กับท้องถิ่น ตามแนวทางของสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ซึ่งสถาบันการศึกษาพี่เลี้ยงเอง จะได้รับการเสริมศักยภาพในด้านต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมท้องถิ่นสู่การสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ (MCR2030) อย่างยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนด้านวิชาการและเทคนิคจากเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (TNDR) สำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) ศูนย์เตรียมความพร้อมภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสถาบันการศึกษาที่มีประสบการณ์กับการทำงานกับท้องถิ่น โดยสนใจ เข้าร่วมผนึกกำลัง เพื่อสร้างท้องถิ่นสู่เมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติไปด้วยกัน ได้ที่ลิงก์นี้ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScX0VRy5HuLFtaO7Td02Dj2nSoAOp_wezgp779StfGrbDx9DQ/viewform ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส / ดร.ธายุกร พระบำรุง เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ …
Read More »ขอแสดงความยินดี “นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก”
ขอแสดงความยินดี “นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก” คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ขอแสดงความยินดีกับโรงเรียนสาธิตเทศบาลศรีสวัสดิ์วิทยา ที่ได้รับมอบประกาศนียบัตรรางวัล “นักประดิษฐ์ อถล. รักษ์น้ำ รักษ์ดิน รักษ์โลก” จากรองผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม นายนพสิทธิ์ อุดมสุวรรณกุล ในคราวการประชุมผู้บริหารท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมพระบรมธาตุนาดูน ศาลากลางจังหวัด โดยมีท่านรองฯ โกพัสต์ สมสาร์ รองนายกเทศมนตรี ผู้บริหารเทศบาลเมืองมหาสารคาม ว่าที่ร้อยเอก ธิปกรณ์ บุญทัน ผู้แทนสถานศึกษา นายศรายุธ ปางทอง ครูผู้สอน เด็กชายภูมิธรรม ระหา เด็กชายยุธนา ธิติธรรมรักษ์ และเด็กชาย สิริมงคล นามบุดดี นักประดิษฐ์ เข้ารับรางวัลในครั้งนี้ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันชุมชนและเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุม Harmony I โรงแรม Mövenpick BDMS Wellness Resort กรุงเทพมหานคร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมหารือผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนาความร่วมมือการจัดทำและให้บริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำเนินการของกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพของการดำเนินงานด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศ ณ ปัจจุบัน และหารือแนวทางการบูรณาการข้อมูลภูมิอากาศและการทำงานร่วมกันในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ พร้อมผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมให้ความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำและให้บริการข้อมูลภูมิอากาศของประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 57 คน ทั้งนี้ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จะเป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการและผู้ประสานผู้เชี่ยวชาญด้านแบบจำลองภูมิอากาศและข้อมูลภูมิอากาศภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อผลักดันให้เกิดชุมชนและเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศ ผ่านกลไกการดำเนินการของกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมฯ เสริมศักยภาพของครู(รักษ์)ถิ่น สู่การบูรณาการการจัดการเรียนและการสอนควบคู่กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม 2567 ณ ห้อง ED1219 ชั้น 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากร ในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การบูรณาการทักษะการสื่อสาร เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” ให้กับนักศึกษา จำนวน 31 คนผู้ที่จะไปปฏิบัติหน้าที่ครู เมื่อสำเร็จการศึกษาในจังหวัด ต่าง ๆ ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น เลย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และมหาสารคาม ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาทุนครูรัก(ษ์) ถิ่น ปีการศึกษา 2566 จัดโดยฝ่ายการศึกษาและการบริการวิชาการ (รศ.ดร.ดนิตา ดวงวิไล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาชีพครูและบริการวิชาการ) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ …
Read More »เวทีหารือทางวิชาการ สะท้อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นไปได้ สำหรับการจัดการมลพิษทางน้ำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ ห้อง ENV110 และ Zoom Meeting คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ ประเด็น “การจัดการมลพิษทางน้ำเชิงนโยบายของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากบทเรียนสู่ความท้าทาย” โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ ให้ความเห็นและมุมมองทางวิชาการ กิจกรรมนี้ ดำเนินรายการและสรุปโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) และมีนักวิจัยจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เข้าร่วม ได้แก่ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ดร.นันทนัฐ ศรีประเสริฐ และนักวิจัย จากหน่วยงานภายนอก ทั้งนี้ ได้นำเสนอข้อมูลเบื้องต้นของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของน้ำ ประกอบด้วย 1) ภาพรวมสถานการณ์น้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง 2) การจัดการทรัพยากรน้ำปัจจุบันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย ผศ.ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ สื่อสารกลไกเพื่อสนับสนุนการจัดการฝุ่นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับพื้นที่แบบสหวิทยาการและชูการผนึกกำลังเครือข่ายสถาบันการศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเพื่อสนับสนุนด้านวิจัยและนวัตกรรมให้กับท้องถิ่น
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมพลูแมน ขอนแก่น ออคิด คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้ร่วมสื่อสารบทเรียนการดำเนินการ ในประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ในประเด็นข้อข้องใจที่ 4: จะบูรณาการการจัดการฝุ่นละออง PM2.5 กับการรับมือสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอย่างไรดี? จัดโดย ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate, HTAPC) สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยครอบคลุมเนื้อหา องค์ความรู้บางส่วนจากงานวิจัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในปัจจุบัน ระบบสารสนเทศนำร่อง เพื่อสนับสนุนการเข้าใจบริบทพื้นที่ (www.dustinfo4all.com ) แนวทางเลือกเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบูรณาการการบ่งชี้ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมในชุมชน …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ร่วมกับศูนย์วิจัยเฉพาะทางนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อการจัดการภัยพิบัติลุ่มน้ำแบบบูรณาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภายใต้การสนับสนุนด้านเทคนิคจากสำนักงานเพื่อการลดความเสี่ยงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office for Disaster Risk Reduction; UNDRR) และเครือข่ายพัฒนาความเข้มแข็งต่อภัยพิบัติไทย (Thai Network for Disaster Resilience) พัฒนากลไกเพื่อสนับสนุนเมืองมหาสารคามสู่การเป็นเมืองริซีเลียนซ์ต่อภัยพิบัติเชิงบูรณาการ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้แทนภาคท้องถิ่น ในการถอดบทเรียนการสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ นำเสนอโดยนายสันติ ระวังภัย นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ เทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ใน Regional Workshop “Urban Resilience to Climate Extremes in Southeast Asia” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ …
Read More »คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผลักดัน “ผังการจัดการข้อมูลสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติระดับหมู่บ้าน” เพื่อเป็นฐานในการต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ หอประชุมอาคารอเนกประสงค์ บ้านท่าขอนยาง หมู่ 2 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดย ดร.ธายุกร พระบำรุง ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับมอบหมายให้เป็นวิทยากรอบรมในหัวข้อ “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเชิงบูรณาการ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผังข้อมูลสำหรับการจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับชุมชน และเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ในการกำหนดแนวทางการการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สอดรับกับบริบทของชุมชนตนเอง ทั้งนี้ได้บูรณาการการจัดการเรียนและสอนในรายวิชา 1705443 การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในการประเมินผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ เพื่อให้นิสิต (ประกอบด้วยนางสาวอินทิรา หลักงาม และนางสาวกาญจนา จารุกขมูล หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) ได้ทำความเข้าใจแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ร่วมกับชุมชน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคและการจัดการในปัจจุบันของชุมชน โดยการอบรมครั้งนี้ ดำเนินการโดยเทศบาลตำบลท่าขอนยาง ซึ่งมีนางศุจีนันนท์ บุตราช นายกเทศมนตรีตำบลท่าขอนยาง เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถของอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกในด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ …
Read More »