Breaking News
Home / กิจกรรม : บุคลากร / กิจกรรม-ปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม / ปลูกป่า ลดโลกร้อน ต้อนรับนิสิตใหม่ สโมสรนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ปลูกป่า ลดโลกร้อน ต้อนรับนิสิตใหม่ สโมสรนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 68753690_609768539429702_1888196897542242304_n

ปลูกป่า ลดโลกร้อน ต้อนรับนิสิตใหม่

สโมสรนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  ได้จัดโครงการ  “ปลูกจิตสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” ในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา และได้เลือกพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ซึ่งมีความสำคัญทางนิเวศที่สำคัญของจังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นิสิตใหม่และชุมชนในท้องถิ่น ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น  และคุณค่าที่มีสำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้เป็นระบบนิเวศที่สมบูรณ์   2.เพื่อส่งเสริมให้นิสิตใหม่และชุมชนในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและร่วมกัน พัฒนากลไกในการอนุรักษ์ต้นไม้ที่ปลูกให้เติบโตอย่างยั่งยืนโดยอาศัยเครือข่ายเยาวชนในท้องถิ่น  และการมีส่วนร่วมของชุมชน  3. เพื่อให้นิสิตใหม่ เข้าใจบทบาทของตนเองในฐานะนักสิ่งแวดล้อม  เรียนรู้และมีทักษะการทำงานเป็นทีม รู้จักแบ่งปันกันและกัน และมีความรับผิดชอบต่อสังคม  4. เพื่อส่งเสริมให้นิสิตใหม่ที่เข้ามาศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเกิดความตระหนักถึงจริยธรรมในการใช้ชีวิตแบบเกื้อหนุนระหว่างผืนป่ากับมนุษย์ และก่อให้เกิดความรับผิดชอบและเป็นที่พึ่งพิงให้กับสังคมและชุมชนต่อไปในอนาคต  การดำเนินการครั้งนี้   เป็นความร่วมมือกันของนิสิตคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (รุ่นพี่และนิสิตใหม่)  บุคลากรของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ชาวบ้าน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์  ชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง  และอาสาสมัครจากประเทศสเปน จาก Udutama Organization จำนวน 180 คน ได้ร่วมกันปลูกป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ซึ่งจะเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon Storage) และฟื้นฟูระบบนิเวศให้สมบูรณ์ ซึ่งได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน  กอปรกับในวันเดียวกัน ได้มีการจัดประชุมหารือของผู้มีส่วนได้เสีย นำโดย ดร.ธายุกร พระบำรุง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากคณะ/สถาบันจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  (9 หน่วยงาน)  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน หน่วยงานภาครัฐ ระดับท้องถิ่น องค์การบริการส่วนตำบลนาเชือก ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และชาวบ้านผู้สนใจ  เพื่อร่วมกันผลักดันการจัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อยกระดับพื้นที่ห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ดิจิทัลและท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดมหาสารคาม โดยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบองค์รวม  ติดตามข้อมูลข่าวสารที่เพจ https://www.facebook.com/SMOENVI/

ภาพ/ข่าว:  สโมสรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

69090890_667573853711466_5123502316015583232_n 68740007_441394593114781_4509944505247465472_n 68636752_2317066031711786_1148012266793205760_n 68575009_452848542109068_8991680558648000512_n 68571123_390793234956962_1536550496041435136_n 68435540_359091691648231_2212109505506836480_n 68407578_584131962120438_5509311222396223488_n 68328087_571335306730509_7789350201239535616_n 67961476_492934624614412_7277926334813175808_n 67933058_399639037573528_4534510382445756416_n 67931804_505164996919554_8211029325856636928_n 67917496_727524417717940_8468272178687639552_n 67893335_386529558567050_1731557700795367424_n 67873852_361763544508233_3426186503980580864_n 67842948_2745049299090507_1456083570786304000_n 67808402_359283748341409_9199766183631388672_n 67803231_951211038555329_4194617850440187904_n 67796632_614642759062341_6099025432026284032_n 67744239_737196480069542_3411397436931833856_n 67741568_700823373701144_9101344946459246592_n 68753690_609768539429702_1888196897542242304_n

ที่มาข้อมูล : อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง

เผยแพร่โดย : ชลทิตย์ สีเทา

ณ วันที่ : 17 สิงหาคม 2562

About env@msu.ac.th

Check Also

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน”

วันนี้อังคารที่ 8 ตุลาคม 2567 เวลา 8:00-16:00 น.  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “ขามเรียงโมเดล: การแปรรูปฟางข้าวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน” โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา …

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *