ชุมชนคนรักนาเชือก โดยโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ในฐานะแม่ข่าย ภายใต้การสนับสนุนเครือข่ายนักวิจัย สหวิทยาการ หน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) สังกัดคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาสารคาม ได้สะท้อนอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในรูปของภาพยนตร์ เรื่อง “วัด เถอะ นะ ทำ” โดยความร่วมมือกับภาควิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ มมส. โดย ผศ.ดร.ปรีชา สาคร และคณะนิสิต ร่วมกับชุมชนชาวนาเชือก ซึ่งได้เปิดกองถ่ายทำ เมื่อวันที่ 23-25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยการดำเนินการครั้งนี้ เป็นการบูรณาการระหว่างศาสตร์ในรายวิชาสู่การบริการวิชาการ จากฐานข้อมูลวิจัย ร่วมกับบทเรียนจากการจัดการความรู้ร่วมกับชุมชนในหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการ 3 มิติ (สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ) “การปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สำหรับโรงเรียน นาเชือกพิทยาสรรค์ ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ …
Read More »ขอแสดงความยินดีนักวิจัยในโอกาสได้รับทุน
ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.เสถียรพงษ์ ขาวหิต นักวิจัย สังกัดศูนย์สหวิทยาการการวิจัยเพื่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม (MRCES) ในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพน้ำ/นิเวศวิทยาทางน้ำ สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในโครงการการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองบางละมุงบนทางหลวงหมายเลข 3 กม. 132+430 จ.ชลบุรี โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก บริษัท เอ็นแคด คอนซัลแตนท์ จำกัด จำนวน 60,000 บาท ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 23 มีนาคม 2564
Read More »ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ปีงบประมาณ 2564
ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.พรรคพงษ์ ศรีประเสริฐ สังกัดศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน/ศูนย์บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม/ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2564 ในโครงการ “ผลของอัตราส่วนอาหารต่อจุลินทรีย์ต่อศักยภาพการให้ก๊าซมีเทนทางชีวเคมี ธาตุอาหารรอง และอัตราภาระบรรทุกสารอินทรีย์ที่มีต่อการดำเนินระบบย่อยเศษผักผลไม้แบบแบบไร้ออกซิเจน” งบประมาณ 140,000 บาท สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ปีงบประมาณ 2564 ในโครงการ “การเพิ่มมูลค่าของของเสียชีวภาพ สำหรับการผลิตพลังงานสะอาดจากก๊าซมีเทน เพื่อการเพื่อการพัฒนาทางสังคมและความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม” งบประมาณ 300,000 บาท ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าว : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 4 มีนาคม 2564
Read More »ขอแสดงความยินดีกับนักวิจัย อาจารย์ ดร.นันทณัฐ ศรีประเสริฐ ได้รับทุนสนับสนุน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และทุนสนับสนุนจาก กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2564
ขอแสดงความยินดีกับ อาจารย์ ดร.นันทณัฐ ศรีประเสริฐ สังกัดศูนย์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่ยั่งยืน/ศูนย์บริการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม/ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโอกาสที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 ในโครงการ “ศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากการหมักผักตบชวาร่วมกับเศษอาหารเพื่อปรับปรุงเสถียรภาพของระบบการย่อยในสภาวะไม่ใช้ออกซิเจนภายใต้อุณหภูมิและภาระบรรทุกสารอินทรีย์ปานกลาง : ผลของการปรับสภาพผักตบขวาด้วยความร้อนและอัตราการผสมวัตถุดิบ” งบประมาณ 550,000 บาท กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2564 ในโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพด้วยการหมักเศษอาหารร่วมกับมูลสุกร” งบประมาณ 140,000 บาท ข่าว: ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ เผยแพร่ข่าว : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 4 มีนาคม 2564
Read More »ประกาศ-หลักเกณฑ์การให้ทุนอุดหนุนการวิจัยประเภทสายวิชาการ-ประจำปีงบประมาณ-2564
>>>pdf ดาวน์โหลด<<< >>>แบบเสนอขอรับทุนวิจัย-สายวิชาการ-64.pdf<<< >>>แบบเสนอขอรับทุนวิจัย-สายวิชาการ-64.doc<<< เผยแพร่ข่าวโดย : ชลทิตย์ สีเทา ณ วันที่ : 22 ธันวาคม 2563
Read More »CMARE จับมือกับวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ พัฒนาต้นแบบเครื่องผลิตจานสมุนไพรจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ เพิ่มมูลค่าสมุนไพรท้องถิ่นและลดโลกร้อน
CMARE จับมือกับวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ พัฒนาต้นแบบเครื่องผลิตจานสมุนไพรจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ เพิ่มมูลค่าสมุนไพรท้องถิ่นและลดโลกร้อน เครือข่ายนักวิจัย CMARE ร่วมกับนิสิตปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกอบด้วยนายวัฒนา เชื้อลิ้นฟ้า และนายธนารักษ์ โพธิ์สิงห์ ต่อยอดโครงการวิจัยระดับปริญญาตรี หัวข้อ “การศึกษาความเป็นได้ในการผลิตภาชนะย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบท้องถิ่น โดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์” ของนายอดิศักดิ์ เขียวแข้ และนายวัชร ประโหมด นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ภายใต้การสนับสนุนในโครงการบูรณาการหลักสูตร เรื่อง “การจัดการองค์ความรู้ท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเป็นแหล่งเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีของตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จ.มหาสารคาม” สู่การพัฒนาต้นแบบเครื่องผลิตจานสมุนไพรจากพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ ลดโลกร้อน ซึ่งมุ่งเน้นการนำเอาต้นทุนสมุนไพรในท้องถิ่นของบ้านหนองทิศสอน ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม มาเพิ่มมูลค่า ควบคู่กับฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพรในรูปนวัตกรรมใหม่ของชุมชน สำหรับฟื้นฟูเศรษฐกิจรากหญ้าช่วงวิกฤติโควิด และเตรียมพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวของชุมชนที่ปราศจากพลาสติกและเป็นชุมชนคาร์บอนต่ำ ข่าว: หน่วยปฏิบัติการวิจัย CMARE/อ.ดร.ธายุกร พระบำรุง ภาพ: สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม …
Read More »