Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / คุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ หลังจากโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ (กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)”

คุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ หลังจากโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ (กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)”

81817617_2454895991494646_5151798857641754624_n

คุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ หลังจากโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ
(กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)”

สมาคมหน่วยแก้วิกฤตแก้เมืองด้านเกษตรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคุณแม่อรพันธุ์ วงศ์กาไสย ภายใต้การสนับสนุนด้านการบริการวิชาการจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการ “พ่อคือน้ำบำบัดน้ำใสถวายพ่อ (กลุ่มตุ้มโฮมแก้วิกฤต)” ขึ้นในวันพุธที่ 16 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมแม่น้ำของ (HS-217) ชั้น 2 คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ โดยผู้เข้าร่วม ประกอบด้วย คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตจากคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ จำนวน 200 คน เพื่อร่วมฟื้นฟูคุณภาพน้ำ โดยการโยน KM Ball และน้ำสมุนไพร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มาจากชุดความรู้ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาเป็นเวลานานและได้ถูกนำไปใช้แก้วิกฤตในหลายพื้นที่ ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ ซึ่งพบว่า มีคุณภาพน้ำที่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำผิวดินประเภทที่ 3 และต้องฟื้นฟูคุณภาพน้ำอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาความสกปรกและกลิ่น (ต้นข่าว http://env.msu.ac.th/th/?p=9789)

82616257_477589089618868_3995015640564891648_n

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ โดยฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้เก็บตัวอย่างน้ำในสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางเคมีของน้ำทั้งก่อนและหลังการโยนการใช้ KM Ball และน้ำสมุนไพร โดยศูนย์บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภายใต้การรับรองมาตรฐานความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025  สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  สำหรับติดตามคุณภาพน้ำ ซึ่งพบว่า เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำระหว่างก่อนและหลังการใช้ KM Ball และน้ำสมุนไพร  ค่าความสกปรก ซึ่งวัดในรูปของค่าบีโอดี  (Biochemical Oxygen Demand) มีค่าลดลง เช่นเดียวกับความขุ่น ฟอสฟอรัสทั้งหมด และไนเตรตไนโตรเจน  นอกจากนี้ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ  มีค่าเพิ่มขึ้น มีเพียงค่าการนำไฟฟ้าเท่านั้น มีค่าสูงขึ้นเล็กน้อย ซึ่งสะท้อนถึงการปนเปื้อนสารที่มีประจุที่เพิ่มขึ้น ที่อาจมาจากกิจกรรมแหล่งกำเนิด โดยภาพรวม คุณภาพน้ำดีขึ้น  อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องศึกษาประสิทธิภาพของ  KM Ball และน้ำสมุนไพรในห้องปฏิบัติการ เพื่อควบคุมปัจจัยสนับสนุน/ก่อกวนอื่น ๆ เช่น การเติมอากาศ และปริมาณทิ้งที่ไหลลงสระ โดยการฟื้นฟูคุณภาพของสระน้ำข้างอาคารราชนครินทร์ให้เป็นไปอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีการศึกษาและแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง โดยต้องเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นทาง

ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 12 มกราคม 2563

 

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มมส เข้าร่วมเข้าร่วมโครงการ “ฮีตเดือน 4 ประเพณีบุญผะเหวด ประจำปีงบประมาณ 2567

วันที่ 26-27 มีนาคม 2567   รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนิสิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมโครงการ …