CMARE พัฒนาวางรากฐานระบบการจัดการสู่โรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม โรงเรียนหัวเรือพิทยาคม ได้วางระบบการจัดการขยะโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย สู่การเป็นโรงเรียนปลอดขยะและคาร์บอนต่ำ โดยการสนับสนุนด้านเทคนิคจากหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในรูปแบบการบริการวิชาการกึ่งวิจัย ซึ่งบูรณาการในรายวิชา 1705476 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และได้ประยุกต์ระบบดังกล่าว เป็นฐานในการพัฒนากลไกการจัดการขยะของโรงเรียนแห่งนี้ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของนิสิต ในฐานะพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 3 ทีม คือ โค้ชนำทาง (เป็นอยู่รู้ทัน) โค้ชชื้ทาง (คัดแยกแลกสุข) โค้ชให้ทาง (แบ่งปันปั้นทาง) จากการดำเนินการร่วมกับโรงเรียนหัวเรือพิทยาคม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนแกนนำ สู่การเป็นยุวนวัตกรโรงเรียนปลอดขยะ ทั้งด้านข้อมูลขยะ การกำหนดแนวทางการจัดการขยะ และการสื่อสารข้อมูล จากการสำรวจความเห็นของบุคลากรทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็น ชาย ร้อยละ 36.8 และหญิง ร้อยละ 63.2 โดยเป็นครู ร้อยละ 12.8 และนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.1-3) ร้อยละ2.4 นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป.4-6) ร้อยละ 3.2 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ร้อยละ 38.4 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย …
Read More »ภาพและข่าว “คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏฺิบัติ”
คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏฺิบัติ และการประชุมบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ.2564 ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุม ENV 106 และประชุมออนไลน์ด้วยระบบ Google Meet เวลา 13.30 น คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ได้จัดการประชุมบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมฯ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2564 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศักดิ์ สิงห์สีโว คณบดีคณะฯ เป็นประธานในการประชุมครั้งนี้ ภาพและข่าว : ชลทิตย์ สีเทา เผยแพร่ ณ วันที่ : 3 มีนาคม 2564
Read More »ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ
ขับเคลื่อนบ้านเหล่า (ตำบลโคกพระ) สู่พื้นที่ดินดี ผักปลอดภัย รายได้เกิด โดยการผสานสหวิทยาการ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม จัดเวทีสะท้อนบทเรียนวิจัย โดยผสานกลไกสนับสนุนด้านเกษตรของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดมหาสารคามและสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และฐานบทเรียนการดำเนินการของเครือข่ายความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ประกอบด้วย สถาบันการจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสาน โรงเรียนบ้านเหล่า และสภาฮักแพงเบิ่งแญงคนมหาสารคาม ภายใต้การดำเนินการโครงการวิจัย ในหัวข้อ “การศึกษาคุณภาพดิน การเจริญเติบโตและความปลอดภัยของผักกาดเขียวกวางตุ้ง (Brassica chinensis L. var. parachinesis Tsen & Lee) ในดินที่ปรับปรุงด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กรณีศึกษา: บ้านเหล่า ตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรนำร่อง (ส่งดินไปตรวจวิเคราะห์) เกษตรอำเภอกันทรวิชัย ครู เยาวชน และผู้สนใจ ที่เป็นคนในพื้นที่ตำบลบ้านเหล่า ได้รับทราบต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เกิดความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีที่ใช้ คุณค่าทางโภชนาการของผักที่ปลูก และมีมุมมองในการวางแผนการทำสวนผักและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การทำสวนผักที่เป็นระบบและครบวงจร โดยมีวิทยากรจากหลายศาสตร์ ร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในมิติต่าง …
Read More »ขั้นตอนขอรับบริการ
ติดต่อขอรับบริการได้ที่ ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม ชั้น 3 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เบอร์ติดต่อ 043754435, 043754436 เบอร์ภายใน 2738 หรือติดต่อ นายเอกสิทธิ์ อ่อนนางใย เบอร์ติดต่อ 061-583288 (เฉพาะเวลราชการ)
Read More »ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการพ.ศ. 2563
>>>ดาวน์โหลด pdf<<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 19 มกราคม 2564
Read More »ข้อบังคับ มมส ว่าด้วยกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2560
>>>ดาวน์โหลด pdf<<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 19 มกราคม 2564
Read More »ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2563
>>>ดาวน์โหลด pdf<<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 19 มกราคม 2564
Read More »การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การจัดการข้อมูลฝุ่นละออง ในรูปเว็บไซต์ จากฐานการบูรณาการระหว่างศาสตร์ กรณีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการติดตั้งสถานีตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก Dustboy แบบทันเหตุการณ์ จำนวน 3 จุด ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง ได้แก่ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ เพื่อเป็นการติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศ การวิจัย และการวางแผนการจัดการคุณภาพอากาศในพื้นที่มหาวิทยาลัย และจะติดตั้งในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ซึ่งเป็นพื้นที่อ่อนไหว เพิ่มอีก 1 จุด สำหรับเฝ้าระวังฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในส่วนนี้ ได้บูรณาการระหว่างศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กจากงานวิจัยของอาจารย์และนิสิต คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ผนวกในโครงการวิจัยของนิสิตระดับ ปริญญาตรี คือ นายอภิสิทธิ์ สีดาคา นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ เรื่อง การป้องกันฝุ่นละออง PM2.5 จากการออกกาลังกายกลางแจ้ง ภายใต้การกำกับดูแลของ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา …
Read More »พัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน
พัฒนาอัตลักษณ์ของพื้นที่นาเชือกสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 กลุ่มคนรักนาเชือก ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ในเรื่อง 1. การยื่นขออนุญาต ใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ 2. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ป่าดูนลำพันและการจัดสร้างปูทูลกระหม่อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ ความก้าวหน้าของการพัฒนาแลนดมาร์คเมืองนาเชือก ณ โรงเรียนนำเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ณ หอประชุมรวงผึ้ง โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ทั้งนี้ ได้เชิญ ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ/ผู้อำนวยการหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) เป็นวิทยากรบรรยายและสะท้อนข้อมูลอัตลักษณ์และประเด็นที่ชุมชนต้องพิจารณา สำหรับการพัฒนาพื้นที่ โดยอาศัยทุนเดิมจากฐานการพัฒนาของคณะทำงานหลากหลายทีม ที่ได้ใช้นาเชือก เป็นพื้นที่ดำเนินการ ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ทุกฝ่าย ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่นาเชือกที่ยั่งยืน ที่ต้องเกิดจากความร่วมมือสหวิทยาการและความร่วมมือของภาคท้องถิ่น ที่ครอบคลุมมิติทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ข่าว/ภาพ: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย …
Read More »นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม ได้เข้าไปตรวจคุณภาพน้ำระบบบำบัดน้ำเสีย เรือนจำจังหวัดมหาสารคามและให้คำแนะนำกับการแก้ปัญหาน้ำเสียเแนวทางในการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2564 ดร.ยุวดี ไชยเชษฐ์ นิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดมหาสารคาม ได้เข้าไปตรวจคุณภาพน้ำระบบบำบัดน้ำเสีย เรือนจำจังหวัดมหาสารคามและให้คำแนะนำกับการแก้ปัญหาน้ำเสียเแนวทางในการเดินระบบบำบัดน้ำเสีย เรือนจำจังหวัดมหาสารคาม ที่มาข่าว : ผศ.ดร. อภิพงษ์ พุฒคำ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 15 มกราคม 2564
Read More »