Breaking News
Home / ข่าว / กิจกรรม : งานวิจัย / การประชุมโครงการศึกษาผลกระทบจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

การประชุมโครงการศึกษาผลกระทบจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

 IMG_5426

24 มกราคม 2560 นำโดย ท่านผศ.ดร.ยรรบงค์ อินทร์ม่วง คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ร่วมกับ กรมทรัพยากรน้ำ จัดประชุมเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาผลกระทบและตรวจสอบติดตามผลกระทบข้ามพรมแดน จากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ณ ห้องประชุมอาคารสโมสรบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีผู้เข้าร่วมรวมทั้งสิ้น 120 คน ประกอบด้วย ตัวแทนชุมชน 8 จังหวัด ชายฝั่งโขงของประเทศไทย อ.เชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร, ผู้แทนกรมทรัพยากรน้ำ และ ตัวแทนมหาวิทยาลัยมหาสารคามและคณะฯ

240160

ในการประชุมเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมสู่มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยรรยง อินทร์ม่วง คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และเปิดการประชุมโดย นางสาวนวลลออ วงศ์พินิจวโรดม ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ คณะทำงานจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการปีที่ 3 ให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ โดยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้

  1. ผลการคัดเลือกพื้นที่ทีได้รับความเสี่ยงจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน โดยพิจารณาจากผลการแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 8 จังหวัด โดยประเมินจากระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสที่ผลกระทบเกิดขึ้น
  2. ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ, อัตราการพังทลายของตลิ่ง และ การสะสมตะกอน โดยประเมินจากข้อมูลอุทกวิทยาที่ตรวจวัดในแม่น้ำโขง และ ภาพถ่ายดาวเทียม
  3. ความหลากหลายของพันธุ์ปลา แหล่งสืบพันธุ์ วงจรการเติบโต และระบบนิเวศริมตลิ่ง โดยประเมินจากการสำรวจตลาดและการเก็บตัวอย่างปลาจากอวนตาเล็กใน 8 จังหวัด

4.ผลความกังวลของชุมชนต่อคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขงอันสืบเนื่องมาจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน

  1. ผลจากการสอบถามชุมชนเกี่ยวกับความกังวลและการปรับตัวอันเนื่องจากโครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำในแม่น้ำโขงสายประธาน ต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร, ความเป็นอยู่ รายได้ชุมชน, การให้บริการระบบนิเวศ, วัฒนธรรม ศาสนา และแหล่งท่องเที่ยว โดยได้เก็บข้อมูลเบื้องต้นจำนวน 1,000 ตัวอย่าง จาก 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย, เลย, หนองคาย และ บึงกาฬ

โดยข้อมูลเหล่านี้ กรมทรัพยากรน้ำจะใช้ประโยชน์เป็นฐานข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้ในการเจรจากับภาคีเครือข่ายลุ่มแม่น้ำโขงนานาชาติต่อไป

1.ต้อนรับบุคลากรในช่วงเช้า

IMG_5387 IMG_5390 IMG_5391 IMG_5393 IMG_5394 IMG_5398 IMG_5400 IMG_5407 IMG_5417 IMG_5419

2.บรรยากาศงานประชุมฯในช่วงเช้า

IMG_5421 IMG_5432 IMG_5434 IMG_5435 IMG_5438 IMG_5448 IMG_5452 IMG_5470 IMG_5471 IMG_5472 IMG_5475 IMG_5477 IMG_5479 IMG_5491 IMG_5496 IMG_5498 IMG_5499 IMG_5500 IMG_5501 IMG_5502

3.พักรับประทานอาหารกลางวัน

IMG_5509 IMG_5512 IMG_5520

4.บรรยายกาศการบรรยายในช่วงบ่าย

IMG_5522 IMG_5524 IMG_5525 IMG_5526 IMG_5532 IMG_5533 IMG_5537 IMG_5541 IMG_5551 IMG_5552 IMG_5554 IMG_5556

About env@msu.ac.th

Check Also

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา

คณะสิ่งแวดล้อมฯ ร่วมผลักดันกลไกสร้างเมืองรีซิเลียนซ์ต่อภัยพิบัติ ผ่านเวทีเสวนาสุขภาวะชุมชนเมืองตักสิลา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม แสดงบทบาทสำคัญในการสนับสนุนองค์ความรู้และวิชาการ เพื่อผลักดันการพัฒนาเมืองยืดหยุ่นรับมือภัยพิบัติ (Urban Resilience) ผ่านการร่วมเสวนา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *