ขอแสดงความยินดีนักวิจัยในศูนย์วิจัย/หน่วยวิจัย สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ที่ได้รับทุนสนับสนุนในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง ประจำปี 2564 ปีที่ 2 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) ซึ่งมีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแม่ข่ายเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย 1. โครงการห้องเรียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น: การสอนโดยอาศัยธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฐานการเรียนรู้ ดร.วิจิตรา สิงห์หิรัญนุสรณ์ผู้อำนวยการศูนย์สหวิทยาการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES)งบประมาณ 306,000 บาท 2. โครงการการพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการ สู่การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดร.ธายุกร พระบำรุงผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และ การปรับตัว (CMARE)งบประมาณ 68,000 บาท >>>pdf ดาวน์โหลด<<< ข่าวและภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 12 พฤษภาคม 2564 …
Read More »ภาพและข่าว คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ จัดกิจกรรม “สืบสานประเพณีสงกรานต์สรงน้ำพระ เพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564”
เมื่อวันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร ได้จัดกิจกรรม สืบสานประเพณีสงกรานต์สรงน้ำพระ เพื่อเป็นสิริมงคล เวลา 08.45 น. ณ บริเวณหน้าสำนักงานเลขานุการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ สรงนำพระ 3 วัด ในเขตอำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ภาพบรรยากาศในงาน : ภาพและข่าว : ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 10 เมษายน 2564
Read More »ขอเชิญร่วมกิจกรรม “สืบสานประเพณีสงกรานต์สรงน้ำพระ เพื่อเป็นสิริมงคล วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564”
ภาพ: ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 6 เมษายน 2564
Read More »สะท้อนอัตลักษณ์ต้นทุนนาเชือกสู่นาเชือกโมเดล ผ่านซีรีย์ภาพยนตร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ชุมชนคนรักนาเชือก โดยโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ในฐานะแม่ข่าย ภายใต้การสนับสนุนเครือข่ายนักวิจัย สหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาสารคาม ได้สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในรูปของภาพยนตร์ เรื่อง “วัด เถอะ นะ ทำ” โดยความร่วมมือกับภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส. โดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และคณะนิสิต ร่วมกับชุมชนชาวนาเชือก ซึ่งได้เปิดกองถ่ายทำ เมื่อวันที่ 23-25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ในรายวิชาสู่การบริการวิชาการ จากฐานข้อมูลวิจัย ร่วมกับบทเรียนจากการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนในหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ 3 มิติ (สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ) “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สำหรับโรงเรียน นาเชือกพิทยาสรรค์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ …
Read More »ภาพและข่าว : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมแห่กัณฑ์หลอน ถวายกัณฑ์หลอน สืบสานประเพณีบุญผะเหวดวิถีใหม่ ประจำปี 2564
เมื่อวันที่ 18-19 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดงานประเพณีบุญผะเหวดวิถีใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้นำพาคณาจารย์ บุคลากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เข้าร่วมงานแห่กัณฑ์หลอน ถวายกัณฑ์หลอน สืบสานประเพณีบุญผะเหวดวิถีใหม่ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมสืบสานฮีตเดือน 4 ประเพณีบุญผะเหวดวิถีใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปี 2564 กิจกรรมภายในงาน ทุกคณะ/หน่วยงาน รวมตัวกัน ณ บริเวณลานหน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ ก่อนจะเคลื่อนขบวนกัณฑ์หลอนเข้ามาภายในพิธี บริเวณโรงอาหารกลาง(เดิม) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นที่ตั้งของการจัดงานบุญผะเหวด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากนั้นได้ถวายกัณฑ์หลอน พร้อมร่วมเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ ตลอดจนฟังเทศน์มหาชาติ 13 กัณฑ์ …
Read More »CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม สำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม
CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ได้วางระบบการจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยการสนับสนุนด้านเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรูปแบบการบริการวิชาการกึ่งวิจัย ซึ่งบูรณาการในรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และได้ประยุกต์ระบบดังกล่าว เป็นฐานในการพัฒนากลไกการจัดการขยะของโรงเรียนแห่งนี้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของนิสิต ในฐานะพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ทีม คือ โค้ชนำทาง (เป็นอยู่รู้ทัน) โค้ชชื้ทาง (คัดแยกแลกสุข) โค้ชให้ทาง (แบ่งปันปั้นทาง) จากการดำเนินการร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ สู่การเป็นยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะ ทั้งด้านข้อมูลขยะ การกำหนดแนวทางการจัดการขยะ และการสื่อสารข้อมูล จากการสำรวจความเห็นของบุคลากรทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็น ชาย ร้อยละ 36.8 และหญิง ร้อยละ 63.2 โดยเป็นครู ร้อยละ 12.8 และนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ร้อยละ2.4 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) ร้อยละ 3.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ร้อยละ 38.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย …
Read More »ภาพและข่าว “คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏฺิบัติ”
คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏฺิบัติ และการประชุมบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2564 ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม ENV 106 และประชุมออนไลน์ด้วยระบบ Google Meet เวลา 13.30 น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดการประชุมบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมฯ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2564 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะฯ เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ภาพและข่าว : ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่ ณ วันที่ : 3 มีนาคม 2564
Read More »ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ
ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จัดเวทีสะท้อนบทเรียนวิจัย โดยผสานกลไกสนับสนุนด้านเกษตรของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคามและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และฐานบทเรียนการดำเนินการของเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย สถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน โรงเรียนบ้านเหล่า และสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการโครงการวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาคุณภาพดิน การเจริญเติบโตและความปลอดภัยของผักกาดเขียวกวางตุ้ง (Brassica chinensis L. var. parachinesis Tsen & Lee) ในดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษา: บ้านเหล่า ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำร่อง (ส่งดินไปตรวจวิเคราะห์) เกษตรอำเภอกันทรวิชัย ครู เยาวชน และผู้สนใจ ที่เป็นคนในพื้นที่ตำบลบ้านเหล่า ได้รับทราบต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีที่ใช้ คุณค่าทางโภชนาการของผักที่ปลูก และมีมุมมองในการวางแผนการทำสวนผักและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การทำสวนผักที่เป็นระบบและครบวงจร โดยมีวิทยากรจากหลายศาสตร์ ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในมิติต่าง …
Read More »ขั้นตอนขอรับบริการ
ติดต่อขอรับบริการได้ที่ ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม ชั้น 3 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เบอร์ติดต่อ 043754435, 043754436 เบอร์ภายใน 2738 หรือติดต่อ นายเอกสิทธิ์ อ่อนนางใย เบอร์ติดต่อ 061-583288 (เฉพาะเวลราชการ)
Read More »ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการพ.ศ. 2563
>>>ดาวน์โหลด pdf<<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 19 มกราคม 2564
Read More »